พริกขี้หนู
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวปลายใบแหลม ดอกสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกสีส้มแดงหรือสีแดง รสเผ็ด

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อน มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ชื่อสามัญ Bird pepper, Chili pepper, Cayenne Pepper, Tabasco pepper[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum annuum L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum frutescens L., Capsicum frutescens var. frutescens, Capsicum minimum Mill.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง (ภาคเหนือ), หมักเพ็ด (ภาคอีสาน), พริก พริกชี้ฟ้า (ภาคกลาง), ดีปลีขี้นก พริกขี้นก (ภาคใต้), พริกมะต่อม (เชียงใหม่), ปะแกว (นครราชสีมา), มะระตี้ (สุรินทร์), ดีปลี (ปัตตานี), ครี (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), ลัวเจียะ (จีนแต้จิ๋ว), ล่าเจียว (จีนกลาง), มือซาซีซู, มือส่าโพ[1],[3]

ลักษณะของพริกขี้หนู[1],[3],[4],[5]

  • ต้น
    – เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร
    – มีอายุได้ถึง 1-3 ปี
    – แตกกิ่งก้านสาขามาก
    – กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว
    – กิ่งแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี
    – ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกใบเรียงสลับตรงข้ามกัน
    – ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ รูปกลมรี หรือรูปวงรี
    – ปลายใบแหลม โคนใบเฉียงหรือสอบ และขอบใบจะเรียบ
    – ใบมีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเรียบ มีสีเขียวมันวาว
    – ก้านใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ
    – ในแต่ละช่อจะมีประมาณ 2-3 ดอก
    – มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ
    – กลีบดอกเป็นสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน
    – เกสรเพศผู้จะมีอยู่ประมาณ 5 อัน จะขึ้นสลับกับกลีบดอก
    – เกสรเพศเมียจะมีอยู่เพียง 1 อัน
    – มีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างยาวรี
    – ปลายผลแหลม
    – ผลมีความกว้างประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
    – ผลสดจะเป็นสีเขียว
    – ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงหรือเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล
    – ผลมีผิวที่ค่อนข้างลื่น
    – ภายในผลจะกลวงและมีแกนกลาง
    – รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มาก
    – เมล็ดมีรูปร่างแบนเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนและมีรสเผ็ด
    – เมล็ดมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. สารสำคัญที่พบได้แก่[1]
    – acetic acid
    – alanine,phenyl
    – ascorbic acid
    – butyric acid
    – butyric acid
    – caffeic acid
    – caproic acid
    – capsaicin
    – chlorogenic acid
    – ferulic acid
    – hexanoic acid
    – lauric acid
    – protein
    – novivamide
    – valeric acid
    – vanillyl amine
    – zucapsaicin
  2. เมื่อปี ค.ศ.1982 ที่ประเทศอินเดีย[1]
    – ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากพริก
    – ผลการทดลองพบว่าสารสกัดที่ได้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้
  3. เมื่อปี ค.ศ.2001 และปี ค.ศ.2004 ที่ประเทศจาเมกา ได้ทำการทดลองในสุนัข[1]
    – ช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร
    – ช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน จึงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้
  4. สารสกัดที่ต้มด้วยน้ำ[3],[4]
    – สามารถใช้ในการฆ่าแมลงได้
  5. สาร Capsaicin[3],[4]
    – ช่วยยับยั้งเชื้อ Bacillis cereus
    – ช่วยฆ่าเชื้อ Bacillus subtilis
  6. จากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น จากการกินพริก 10 กรัม[10]
    – ทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาที
  7. การนำสารสกัดจากพริกมาใช้ทาลงบนผิวหนัง[3],[4]
    – ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการขยายตัว
    – ทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น
    – หากใช้มากเกินไปจะทำให้ระคายเคืองต่อผิว ทำให้ผิวหนังเป็นแผลพุพองและแสบร้อนได้
  8. สาร Capsaicin[3]
    – ช่วยทำให้เจริญอาหาร
    – ช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้น
  9. น้ำที่สกัดได้จากพริก[3]
    – จะลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ilieum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีน
  10. Capsaicin[3]
    – จะเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา
  11. การรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยพริกแก่สีแดงเป็นเวลา 3 สัปดาห์[3]
    – พบว่าสารในกลุ่มคอร์ติโซนในพลาสมาจะเพิ่มขึ้น และจะขับออกมาทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นด้วย
  12. สารสกัดที่นำมาฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง[3]
    – มีฤทธิ์กดประสาท ทำให้หนูทดลองเดินเซเล็กน้อยและชักตายได้
  13. สารสกัดที่นำมาฉีดเข้าทางหลอดเลือด[3]
    – มีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
    – มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาวทดลอง
  14. สาร Capsaicin[10]
    – สามารถลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดได้
  15. จากการศึกษาในคนที่ได้รับประทานพริกสด 5 กรัมที่สับละเอียดพร้อมกับน้ำ 1 แก้ว[10]
    – จากการวัดค่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดหลังกินทันทีจนถึงหนึ่งชั่วโมง พบว่าจะมีการยืดระยะเวลาของการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดออกไปภายใน 30 นาทีหลังกินพริก
    – จากการศึกษาในระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดมีการยืดระยะเวลาออกไปอีกเช่นกัน
  16. จากการศึกษาโดยให้หนูกินพริกและ Capsaicin เข้าไป[10]
    – ช่วยทำให้ระดับไขมันในเลือดลดลง
  17. การศึกษาในคนที่มีไขมันในเลือดสูง โดยทำการแบ่งกลุ่มให้กิน5 กรัม ร่วมกับอาหารปกติ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์[10]
    – ในกลุ่มที่ไม่กินพริกมีระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไขมันเลว และไขมันดีสูงขึ้น
    – ในกลุ่มที่กินพริกมีระดับไขมันทั้งหมดและไขมันเลวไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไขมันดีสูงขึ้น
  18. จากการศึกษาผลการลดระดับน้ำตาลในเลือดกับหญิงวัยหมดประจำเดือนจำนวน 10 ราย โดยทำการทดลองเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด[10]
    – ในวันแรกให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เพียงอย่างเดียว แล้วเจาะเลือด ในเวลาก่อนกินและหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที
    – ในวันที่สองให้ดื่มน้ำตาลกลูโคสเช่นเดียวกับวันแรก แต่กินร่วมกับพริกและทำการเจาะเลือด ในเวลาก่อนกินและหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที
    – จากนั้นนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดื่มน้ำตาลพร้อมพริก 30 นาที จะต่ำกว่าน้ำตาลในเลือดในวันแรกที่ไม่ได้กินพริกประมาณร้อยละ 20

