มะปราง
มะปราง (Plum mango) มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย ซึ่งจะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Bouea macrophylla Griff. อยู่ในวงศ์มะม่วง ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะผาง ปราง บักปราง ต้นมีลักษณะค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก จะมีรากแก้วแข็งแรง กิ่งก้านสาขาจะค่อนข้างทึบ ลำต้นสูง 15-30 เมตร
ลักษณะของ
- ต้น ลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างเป็นทรงกระบอก เนื่องจากแตกกิ่งในระดับต่ำ จำนวนกิ่งมาก โดยเฉพาะกิ่งแขนงที่แตกออกจากกิ่งหลัก และกิ่งมีใบติดตลอดจนถึงเรือนยอด ลำต้นมีความสูงในช่วง 15-30 เมตร เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ออกสีเหลืองส้มหรือเหลืองแดง เปลือกลำต้นมียาง
- ใบ คล้ายกับใบมะม่วงแต่เล็กกว่า ใบเรียวยาว สีเขียว ที่ขอบใบจะเรียบ ส่วนที่แผ่นใบจะเหนียว สามารถเห็นเส้นใบได้ชัด ใบอ่อนจะเป็นสีม่วงแดง มีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร
- ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกที่บริเวณปลายกิ่งแขนง เมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลือง เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร
- ผล คล้ายรูปไข่และกลม ที่ปลายจะเรียวแหลม 1 ช่อ จะมีผลประมาณ 1-15 ผล ผลดิบจะเป็นสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ผลสุกจะเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม เปลือกจะนิ่ม เนื้อด้านในจะเป็นสีเหลืองแดงส้มออกแดงจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ มีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวจัด ภายในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ดมีลักษณะคล้ายเมล็ดของมะม่วง
พืชตระกูลมะปราง
- มะยงห่าง ภายนอกจะคล้ายมะยงชิด ที่ต่างกันคือรสชาติ มะยงห่างรสจะเปรี้ยวมากมีรสหวานเล็กน้อย มะยงห่างไม่ค่อยนิยมปลูกเพื่อการค้า
- มะปรางเปรี้ยว มีรสเปรี้ยวทั้งผลดิบและผลสุก เหมาะกับการนำไปแปรรูปมากกว่าการนำมาทานสด อย่างเช่น ดอง แช่อิ่ม น้ำผลไม้ เป็นต้น
- กาวาง ภายนอกคล้ายกับมะยงชิดกับมะยงห่าง ที่ต่างคือมีกาวางมีรสเปรี้ยวใกล้เคียงกับมะดัน ที่มาของชื่อกาวาง มีเรื่องเล่าว่า มีนกกาหิวโซบินมาเห็นผลไม้ชนิดนี้สีเหลืองสวย เมื่อลองจิกเพื่อลิ้มรสชาติก็ต้องวางแล้วบินหนีไปทันที เป็นที่มาของชื่อ “กาวาง”
- มะปรางหวาน ผลดิบกับผลสุกมีรสชาติหวานสนิท ความหวานจะแตกต่างกัน หวานมากหรือหวานน้อย เมื่อทานอาจทำให้ไอระคายคอ คันคอ ถ้ามีรสชาติหวานสนิท
- มะยงชิด มีรสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียว ขนาดมีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร มะยงชิดมีรสชาติหวานมากกว่าเปรี้ยว ผลดิบมีรสมัน ผลสุกจะมีรสออกหวาน เนื้อจะค่อนข้างแข็ง เปลือกหนา (ถ้ารสเปรี้ยวมากกว่าหวาน จะเรียกว่า “มะยงห่าง”)
มะยงชิดและมะปรางกันอย่างไร
- ผลดิบจะมีรสมัน ส่วนมะยงชิดผลดิบจะมีรสเปรี้ยวจัด
- ผลดิบเป็นสีเขียวออกซีด ส่วนมะยงชิดผลดิบจะเป็นสีเขียวจัดกว่า
- ผลมีขนาดเล็กกว่ามะยงชิด
- ผลสุกจะมีรสชาติหวานมาก ส่วนมะยงชิดผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
- ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนมะยงชิดจะเป็นสีเหลืองแกมส้ม
- บางสายพันธุ์เมื่อทานอาจจะทำให้คันหรือระคายคอ ส่วนมะยงชิดเมื่อทานจะไม่มีอาการคันหรือระคายคอ
ประโยชน์ของมะปราง
- ผลสุกสามารถทานเป็นผลไม้ หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม นำไปกวน ทานผลดิบกับน้ำปลาหวาน กะปิหวาน หรือนำไปดอง แช่อิ่ม
- สามารถใช้ใบทำเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะได้
- สามารถแก้น้ำลายเหนียวได้
- สามารถช่วยฟอกโลหิตได้
- มีแคลเซียม, ฟอสฟอรัส สามารถช่วยบำรุงกระดูกกับฟันได้
- สามารถช่วยป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดัน
- มีวิตามินซีกับเบตาแคโรทีนสูง
- เหมาะกับคนธาตุดิน หรือผู้ที่เกิดราศีพฤษภ ราศีกันย์ ราศีมังกร ผู้เกิดธาตุนี้มักเสี่ยงโรคความอ้วน ความดัน เบาหวาน โรคทางเดินหายใจ
- สามารถใช้น้ำจากต้นเป็นยาอมกลั้วคอได้
- ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้อาการไข้กลับและถอนพิษสำแดงได้
- สามารถแก้เสลดหางวัวได้
- สามารถป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้
- มีวิตามินสูง สามารถช่วยบำรุงและช่วยรักษาสายตาได้
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัมให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณที่ได้รับ |
วิตามินบี 1 | 0.11 มิลลิกรัม |
วิตามินบี 2 | 0.05 มิลลิกรัม |
วิตามินบี 3 | 0.5 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 100 มิลลิกรัม |
โปรตีน | 0.4 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 11.3 กรัม |
เส้นใย | 1.5 กรัม |
เบตาแคโรทีน | 230 ไมโครกรัม |
ธาตุฟอสฟอรัส | 4 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 0.3 มิลลิกรัม |
ธาตุแคลเซียม | 9 มิลลิกรัม |
ข้อมูลจาก หนังสือคัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หนังสือเภสัชกรรมไทยฯ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), หนังสือคัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว