ถาม - ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง

ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง

ถาม : ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็งเกิดขึ้นมาจากอะไร?

ตอบ : สาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพราะหลายๆ ปัจจัยด้วยกันที่ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็ง โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญและคาดว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่สุด ได้แก่

อายุ โดยส่วนใหญ่จะพบมะเร็งได้มากในวัยสูงอายุ และคาดว่ายิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้นเท่านั้นอีกด้วย นั่นก็เพราะในขณะที่อายุมากขึ้น เซลล์ต่างๆ ในร่างกายจะเกิดการสึกหรอและเสื่อมสภาพไปตามวัย ทำให้ร่างกายมีการซ่อมแซมตัวเองหลายครั้ง จึงอาจเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นมะเร็งร้ายได้นั่นเอง
ความผิดปกติจากพันธุกรรม โดยโรคมะเร็งบางชนิดก็สามารถติดต่อกันผ่านทางพันธุกรรมได้เหมือนกัน ดังนั้นในคนที่มีพ่อแม่เป็นโรคมะเร็ง ก็อาจจะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งได้มากกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งก็ต้องเฝ้าระวังและหมั่นตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งบ่อยกว่าคนปกติ

[adinserter name=”มะเร็ง”]

เชื้อชาติ ก็มีผลต่อการตรวจพบโรคมะเร็งเช่นกัน เพราะโรคมะเร็งบางชนิดก็อาจพบได้มากในเชื้อชาติหนึ่งมากกว่าเชื้อชาติหนึ่ง อย่างเช่น โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก จะพบในคนจีนตอนใต้ได้มากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ หรือโรคมะเร็งผิวหนัง จะพบได้มากในคนเชื้อชาติผิวขาวมากกว่าเชื้อชาติผิวสีอื่นๆ นั่นเอง

อาหาร ที่รับประทานเป็นปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องและไม่ถูกสุขลักษณะมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ เช่น

  • การรับประทานอาหารรมควัน หมักดอง สุกๆ ดิบๆ และเนื้อแดงสูง จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ5หมู่
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
  • การรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
  • การรับประทานอาหารที่มีสารพิษอัลฟาทอกซิลปนเปื้อนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
  • การรับประทานอาหารเค็มจัด มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียมเป็นประจำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนม่า เป็นต้น
  • น้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งก็ทำให้เกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น หากในน้ำดื่มมีสารปนเปื้อนอยู่ก็จะมีโทษมหันต์กับร่างกายของคนเราจึงควรพิถีพิถันเลือกน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัย

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการรับประทานอาหาร และที่สำคัญควรงดสิ่งเสพติดคือ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดการสูบบุหรี่ ควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปีทุกปีเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง

โรคอ้วน โดยจากสถิติพบว่าคนที่เป็นโรคอ้วน จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งบางชนิดได้มากกว่าคนปกติทั่วไป เช่น โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพราะคนอ้วนมักจะมีความผิดปกติของประจำเดือน ซึ่งเมื่อเป็นบ่อยๆหรือปล่อยไว้นานๆ ก็อาจจะเป็นมะเร็งดังกล่าวได้นั่นเอง

ภูมิคุ้มกัน ( Immune ) มีส่วนสำคัญในการต้านทานโรคและบรรเทาอาการของโรคได้ ถ้าภูมิคุ้มกันแข็งแรงก็สามารถควบคุมโรคมะเร็งที่กำลังก่อตัวไม่ให้ลุกลามได้ แต่ถ้าภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ถึงขั้นที่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องก็จะเกิดโรคติดเชื้อมากมาย และยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆได้มากกว่าคนปกติ

การติดเชื้อโรคบางชนิด อย่างเช่น เชื้อไวรัส เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ก็นำไปสู่การป่วยมะเร็งได้เช่นกัน ซึ่งจะป่วยด้วยมะเร็งชนิดไหนก็ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อโรคด้วย เช่น ตับเป็นมะเร็งตับ กระเพาะอาหารเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

การได้รับรังสีบางชนิดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรังสียูวี ซึ่งพบว่าผู้ที่ป่วยบ่อยๆ มักจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งผิวหนังสูงมาก หรือในคนที่ได้รับรังสีจากการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็อาจป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้เหมือนกัน

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : โรคมะเร็ง เป็นโรคที่พบบ่อยหรือไม่?

