ผักปลาบใบกว้าง ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้ระคายเคืองผิวหนังและแก้ปวด

ผักตบไทย ทั้งต้นรสจืด แก้พิษในร่างกาย แก้รังแค เป็นยาขับลมและขับปัสสาวะ
ผักตบไทย พบตามแหล่งน้ำหรือคลองบึง ใบเดี่ยว มีดอกสีน้ำเงินปนม่วง ผลเป็นรูปวงรีแคปซูล ผลมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลจำนวนมาก
ผักตบไทย ทั้งต้นรสจืด แก้พิษในร่างกาย แก้รังแค เป็นยาขับลมและขับปัสสาวะ
ผักตบไทย พบตามแหล่งน้ำหรือคลองบึง ใบเดี่ยว มีดอกสีน้ำเงินปนม่วง ผลเป็นรูปวงรีแคปซูล ผลมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลจำนวนมาก

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง (Benghal dayflower) เป็นพืชในวงศ์ผักปลาบที่มักจะพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป มีดอกสีฟ้าอ่อนทำให้ต้นดูสวยงาม ทั้งต้นมีรสเฝื่อนแต่สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ ผักปลาบใบกว้างยังเป็นต้นที่อยู่ในตำรายาของชาวเมี่ยนอีกด้วย และยังเป็นอาหารของโคกระบือได้ เป็นต้นที่มีประโยชน์มากกว่าความสวยงามของดอกภายนอก เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ได้พบง่ายสักเท่าไหร่และคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักปลาบใบกว้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelina benghalensis L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Benghal dayflower” “Dayflower” “Tropical spiderwort” “Wondering jew”
ชื่อท้องถิ่น : คนเมืองเรียกว่า “ผักกาบปลี” ชาวขมุเรียกว่า “ผักงอง” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “สะพาน” ไทลื้อเรียกว่า “ผักขาบ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักปลาบใบกว้าง ผักปราบ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักปลาบ (COMMELINACEAE)
ชื่อพ้อง : Commelina prostrata Regel

ลักษณะของผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มักจะพบตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า ที่ลุ่มชื้นและภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ในประเทศไทยมักจะพบในจังหวัดนครราชสีมาและแม่ฮ่องสอน
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น เป็นสีเขียวอวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันไปตามข้อของต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มนหรือรูปวงรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบแต่มีขนครุย แผ่นใบเป็นสีเขียว มีขนขึ้นปกคลุมทั่วใบทั้งสองด้านและหลังใบประดับจะมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมอย่างหนาแน่น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบหรือออกตามปลายกิ่ง ดอกจะอยู่ภายในกาบรองดอก ดอกเป็นสีฟ้าอ่อน มีกลีบดอก 3 กลีบ โดยกลีบกลางจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง กลีบรองดอกเป็นสีเขียวอ่อนใสมี 3 กลีบ อับเกสรเพศผู้มี 6 อัน โดยมี 4 อันที่เป็นหมันสีเหลืองสด ส่วนอีก 2 อันที่เหลือไม่เป็นหมันแต่จะเป็นสีม่วงเข้ม ยอดและก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูเป็นสีม่วงอ่อน มักจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปวงรีปลายตัด ผลจะแบ่งออกเป็น 3 ช่อง ช่องหนึ่งถ้าแก่แล้วจะไม่แตกแต่อีก 2 ช่องนั้นจะแตก
เมล็ด : สามารถมองเห็นเมล็ด 2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน ผิวขรุขระและมีสีเทาเข้ม

สรรพคุณของผักปลาบใบกว้าง

  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้โรคเรื้อน แก้อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง บรรเทาอาการปวด อาจเป็นยาแก้ปวดขัดปัสสาวะและแก้ผื่นคันได้แต่ข้อมูลไม่แน่ชัด
  • สรรพคุณจากใบ
    – ทำให้หายป่วย ชาวเมี่ยนนำใบมาต้มกับน้ำเพื่ออาบ

ประโยชน์ของผักปลาบใบกว้าง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมานึ่งหรือลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาใช้ใส่ในแกงส้มได้
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารของโคกระบือ นำยอดและใบมาสับแบบหยาบแล้วผสมกับรำใช้เป็นอาหารหมูได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักปลาบใบกว้าง

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
โปรตีน 20%
แคลเซียม 1.1%
ธาตุเหล็ก 573 ppm
ฟอสฟอรัส  0.3%
โพแทสเซียม  3.9%
ADF 41%
NDF 50%
ไนเตรท 645 ppm

ผักปลาบใบกว้าง สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านยาสมุนไพร เป็นส่วนประกอบในอาหารอย่างเมนูแกงส้มหรือนำมารับประทานเป็นผัก และยังเป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงอย่างโคกระบือได้ เป็นพืชที่มีสารอาหารและโภชนาการที่ดีชนิดหนึ่ง ผักปลาบใบกว้างมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากใบและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ทำให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย ทำให้หายป่วย แก้อาการระคายเคืองที่ผิวหนังและบรรเทาอาการปวดได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณมากกว่าที่เห็นเป็นวัชพืชภายนอก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักปลาบ”. หน้า 501-502.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ผักปลาบ”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [16 พ.ย. 2014].
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, กรมปศุสัตว์. “ผักปลาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ncna-nak.dld.go.th. [16 พ.ย. 2014].