สรรพคุณของพริกขี้หนู

  • ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก[9]
  • ช่วยรักษาโรคเกาต์ ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ลดอาการปวดบวม[1],[3],[8]
  • ช่วยรักษาอาการตะคริวได้ ช่วยทำให้บริเวณผิวที่ทามีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น และกระตุ้นทำให้บริเวณที่ทารู้สึกร้อน[8],[9]
  • ช่วยลดอาการปวดบวมอันเนื่องจากลมชื้นหรือจากความเย็นจัด[3],[4]
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามตัว ขับลมชื้นตามร่างกาย[4]
  • ช่วยรักษาอาการปวดตามเอวและน่อง[3]
  • ช่วยรักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก[3],[4]
  • ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น[3,[4]
  • ช่วยแก้พิษตะขาบและแมงป่องกัด[6]
  • ช่วยต้านแบคทีเรียและอนุมูลอิสระ[8]
  • ช่วยรักษาโรคหิด กลากเกลื้อน[3]
  • ช่วยป้องกันการเป็นผื่นแดงเนื่องจากแพ้อากาศเย็น[9]
  • ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี[6]
  • ช่วยรักษาโรคบิด[3]
  • ช่วยแก้อาการเจ็บคอ เสียงแหบ[6]
  • ช่วยรักษาอาการอาเจียน[3]
  • ช่วยสลายเมือกในปอด ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ช่วยป้องกันหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง[8],[9],[10]
  • ช่วยแก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ[2],[10]
  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และทำให้อารมณ์แจ่มใส[10]
  • ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด[10]
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยสลายลิ่มเลือด[8]
  • ช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี[9]
  • ช่วยเร่งการสันดาปและเร่งเมตาบอลิซึม ช่วยใช้แคลอรีให้หมดไป จึงทำให้น้ำหนักลด[8],[10]
  • ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และไขมันเลว[8],[10]
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1]
  • ช่วยแก้ตานซางซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้ในเด็ก[2]
  • ช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร และช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย[1],[2],[4]
  • ช่วยแก้เท้าแตก[6]
  • ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดบวม[3],[6]
  • ช่วยขับปัสสาวะ[6]
  • ช่วยรักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก[6]
  • ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น[6]
  • ช่วยแก้มดคันไฟกัด[6]
  • ช่วยรักษาแผลสดและแผลเปื่อย[6]
  • ช่วยแก้อาการคัน[1]
  • ช่วยแก้หวัด[11]
  • ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มน้ำลาย และช่วยขับลม[8]