ตอบ : โรคมะเร็ง (Cancer) พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนในวัยเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 15 ปีพบว่าเป็นโรคมะเร็งน้อยกว่าในวัยผู้ใหญ่ เด็กมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเพียง 1ใน 10 ของมะเร็งในผู้ใหญ่

โรคมะเร็งที่พบบ่อยของผู้หญิงไทย (ตามลำดับ)
1. มะเร็งปากมดลูก
2. มะเร็งเต้านม
3. มะเร็งตับ
4. มะเร็งปอด
5. มะเร็งลำไส้ใหญ่
6. มะเร็งรังไข่
7. มะเร็งช่องปาก
8. มะเร็งต่อมไทรอยด์
9. มะเร็งกระเพาะอาหาร
10. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
โรคมะเร็งที่พบบ่อยของผู้ชายไทย (ตามลำดับ)
1. มะเร็งตับ
2. มะเร็งปอด
3. มะเร็งลำไส้ใหญ่
4. มะเร็งช่องปาก
5. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
6. มะเร็งกระเพาะอาหาร
7. มะเร็งเม็ดเลือดขาว
8. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
9. มะเร็งโพรงจมูก
10. มะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งที่พบบ่อยในเด็กไทย (ตามลำดับ)
1. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
2. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
3. โรคมะเร็งสมองถาม : อาการแบบไหน ที่บ่งบอกได้ว่าเป็นมะเร็ง?

ตอบ : สำหรับอาการของโรคมะเร็ง ไม่มีอาการเฉพาะเจาะจงที่จะสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายกับการอักเสบทั่วไป และไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีปกติ นอกจากนี้ก็จะมีจุดสังเกต คืออาการป่วยจะเป็นแบบต่อเนื่อง เรื้อรังและค่อยๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาการจากโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย คือ

มีก้อนเนื้อที่โตเร็วผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อที่คลำเจอภายในร่างกาย หรือก้อนเนื้อที่งอกออกมาก็ตาม
มีแผลเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีปกติได้ ไอเป็นเลือดและอาจมีเสียงแหบโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีไข้เรื้อรัง ที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยอาจเป็นไข้สูงหรือไข้ต่ำๆ กลืนลำบากและมีเสมหะหรือน้ำลายปนเลือด
เลือดกำเดาไหลบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือดและอุจจาระเป็นเลือด ตกขาวพร้อมกับมีกลิ่นผิดปกติ ท้องผูกสลับกับท้องเสียบ่อยๆ ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยมามากหรือมาบ่อยเกินไป และอาจมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ผิวซีดเหลืองโดยไม่ทราบสาเหตุ ห้อเลือดได้ง่ายและอาจมีจุดแดงคล้ายกับไข้เลือดออก ปวดศีรษะอย่างรุนแรงพร้อมกับอาเจียนร่วม ด้วย น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการชัก มีอาการผิดปกติที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นแบบเรื้อรังพร้อมอาการที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังป่วยมะเร็ง?

ตอบ : จะรู้ได้ว่าป่วยด้วยมะเร็งหรือไม่หลังจากแพทย์ได้ทำการตรวจ วินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว โดยแพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย พร้อมตรวจร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การส่องกล้อง การตัดหรือเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจ และการตรวจค่าสารบ่งชี้มะเร็งด้วยการเจาะเลือด อย่างไรก็ตามอาจต้องมีการตรวจหลายๆ อย่างเพื่อความแม่นยำและชัดเจนมากขึ้น

ถาม : มีการจัดระบบโรคมะเร็งอย่างไร?

ตอบ : โดยปกติแล้วการจัดระบบของโรคมะเร็งจะมีหลายแบบด้วยกัน แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือการจัดระบบแบบ AJCC : American Joint Committee on Cancer ที่จัดทำขึ้นโดย คณะกรรมการโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการจัดระบบดังนี้

การจัดระบบโรคมะเร็งด้วย AJCC จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนเนื้อมะเร็งยังคงมีขนาดเล็กและมีการลุกลามเฉพาะในเนื้อเยื่อต้นกำเนิดของมะเร็งเท่านั้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดปานกลาง และยังลุกลามไม่มาก ส่วนใหญ่จะลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้กับเนื้อเยื่อก่อน

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตมาก และมีการลุกลามไปมากพอสมควร โดยเฉพาะการลุกลามเช้าต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ และอวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีความรุนแรงสูงมาก โดยระยะนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่โรคมะเร็งมีการลุกลามอย่างรุนแรง แต่ยังไม่แพร่กระจาย ซึ่งจะมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงที่อยู่รอบๆ และต่อมน้ำเหลืองจนทำให้ต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตมาก เกิน 6 เซนติเมตร แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด
กลุ่มที่โรคมะเร็งมีการแพร่กระจาย ซึ่งเป็นระยะที่มีความรุนแรงที่สุดและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยระยะนี้มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆที่อยู่ไกลไปจากเนื้อเยื่อ และอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ปอด ตับ ไขกระดูกและสมอง รวมถึงการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสน้ำเหลืองด้วย    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : จะรู้ได้อย่างไร ว่ากำลังเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไหร่?

ตอบ : การจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะที่เท่าไหร่แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการสอบถามประวัติอาการต่างๆ และทำการตรวจความสมดุลของเกลือแร่และไตรวมถึงการตรวจดังนี้

เอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจการทำงานของปอดว่าปกติหรือไม่ และมีการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่ปอดหรือยัง
ตรวจอัลตราซาวนด์ sonogram เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่ตับ
ตรวจอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็งด้วยการเอกซเรย์ เพื่อดูการลุกลามของก้อนมะเร็ง
ตรวจกระดูก โดยแพทย์จะทำการสแกนกระดูกทั้งตัว เพื่อดูว่าโรคมะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระดูกหรือยัง
การตรวจอื่นๆ เช่น การส่องกล้อง การตรวจไขกระดูก หรือการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น โดยจะทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้น

ถาม : มีวิธีการรักษาโรคมะเร็งอย่างไร?

ตอบ : ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งจะใช้วิธีการหลักๆ คือ การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี และการใช้ฮอร์โมน ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการหลักๆ นี้ก็มีค่ารักษาที่สูงพอสมควร นอกจากนี้ก็มีวิธีการรักษาด้วยการใช้ยารักษาตรงเป้า การใช้ชีวสารรักษาและการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ อีกด้วย แต่เนื่องจากยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการรักษานั่นเอง

ถาม : การรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรคเป็นอย่างไร?

ตอบ : การรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรค จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง อายุและสุขภาพของผู้ป่วยและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาที่มีความเหมาะสมที่สุด แต่สำหรับการตอบคำถามนี้จะกล่าวแบบโดยรวม เพื่อความเข้าใจแบบคร่าวๆ กับการรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรค ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็ได้มาจากการศึกษาทางการแพทย์ของโรคมะเร็งแต่ละชนิดนั่นเอง โดยมีรายละเอียดการรักษาดังนี้

การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 1 การรักษาโรคมะเร็งในระยะนี้จะมีเป้าหมายเพื่อให้การรักษาหายขาด และเนื่องจากระยะแรกยังคงรักษาได้ง่ายอยู่ จึงอาจใช้วิธีการรักษาหลักเพียงวิธีเดียว ซึ่งจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและอวัยวะที่เป็นต้นกำเนิดมะเร็งด้วย แต่กรณีที่ป่วยด้วยมะเร็งระยะที่ 1 แต่เป็นชนิดของโรคที่มีความรุนแรงสูงมาก โดยแพทย์จะตรวจพบความรุนแรงของโรคได้จากลักษณะทางพยาธิวิทยาของโรคมะเร็ง ซึ่งกรณีนี้หากต้องการรักษาให้หายขาด ก็อาจต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยจะใช้วิธีไหรก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เช่นกัน

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 2 การรักษาในระยะนี้ก็จะมีเป้าหมายที่รักษาให้หายขาดเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้การรักษาด้วยวิธีหลักหลายวิธีร่วมกัน ตามความรุนแรงของโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ แต่สำหรับโรคมะเร็งบางชนิดที่ยังคงมีความรุนแรงของโรคต่ำอยู่ก็จะใช้วิธีการรักษาเพียงวิธีเดียว แต่เลือกวิธีที่เหมาะสมและคาดว่าจะให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 3 และ 4 ชนิดที่มีการลุกลามรุนแรงแต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ โดยการรักษาในระยะนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยได้ กล่าวคือ
หากผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง แพทย์จะใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกัน และมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็ง
หากผู้ป่วยมีสุขภาพไม่ดีหรืออยู่ในวัยสูงอายุ แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการบรรเทาและประคับประคองอาการป่วยไปเรื่อยๆ ซึ่งกรณีนี้ผู้ป่วยมักจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือการระคายเคืองจากผลการรักษาได้ง่าย จึงไม่สามารถมุ่งหวังให้หายขาดได้
การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย โดยระยะนี้จะไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ จึงทำได้แค่รักษาเพื่อบรรเทาและประทังอาการเท่านั้น ซึ่งจะช่วยชะลอการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้มากแค่ไหน และสามารถยืดอายุผู้ป่วยได้นานเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพและช่วงวัยอายุของผู้ป่วยเองด้วย

โรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำ ก็คือการที่มะเร็งที่ได้ทำการรักษาจนหายขาดแล้ว กลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดซ้ำรอยเดิมหรือเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงของจุดเดิมก็ได้

ถาม : โรคมะเร็งเมื่อเป็นแล้วจะมีโอกาสรักษาหายหรือไม่?

