ฮีโมโกลบินคืออะไร ?
ฮีโมโกลบินหรือเฮโมโกลบิน ( Hemoglobin ) คือ ส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนเลือด มีโมเลกุลโปรตีนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฮีม ( Heme ) ฮีมนี้ทำหน้าที่ดักจับและขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจับธาตุกับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ฮีมมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบเกิดจากโมเลกุลโปรตีน 4 ตัวที่เชื่อมต่อกันเรียกว่าสายโกลบูลิน ( Globulin Chains ) โดยปกติโครงสร้างของฮีโมโกลบินในผู้ใหญ่จะประกอบไปด้วยสายโกลบูลินชนิดอัลฟา 2 ตัว และสายโกลบูลินชนิดเบต้า 2 ตัว ส่วนในทารกพบเพียงสายโกลบูลินชนิดอัลฟา 2 ตัว และสายโกลบูลินชนิดแกมมา 2 ตัว ไม่พบสายโกลบูลินชนิดเบต้า แต่เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น สายโกลบูลินชนิดแกมมาจะค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยสายโกลบูลินชนิดเบต้า และกลายเป็นโครงสร้างของฮีโมโกลบินแบบผู้ใหญ่ต่อไป
ฮีโมโกลบิน เป็นโครงสร้างแบบใด
ฮีโมโกลบิน (hemoglobin หรือคําย่อคือ Hb) มีโครงสร้างโมเลกุลทีประกอบด้วยสายโปลีเป็ปไทด์ (polypeptide) ซึงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน เรียกว่าสายโกลบิน (globin chain) กับหมู่ฮีม (heme group) ซึงฮีม มีโครงสร้างทางเคมีเป็นพอร์ไฟริน (porphyrin) ทีมีโมเลกุลของเหล็ก (iron หรือ Fe) อยู่ตรงกลาง เพือ ทําหน้าทีจับและปล่อยออกซิเจน
วัตถุประสงค์ในการตรวจฮีโมโกลบิน
เพื่อตรวจวัดปริมาณโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่มีว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่
ฮีโมโกลบินในเลือดประกอบด้วยอะไรบ้าง
ฮีโมโกลบินประกอบไปด้วยโมเลกุลของโปรตีน globin 4 โมเลกุล คือ2 alfa-globulin chains และ 2 beta-globulin chain s และธาตุเหล็ก
ฮีโมโกลบินที่พบได้ทั่วไปมี 3 ชนิดคือ
ฮีโมโกลบิน เอ ( Hemoglobin A ) พบมากที่สุดในคนวัยผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคธาลัสซีเมียขั้นรุนแรง อาจมีระดับฮีโมโกลบินชนิดนี้ลดลงได้
ฮีโมโกลบิน เอฟ ( Hemoglobin F ) พบในทารกที่อยู่ในครรภ์และเด็กแรกเกิด ซึ่งฮีโมโกลบินชนิดนี้จะถูกแทนที่ด้วยฮีโมโกลบิน เอ ภายในไม่นานหลังจากเกิด หลังจากนั้นร่างกายจะผลิตฮีโมโกลบินเอฟออกมาในปริมาณน้อยมาก แต่หากป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย โรคเลือดจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคเลือดจางจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาจพบฮีโมโกลบินชนิดนี้ในปริมาณสูงได้
ฮีโมโกลบิน เอ2 ( Hemoglobin A2 ) เป็นฮีโมโกลบินที่พบในผู้ใหญ่ พบปริมาณเพียงเล็กน้อย
ฮีโมโกลบินทำหน้าที่อะไร
หน้าที่ของฮีโมโกลบินคือการลำเลียงออกซิเจนจากปอดออกไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อกลับมายังฟอกที่ปอด ช่วยรักษารูปร่างของเม็ดเลือดแดงให้เป็นปกติ คือมีลักษณะเป็นวงกลมและตรงกลางเว้าคล้ายโดนัท แต่ไม่เป็นรู หากโครงสร้างของฮีโมโกลบินผิดปกติจะส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างแตกต่างไปจากเดิม และมีภาวะโรคเลือดได้เช่น โรคเลือดจาง โรคเลือดหนืด เป็นต้น
เราจะทราบความผิดปกติของฮีโมโกลบินได้อย่างไร ?
