การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่?
ไข่ 1 ฟองมีปริมาณคอเลสเตอรอลประมาณ 185 มิลลิกรัม การกินไข่วันละฟองย่อมไม่ผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด

คอเลสเตอรอลในไข่

คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) สูงหลังการกิน ไข่ เป็นความจริงหรือไม่? ไข่วันละฟอง กินไข่วันละฟอง เป็นสโลแกนที่ร้านสะดวกซื้อใช้ในการโฆษณาขายไข่ที่มีจำหน่ายอยู่ในร้าน ทำไมบางคนบอกว่าการกินไข่จะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น แล้ว การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่ เราสามารถกินไข่ได้โดยที่คอเลสเตอรอลไม่ขึ้นจริงหรือ เป็นคำถามที่คาใจใครหลายคนแน่นอน สาเหตุที่มีคนกล่าวว่าเมื่อกินไข่แล้วจะทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้น

เนื่องจากช่วงเวลาหนึ่งเรานิยมบริโภค ไข่ เป็นอาหารเช้าโดยการรับ ประทานคู่กับเบคอนและไส้กรอก ซึ่งหลังจากช่วงนั้นไม่นาน ผู้คนส่วนใหญ่ก็ตรวจพบว่ามีคอเรสเตอรอลสูง ทำให้เกิดความเข้าใจว่าการรับประทานไข่ทุกวันนั้น ทำให้เกิดคอเรสเตอรอลสูงนั้นเอง

ก่อนที่เราจะมาสรุปกันว่า การกินไข่ทำให้ คอเลสเตอรอล สูงใช่หรือไม่นั้น เรามาทราบถึงการเกิดคอเลสเตอรอลในร่างกายกันก่อน

คอเลสเตอรอล สูงจากการกินไข่ไม่จริง คอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในร่างกายคนเรานั้นเป็นคอเลสเตอรอลที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเองเกือบทั้งหมด ส่วนคอเลสเตอรอลที่มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับที่ร่างกายสร้างขึ้นมา

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามกลไกตามธรรมชาติ เพราะว่าคอเลสเตอรอลนั้นเป็นส่วนประกอบของเซลล์ร่างกาย เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนและยังเป็นตัวช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิดเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

จะเห็นว่า คอเลสเตอรอล นั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายมาก ร่างกายจึงต้องทำการสังเคราะห์ขึ้นมาเอง เพราะว่าถ้าต้องนำมาจากภายนอกนั้นก็คงไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเป็นแน่ แต่ว่าการที่มีคนบอกว่าการกินไข่นั้นทำให้คอเลสเตอรอลสูง ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของคนแต่ละคนด้วย 

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามกลไกตามธรรมชาติ

เนื่องจาก ไข่ 1 ฟองมีปริมาณ คอเลสเตอรอล ประมาณ 185 มิลลิกรัม ร่างกายคนเราในสภาวะปกติสามารถรับคอเลสเตอรอลจากอาหารได้วันละ 300 มิลลิกรัม เมื่อเทียบดูแล้วจะเห็นว่าต้องรับประทานไข่ 2 ฟองระดับคอเลสเตอรอลที่ได้รับจึงจะเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการกินไข่วันละฟองย่อมไม่ผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอยู่แล้ว คนกลุ่มนี้สามารถบริโภคอาหารที่มีคอเรสเตอรอลได้ไม่เกิน  200 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น

แต่อย่าลืมว่านี่เป็นผลรวมของ คอเลสเตอรอล สูงไม่ได้มาจาก ไข่ แต่มาจากการที่รับประทานเข้าไปทั้งหมด แล้วในหนึ่งวันคุณรับประทานอาหารกี่อย่าง อาหารแต่ละอย่างมีคอเลสเตอรอลเท่าไหร่? เวลาที่คิดปริมาณคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปคุณต้องคิดรวมทุกอย่างด้วย ไม่ใช่ว่าคอเลสเตอรอลจะมาจากไข่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ในหนึ่งวันเรารับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลรวมเท่ากับที่ร่างกายต้องการแล้ว แต่ยังรับประทานไข่เพิ่มเข้าไปอีก แสดงว่าคอเลสเตอรอลจากไข่นั้นเป็นคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ร่างกายจึงได้รับคอเลสเตอรอลสูงกว่าที่กำหนดไว้ ดังนั้นการคำนวณคอเลสเตรอลที่เรารับประทานเข้าไปก็ต้องรวมคอเลสเตอรอลจากทุกแหล่งที่ได้รับด้วย เราจึงได้ข้อคิดว่าการกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพและปริมาณที่บริโภคต่อหนึ่งวันนั้นเอง

สำหรับคนที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักแล้ว การรับประทาน ไข่ เป็นอาหารหลักทดแทนการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง อย่าง แป้ง ขนมปัง ข้าวขาว ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะว่าในไข่นอกจากจะมี คอเลสเตอรอล แล้ว ยังให้พลังงานต่อร่างกาย ไข่หนึ่งฟองให้พลังงานเพียง 70 กิโลแคลอรี  ดังนั้นในหนึ่งมื้อเราทานไข่เพียงหนึ่งฟองกับผักและผลไม้แล้ว เราได้รับสารอาหารครบถ้วน แต่พลังงานที่ได้รับน้อยลง เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงานก็ต้องดึงไขมันในร่างกายมาใช้ทำให้น้ำหนักเราลดลงได้ นอกจากนั้นไข่ยังประกอบด้วยโปรตีน กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างกรดโฟลิคและโคลีน ( Choline ) ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นไข่ยังมีแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูง แคโรทีนอยด์เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา จากที่กล่าวมาจะพบว่าไข่จัดเป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่การรับประทานไข่นั้นก็ข้อปฏิบัติดังนี้

1.รับประทานไข่ได้วันละไม่เกิน 1 ฟอง รวมแล้วสัปดาห์ละไม่เกิน 5 ฟองเท่านั้น

2.อย่าคิดว่าคอเลลสเตอรอลที่ได้รับมาจากไข่ทั้งหมด ต้องนับรวมคอเลสเตอรอลจากอาหารอย่างอื่นด้วย โดยนับรวมแล้วคอเลสเตอรอลต้องไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับคนปกติ และไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้มีความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

3.ถ้าคุณเป็นคนที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ คอเลสเตอรอล แล้ว สามารถรับประทานไข่ขาวได้ แต่ไม่ควรกินไข่แดง

4.ถ้าไม่แน่ใจเกี่ยวกับการกินไข่ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ก่อนการกิน ไข่

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Hardisty, M. W., and Potter, I. C. (1971). The Biology of Lampreys 1st ed. (Academic Press Inc.).

Leonard J. V. Compagno (1984). Sharks of the World: An annotated and illustrated catalogue of shark species known to date. Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Gorbman, A. (June 1997). “Hagfish Development”. Zoological Journal. 14. 

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.