ตอบ : โรคมะเร็งจะมีโอกาสรักษาให้หายได้หรือไม่ อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับ หลายปัจจัยประกอบกันด้วย เช่น ระยะของโรค ชนิดของมะเร็ง สุขภาพและอายุของผู้ป่วย ซึ่งกรณีที่รักษาให้หายได้ ก็จะมีอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปี

โดยสรุปได้ดังนี้

โรคมะเร็งระยะที่ 1 รักษาให้หายได้ โดยมีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 70-90
โรคมะเร็งระยะที่ 2 รักษาให้หายได้ โดยมีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 50-80
โรคมะเร็งระยะที่ 3 รักษาให้หายได้โดยมีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปีประมาณร้อยละ 20-50
โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดลุกลามรุนแรงแต่ยังไม่มีการแพร่กระจายโรค สามารถรักษาให้หายได้ มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 5-30 โรคมะเร็งระยะที่ 4 มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนใหญ่จะมีอัตราอยู่รอดที่ 6 เดือน – 2 ปีเท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการดูแลตัวเองของผู้ป่วยเองด้วย

อย่างไรก็ตามหลังจากรักษาจนหายแล้ว ก็มีโอกาสที่โรคมะเร็งจะย้อนกลับมาลุกลามอีกครั้งได้เหมือนกัน โดยมักจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากครบการรักษา ซึ่งประมาณ 80 -90 เปอร์เซ็นต์ พบว่าเกิดขึ้นซ้ำภายใน 2-3 ปีหลังจากครบการรักษา เพราะฉะนั้นการจะสรุปว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งแล้วหรือไม่ แพทย์จะดูหลังจากครบ 5 ปี หากไม่มีโรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำ ก็จะถือว่าผู้ป่วยหายขาดจากมะเร็งแล้วนั่นเอง    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : โรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ : โรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำ ก็คือการที่มะเร็งที่ได้ทำการรักษาจนหายขาดแล้ว กลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดซ้ำรอยเดิมหรือเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงของจุดเดิมก็ได้ โดยหลังจากการรักษาจนหายดีแล้ว แพทย์จะติดตามการกลับมาของโรคต่ออีกระยะหนึ่ง ซึ่งก็มักจะตรวจพบหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป แต่เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่เป็นมะเร็งซ้ำ จะต้องติดตามผลประมาณ 5 ปี เลยทีเดียว

ถาม : โรคมะเร็งชนิดที่ 2 หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ : มะเร็งชนิดที่สอง คือการตรวจพบมะเร็งมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งอยู่แล้ว เมื่อทำการตรวจอีกที กลับพบมะเร็งอีกชนิดที่เป็นคนละชนิดกันและมักจะเกิดในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างตำแหน่งกันอีกด้วย ซึ่งกรณีนี้จะทำการรักษาให้หายได้ยากมาก และผู้ป่วยก็มักจะมีอาการทรุดหนักลงอย่างรวดเร็วกว่าผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป จึงต้องได้รับการดูแลรักษาและทำตามคำแนะนำจากแพทย์มากเป็นพิเศษ

ถาม : มะเร็งปากมดลูกมีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือไม่?

ตอบ : การตรวจคัดกรองหามะเร็งมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก สามารถตรวจเจอได้แค่มะเร็งบางชนิดเท่านั้น อย่างเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มักจะละเลยการตรวจคัดกรองเหล่านี้ กว่าจะพบ ว่าป่วยมะเร็งก็เข้าสู่ระยะที่ 3 ที่ 4 ไปแล้ว ดังนั้นจึงควรตรวจคัดกรองเสมอ เพื่อทราบถึงอาการป่วยมะเร็งปากมดลูกก่อนจะสายเกินไป

[adinserter name=”oralimpact”]

ถาม : สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้หรือไม่?

ตอบ : ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพนอกจากมะเร็งปากมดลูกดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การทานอาหารที่ไม่สะอาดหรือปรุงด้วยวิธีที่เสี่ยงมะเร็งและการอยู่ในภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษ ซึ่งอย่างน้อยก็จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Alternative cancer cures: ‘unproven’ or ‘disproven'”. CA Cancer J Clin.2011