จะทราบได้โดยการตรวจวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ( Complete Blood Count CBC ) เพราะช่วยระบุได้ว่าผู้ป่วยมีระดับฮีโมโกลบินสูงหรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งระดับฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ อาจบ่งบอกถึงโรคบางชนิดได้ เช่น โรคติดต่อทางพันธุกรรม โรคเลือดจาง เป็นต้น
ค่าปกติของฮีโมโกลบินในเลือดควรมีปริมาณเท่าไร ?
ระดับฮีโมโกลบิน ( Hb ) โดยทั่วไปควรมีค่าดังนี้
- เด็ก อายุ 6-12 ปี Hb : 11.5 – 15.5 g/dL
- ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี Hb : 12.0 – 16.0 g/dL
- อายุ 18 ปีขึ้นไป Hb : 12.1 – 15.1 g/dL
- ผู้ชาย อายุ 12 – 18 ปี Hb : 13.0 – 16.0 g/dL
- อายุ 18 ปีขึ้นไป Hb : 13.6 – 17.7 g/dL
ระดับฮีโมโกลบินผิดปกติบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพ ?
ระดับฮีโมโกลบินในเลือดบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เนื่องจากการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของฮีโมโกลบินที่ผิดปกตินั้นอาจมีสาเหตุจากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ
สาเหตุของระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่าค่าปกติ
- มีภาวะเสียเลือดมากผิดปกติ เช่น เลือดออกจากบาดแผล หรือ ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
- ร่างกายทำลายเม็ดเลือดแดงมากเกินไป เนื่องจาก ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกผิดปกติ โรคธาลัสซีเมีย
มีภาวะม้ามโต โรคโลหิตจางที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงหมดอายุเร็วกว่าปกติ ( Hemolytic Anemia )
โรคโพรพีเรีย ( Porphyria ) หรือมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะ - ร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ เนื่องจาก ภาวะขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 หรือวิตามินบี 6 เป็นต้น ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ได้ เป็นผลจากโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว รวมถึงการได้รับพิษจากยา การรักษาด้วยรังสี การติดเชื้อ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูกโดยตรง
ฮีโมโกลบินต่ำ มีอาการอย่างไรบ้าง
- หน้าซีด
- รู้สึกเหนื่อยง่าย
- ความอ่อนเพลีย
- เวียนศีรษะ
- ปวดหัว
- รู้สึกหนาว
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจถี่
- มือเท้าเย็น
- อุณหภูมิร่างกายต่ำ
สาเหตุของระดับฮีโมโกลบินสูงกว่าค่าปกติ
- เกิดจากร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติเนื่องจากระดับฮีโมโกลบินสูง และภาวะระดับฮีโมโกลบินสูงมักเกิดจากการมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ตรวจวัดค่าฮีโมโกลบินได้ต่ำไปด้วยนั่นเอง
- เกิดกับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลมาก ๆ
- ร่างกายขาดน้ำมากเกินไป
- สูบบุหรี่หนัก
- มีภาวะหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด หรือภาวะหัวใจวายที่ห้องหัวใจข้างขวา
- เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรงภาวะพังผืดที่ปอด หรือโรคปอดชนิดรุนแรงความผิดปกติของสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก
ฮีโมโกลบินสูง มีอาการอย่างไรบ้าง
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- อาการคันบริเวณผิวหนัง
- ฟกช้ำง่าย
- อาการปวดหัว
- เลือดออกง่าย
- การก่อตัวของลิ้มเลือด อาจนำไปสู่การอุดตันในเส้นเลือดได้
- เหงื่อออกมากกว่าปกติ
- น้ำหนักลดผิดปกติ
- ปวดกระดูกและข้อ
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20660″]
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
A standard biochemistry text defines heme as the “iron-porphyrin prosthetic group of heme proteins”(Nelson, D. L.; Cox, M. M. “Lehninger, Principles of Biochemistry” 3rd Ed.
Paoli, M. (2002). “Structure-function relationships in heme-proteins”. DNA Cell Biol. 21 (4): 271–280.