ประโยชน์ของพริกขี้หนู

  • พริก สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในสเปรย์ป้องกันตัวได้ เมื่อฉีดเข้าตาโดยตรงอาจจะทำให้มองไม่เห็นประมาณ 2-3 นาที[10]
  • การรับประทานพริกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้[9]
  • สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาขี้ผึ้งทาถูนวดได้[2],[9],[10]
  • สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาธาตุ ยาแก้ปวดท้องได้[2],[9],[10]
  • ยอดและใบอ่อน ช่วยในการบำรุงประสาทและบำรุงกระดูก[6]
  • ยอดและใบอ่อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงอ่อม ทอดกับไข่[5]
  • เมล็ดอ่อนหรือเมล็ดแก่ สามารถนำไปปรุงรสเผ็ดในอาหาร เช่น ต้ม ลาบ น้ำพริกได้[5]
  • มีความนิยมนำมาใช้ในการปรุงรสชาติอาหารสำหรับคนไทย[3]

คุณค่าทางโภชนาการ

ปริมาณพริก100 กรัมให้ พลังงาน 76 กิโลแคลอรี [5],[10]

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
น้ำ 82 กรัม
โปรตีน 3.4 กรัม
ไขมัน 1.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม
ใยอาหาร 5.2 กรัม
วิตามินเอ 2,417 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.29 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินซี 44 มิลลิกรัม
แคลเซียม 4 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม

(ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย)

ข้อควรระวังในการรับประทาน

  • สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับประทานเผ็ด แล้วมารับประทานอาจจะทำให้ชักตาตั้งได้[9]
  • การรับประทานพริกมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้หน้าเป็นสิวได้[9]
  • หากผิวหนังถูกพริกอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนได้[9]
  • หากรับประทานพริกที่เผ็ดมากเข้าไป การดื่มนมตามจะช่วยลดความเผ็ดลงได้ เนื่องจากน้ำนมจะมีสาร Casein ที่ช่วยละลายความเผ็ด[8]
  • ผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และผู้ที่เป็นวัณโรคหรือริดสีดวงทวาร ไม่ควรรับประทานพริก[4]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “พริกขี้หนู”. หน้า 113-114.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พริกขี้หนู Cayenne Pepper”. หน้า 72.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พริกขี้หนู”. หน้า 535-538.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “พริก”. หน้า 368.
5. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “พริกขี้หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [26 ส.ค. 2014].
6. สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๑๘, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่). “พริกขี้หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.oocities.org/thaimedicinecm/. [26 ส.ค. 2014].
7. ไทยเกษตรศาสตร์. “พริกขี้หนู สรรพคุณทางยา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [26 ส.ค. 2014].
8. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “ไผ่และพริก”. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2546. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [26 ส.ค. 2014].
9. หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 452, วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2552. “เจาะตลาด”. (ประสิทธิ์ศิลป์ ชัยยะวัฒนะโยธิน).
10. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 305 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก. (ดร.พัชราณี ภวัตกุล). “พริกขี้หนู กับปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจและหลอดเลือด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [26 ส.ค. 2014].
11. หนังสืออาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. (จำลองลักษณ์ หุ้นชิ้น, จิรนาฏ วีรชัยพิเชษฐ์กุล, รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์, อภิสิทธิ์ ประสงค์สุข). “พริกขี้หนู”.

รูปอ้างอิง
https://medthai.com/