อัลบูมินคืออะไร ?
อัลบูมินพบในไข่ขาว เป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็ง โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดและซ่อมแซมส่วนต่างๆ

อัลบูมิน คือ อะไร ?

อัลบูมิน ( อาบูมิน, Albumin ) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ลอยอยู่ในกระแสเลือด ถูกผลิตขึ้นจากตับและมีปริมาณมากกว่าโปรตีนชนิดอื่น มีความสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็ง โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราจะพบอัลบูมินเป็นส่วนประกอบหนึ่งประมาณ 50% ของโปรตีนที่พบในเลือดเลยทีเดียว นอกจากนี้อัลบูมินยังสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อต่อต้านการติดเชื้อต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

อัลบูมินถูกสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่ตับ ดังนั้นหากร่างกายได้รับกรดอะมิโนน้อยเกินไปหรือได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอก็จะทำให้ระดับของอัลบูมินลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เป็นผลให้ภูมิต้านทานต่ำและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนง่ายขึ้นอีกด้วย

อัลบูมิน คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งพบสารอัลบูมินได้มากที่สุดคือใน “ไข่ “

ซึ่งภายในไข่ก็ยังอุดมไปด้วยอัลบูมินสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสีหรือวิตามินและสารอาหารอื่นๆ แถมยังสามารถนำมาทำอาหารได้อย่างหลากหลายเมนูเลยทีเดียว และสำหรับใครที่กังวลว่าการทานไข่บ่อยๆ จะทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้น ก็หมดกังวลไปได้เลย เพราะเราสามารถเลือกทานเฉพาะไข่ขาวได้ ซึ่งพบว่าโปรตีนจากไข่ขาวก็มีอัลบูมินอยู่มากถึง 50% เช่นกัน

และนอกจาก albumin จะเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว การทานอัลบูมินก็สามารถบรรเทาอาการของโรคตับและโรคมะเร็งตับได้อย่างดีเยี่ยม จึงถือเป็นโปรตีนที่มีความจำเป็นต่อผู้ที่ป่วยด้วยมะเร็งตับและโรคตับเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการรักษาอาการบวมน้ำของผู้ป่วยให้ดีขึ้น นั่นก็เพราะโปรตีนอัลบูมินมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำนั่นเอง อัลบูมินจากไข่ในผู้ป่วยที่ทานไข่ แนะนำให้ทานเฉพาะไข่ขาววันละ 2 ฟอง เท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการป่วยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กรดอะมิโนและอัลบูมินที่พบในไข่ขาว ก็สามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอภายในร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วยได้ดีเช่นกัน แถมยังมีกรดอะมิโนซิสตีน ที่จะช่วยลดการเกิดอาการข้างเคียงจากการฉายแสงและการทำคีโมในผู้ป่วยมะเร็งได้อีกด้วย

กรดอะมิโนที่พบในไข่ขาว

  • ไลซีน ( Lysine ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างเอ็นไซม์ต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • ทริพโตเฟน ( Tryptophan ) ช่วยแก้ปัญหาในคนที่นอนไม่หลับได้อย่างดีเยี่ยม โดยจะช่วยให้ร่างกายมีการปรับตัวเข้ากับเวลานอนได้ดียิ่งขึ้น
  • ฮิสทิดีน ( Histidine ) ตัวช่วยที่จะเสริมการทำงานของระบบประสาทให้ดียิ่งขึ้น
  • ฟีนิลแอลานีน ( Phenylalanine ) ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดและสร้างความสุขได้ดี
  • ลิวซีน ( Leucine ) กระตุ้นการหลั่ง Growth Hormone และช่วยให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  • ไอโซลิวซีน ( Isoleucine ) ทำหน้าที่ในการรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ
  • ทรีโอนีน ( Threonine ) ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ และทำให้ระบบการทำงานของลำไส้ การดูดซึมสารอาหารและระบบการย่อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมไทโอนีน ( Methionine ) จะทำหน้าที่ในการลดการสะสมของไขมันตับ
  • ซิสตีน ( Cystine ) จะทำหน้าที่ในการลดการเกิดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสีและทำคีโม รวมถึงลดการสะสมขอจุดด่างดำ พร้อมทั้งดูแลสุขภาพผลให้แข็งแรงไม่หลุดร่วงได้ง่าย
  • วาลีน ( Valine ) ทำหน้าที่ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ พร้อมช่วยรักษาสมดุลของไนโตรเจนในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 

