ลางสาด
ไม้ผลเมืองร้อนอุดมด้วยวิตามินเอ ออกเป็นช่อผลสดสีเขียว ผลสุกสีเหลือง เปลือกบาง ผิวละเอียด ผลอ่อนจะนุ่ม มียางมาก ฉ่ำน้ำ รสหวานหอมอมเปรี้ยว

ลางสาด

ลางสาด (Langsat) เป็น ต้นไม้จากตระกูลกระท้อนอุดมไปด้วยวิตามิน เช่น ไทอามีนและไรโบฟลาวิน ซึ่งเป็นหนึ่งในการผลิตเซลล์เซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยในการสลายคาร์โบไฮเดรต และวิตามินเอสูง ซึ่งช่วยในการรักษาสุขภาพผิวหนัง ดวงตา ฟัน เนื้อเยื่อโครงร่าง และเยื่อเมือกให้แข็งแรง ชื่อสามัญ Lancet (ลานเสท), Langsium (ลานเซียม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Aglaia domestica (Corrêa) Pellegr., Lansium domesticum Corrêa)[1],[2],[3] จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า รังสาด ลังสาด รางสาด ล า ง ส า ด (ไทย), ลาซะ ดูกู (มลายู) เป็นต้น โดยชื่อ “ลางสาด” หรือ “ลังสาด” นั้นมาจากภาษามาเลย์คำว่า “Langsat”[1],[2]

ลักษณะของลางสาด

  • ต้น มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะมาลายู หมู่เกาะชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และในประเทศไทย[5] ถูกจัดให้เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก เป็นไม้ผลเมืองร้อน (ร้อนชื้น) มีลำต้นตรง สูงอยู่ที่ประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นมุมแหลมกระจายกึ่งกลางลำต้นขึ้นไป ลักษณะปลายกิ่งตั้ง ส่วนผิวของลำต้นชั้นนอกเป็นสีเทาและมีพื้นผิวขรุขระ เปลือกไม่หลุดออก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยหรือในดินร่วนปนทราย ชอบแสงแดด ชอบอากาศชื้นปานกลาง และน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนแบบควั่นกิ่ง การติดตา และการต่อกิ่ง[1]
  • ใบ เป็นใบประกอบ เกิดสลับซ้ายขวาอยู่ต่างระนาบกัน ก้านใบกลม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่รีโค้งมน ปลายใบมีลักษณะเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีไขนวลปกคลุมอยู่ ใบเป็นสีเขียวเข้ม ด้านล่างใบมีเส้นใบนูนเด่น[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อสีขาว ดอกเกิดไปตามลำต้นและตามกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ[1]
  • ผล ออกเป็นช่อ ๆ ผลตอนสดเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเป็นสีเหลือง ผลมีลักษณะทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างบาง ผิวมีความละเอียด ผลอ่อนจะนุ่ม มียางมากเป็นสีขาวขุ่น ๆ ส่วนเนื้อภายในจะนิ่ม มีความฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานหอมอมเปรี้ยวเล็กน้อย ในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5 เมล็ด และเมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะกลมแบนรี มีเปลือกหุ้มบาง ๆ ผิวเมล็ดเนียนเรียบ มีเนื้อในเป็นสีขาว มีรสชาติฝาดและขมจัด[1],[2]

ลองกอง ลางสาด แตกต่างกันอย่างไร

1. ลองกองมีราคาที่แพงกว่า
2. ผลจะมีลักษณะออกกลมรี ส่วนลองกองผลจะค่อนข้างกลม
3. ลองกองเปลือกจะค่อนข้างหนา
4. ลองกองผิวจะหยาบเล็กน้อย
5. ส่วนลองกองจะเป็นสีเหลืองซีด
6. ลองกองจะไม่มียางสีขาว
7. ลองกองสามารถแกะรับประทานได้ง่าย
8. ผลลองกองจะมีจุก
9. ลองกองมีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเลย
10. ลองกองเมล็ดจะมีรสไม่ขม
11. เนื้อลองกองจะมีรสหวาน
12. ความหวานของลองกองจะมีค่าตั้งแต่ 16-19 องศาบริกซ์
13. ผลสุกแล้ว เนื้อลองกองจะแห้งและขาวใสคล้ายแก้ว
14. ลองกองเนื้อเยอะ
15. ช่อผลของลองกองค่อนข้างยาว
16. ใบของลองกองจะมีรสที่ขมจัด
17. ใบลองกองนั้นจะเป็นคลื่นใหญ่และมีร่องลึก

สรรพคุณของลางสาด

1. เมล็ดนำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาสำหรับหยอดหู แก้อาการหูอักเสบหรือเป็นฝีในหูได้ (เมล็ด)[1]
2. เปลือกต้นนั้นมีรสที่ฝาด มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (เปลือกต้น)[2]
3. เปลือกผลนำมาใช้ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน โดยการนำเปลือกมาหั่นแล้วนำไปคั่วชงกับน้ำเดือด ใช้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วย (เปลือกผล)[1]
4. สามารถนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้ (เปลือกต้น, เมล็ด)[1],[2]
5. เปลือกต้นนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ (เปลือกต้น)[1],[2]
6. เปลือกของผลมีสารโอเลอเรซิน ซึ่งจะช่วยในการบรรเทาอาการปวดท้อง (เปลือกผล)[2]
7. ใช้ช่วยรักษาโรคเริม (เมล็ด)[1]
8. เมล็ดใช้ช่วยรักษาโรคงูสวัดได้ (เมล็ด)[1]

ประโยชน์ของลางสาด

1. โดยทั่วไปมักจะนิยมนำมาใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ให้รสชาติที่หวานอร่อย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหาร โดยเนื้อจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี[1]
2. เปลือกผลที่แห้งแล้ว เมื่อนำมาเผาจะมีกลิ่นเหม็นสามารถใช้ไล่ยุงได้[1]
3. เมล็ดมีสารที่ชื่อว่า อัลคาลอยด์ (Acid Alkaloid) ซึ่งเป็นพิษกับหนอนและแมลง สามารถนำมาทำเป็นยาฉีดพ่นกำจัดแมลงได้ โดยจะใช้เมล็ดจำนวนครึ่งกิโลกรัมนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำไปผสมกับน้ำประมาณ 20 ลิตร จากนั้นแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากที่แช่ครบ 1 วันแล้วให้นำมากรองเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้ฉีดพ่นตามแปลงผักได้เลย[4]

สั่งซื้ออาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลลองกอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.longkong.ist.cmu.ac.th. [16 พ.ย. 2013].
2. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “เรื่อง ล า ง ส า ด”. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2549. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [16 พ.ย. 2013].
3. ฐานข้อมูลการเกษตร ของประเทศไทย. อรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pikul.lib.ku.ac.th. [16 พ.ย. 2013].
4. OkNation. “ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.oknation.net. [16 พ.ย. 2013].
5. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.skns.ac.th. [16 พ.ย. 2013].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://krishijagran.com/health-lifestyle/nutritious-health-values-of-langsat-fruit/
2.https://bonapeti.com/n-38692-Langsat