การตรวจ อัลบูมิน

การทำการตรวจต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งวัตถุประสงค์คือตรวจเพื่อทราบค่าโปรตีนในกระแสเลือดชนิด “ อัลบูมิน ” ในกรณีปนออกมากับน้ำปัสสาวะว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ และจะมีผลชี้ไปถึงสภาวะการทำงานของตับและไต ตรวจสอบว่าร่างกายได้รับโปรตีนจากอาหารในแต่ละวันที่บริโภคเพียงพอหรือไม่ หรือมีกลไกการดูดซึมอาหารผิดปกติอย่างไรบ้างหรือไม่

ค่าปกติของ Albumin อยู่ที่เท่าไหร่?

ปกติจะตรวจ 2 ค่าคือ ค่าปกติของอัลบูมิน ( Albumin ) และ โกลบูลิน ( Globulin ) ค่าปกติทั่วไป

อัลบูมิน Albumin 3.5 – 5 gm/dL
โกลบูลิน Globulin 2.3 – 3.4 gm/dL

ค่า Albumin ผิดปกติมีอะไรบ้าง?

ค่าอัลบูมินผิดปกติ คือ ค่าอัลบูมินที่ตรวจพบในเลือดมีปริมาณอัลบูมินต่ำ หรือ อัลบูมินสูงกว่าค่าปกติ

ค่า Albumin ต่ำกว่าค่าปกติ มีสาเหตุจากอะไร ?

ค่าอัลบูมิน Albumin ต่ำ มีสาเหตุ ดังนี้

เมื่อตรวจผลเลือดได้ค่าอัลบูมิน Albumin ต่ำ แพทย์มักวิเคราะห์ถึงสาเหตุได้ ดังนี้
ผู่ป่วยได้รับสารเคมีที่เป็นพิษต่อตับ หรือมีโรคมะเร็งตับระยะแพร่กระจาย
ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
โรคเกี่ยวกับตับ ซึ่งทำตับให้ผลิตสารอัลบูมินได้น้อยลง
โรคตับอักเสบ ( Hepatitis ) เช่น มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เช่น จากพิษสุราเรื้อรัง
ร่างกายขาดโปรตีน ทำให้ผลิตอัลบูมินไม่ได้
อาจมีโรคลำไส้อักเสบร่วมด้วย
อาจเกิดการรั่วของโปรตีนผ่านทางการปัสสาวะ
อาจเป็นโรคไต

 

ค่า Albumin สูงกว่าค่าปกติ

  • ค่าอัลบูมินผิดปกติเพราะได้รับโปรตีนในปริมาณมากเกินไป     [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”
  • ค่าอัลบูมินผิดปกติเพราะร่างกายเกิดสภาวะการขาดน้ำ ( Dehydration )
  • ค่าอัลบูมินผิดปกติเพราะอาจเป็นโรคมะเร็งไขกระดูก ( Multiple Myeloma )

จะเห็นได้ว่า การตรวจค่าอัลบูมินทำให้เราทราบถึงความผิดปกติของร่างกายและรวมไปถึงการวิเคราะห์โรคได้ จึงควรใส่ใจและรักษาระดับอัลบูมินให้อยู่ในระดับปกติเสมอ เริ่มจากการเลือกรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และอาหารที่ สามารถหาได้ง่ายคือ ไข่ นอกจากไข่มีประโยชน์แล้ว ยังเป็นแหล่งรวมของสารอัลบูมินในปริมาณมาก เราจึงควรรับประทานไข่ ซึ่งก็สอดคล้องกับการที่รัฐบาลรณรงค์ให้คนไทยกินไข่ให้ได้ 300 ฟองต่อปี เพื่อสุขภาพที่ดีอีกด้วย ดังนั้นเรามากินไข่เพิ่มอัลบูมินกันเถอะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Kashima, A.; Mochizuki, S.; Noda, M.; Kobayashi, K. (1 June 1999). “Crystal structure of human serum albumin at 2.5 A resolution”. Protein Engineering Design and Selection. 

He, Xiao Min; Carter, Daniel C. (16 July 1992). “Atomic structure and chemistry of human serum albumin”. Nature. 

Haefliger, Denise Nardelli; Moskaitis, John E.; Schoenberg, Daniel R.; Wahli, Walter (October 1989). “Amphibian albumins as members of the albumin, alpha-fetoprotein, vitamin D-binding protein multigene family”. Journal of Molecular Evolution.