ถั่วลันเตา
ถั่วลันเตา เป็นผักที่คนทั่วโลกรู้จักกันและอยู่ในเมนูอาหารเป็นประจำ ถือเป็นผักที่เรามักจะพบในชีวิตประจำวัน มีการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารมานานหลายพันปี เป็นพืชผักที่ขาดไม่ได้ในอาหารจีน ส่วนที่นำมาใช้ทานมักจะเป็นส่วนของเมล็ดและฝัก เป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูงและยังมีไขมันต่ำ รับประทานง่ายเพราะมีรสชาติหวานอร่อย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบทานผัก ปัจจุบันมีการนำถั่วลันเตามาแปรรูปเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย
[/vc_column_text]
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของถั่วลันเตา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sugar pea” “Sweet peas” “Garden pea” “Pea”
ชื่อท้องถิ่น : คนไทยเรียกว่า “ถั่วลันเตาเปลือกหนา ถั่วหวาน ถั่วแขก ถั่วลันเตา” พายัพเรียกว่า “ถั่วน้อย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ลักษณะของถั่วลันเตา
ถั่วลันเตา เป็นพืชผักที่มีเถาเลื้อย พืชฤดูเดียว เป็นพืชที่ชอบอากาศเย็นจึงปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาว ถั่วลันเตามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 เป็นฝักเหนียว ซึ่งนิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานเมล็ด ประเภทที่ 2 ปลูกไว้เพื่อรับประทานเฉพาะฝักสด
ลำต้น : ลำต้นเล็กและเป็นเหลี่ยม
ราก : เป็นระบบรากแก้ว
ใบ : เป็นใบแบบสลับ ใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายใบเปลี่ยนเป็นมือเกาะเลื้อย
ดอก : เป็นดอกสมบูรณ์เพศ แบบผสมตัวเอง ดอกมีทั้งสีขาวและสีม่วง แล้วแต่สายพันธุ์
ฝัก : ลักษณะคล้ายถั่วแปบ ฝักยาววงรีมีสีเขียวสด ภายในฝักมีเมล็ดลักษณะกลมสีเขียวอยู่ประมาณ 2 – 4 เมล็ด หรือที่เรียกว่า “เมล็ดถั่วลันเตา”
สรรพคุณของถั่วลันเตา
- สรรพคุณจากถั่วลันเตา ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันอาการขี้หลงขี้ลืม ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด ช่วยถอนพิษ ช่วยแก้เป็นตะคริว แก้อาการเหน็บชา ช่วยเพิ่มน้ำนมของสตรี มีฤทธิ์เป็นยาคุมกำเนิด ช่วยยับยั้งคอหอยพอก ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
- สรรพคุณจากยอดของถั่วลันเตา ช่วยในการบำรุงสายตาและผิวพรรณ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- สรรพคุณจากฝัก บำรุงตับ
– บำบัดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำ ด้วยการนำฝักอ่อนสดมาล้างน้ำให้สะอาดและนำไปต้มจนสุก ใช้ทานเป็นประจำ
– ช่วยรักษาโรคหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการนำทั้งฝักมาล้างน้ำสะอาด นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น - สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยบำรุงไขมัน ช่วยซักตับหรือทำให้ตับสะอาดและแข็งแรง ช่วยบำรุงเส้นเอ็น
- สรรพคุณจากเถา ช่วยซักตับหรือทำให้ตับสะอาดและแข็งแรง
– รักษาโรคตับพิการ รักษาโรคตับทรุด ตับติดเชื้อ อาการผิดปกติในตับ ช่วยบำรุงตับ ด้วยการนำเถาถั่วลันเตามาต้มกับน้ำดื่ม - สรรพคุณจากซุปถั่วลันเตา
– ช่วยให้อาการทุเลาลง ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยจับสารพิษก่อโรค ช่วยเพิ่มการดูดซึมอาหารให้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาอาการของโรคไอบีเอส (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคลำไส้แปรปรวน ด้วยการนำมาทำเป็นน้ำปั่นดื่ม แต่ต้องเป็นน้ำถั่วลันเตาที่นำไปต้มแล้วเสิร์ฟแบบอุ่น พร้อมทั้งเติมผลกระวานและขิงเข้าไปด้วยพอให้ออกรสร้อน
ประโยชน์ของถั่วลันเตา
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร เป็นผักที่นิยมใช้ในอาหารจีนประเภทผัดผัก ใช้เป็นส่วนประกอบในเบเกอรี่ ฝักถั่วที่ยังอ่อนอยู่นำมาใช้ปรุงอาหารด้วยการนำไปผัดกับหมู ใช้ลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ทำเป็นแกงแคร่วมกับผักต่าง ๆ
2. เป็นอาหารของเด็กและผู้ป่วย ถั่วลันเตามีโปรตีนสูงและมีความหวาน เด็กอาจจะชอบเพราะความหวาน และยังใช้น้ำถั่วลันเตาเพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติทางด้านโภชนาการ หรือขาดสารอาหาร ผอมแห้ง รวมไปถึงเด็กที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็นหืนและค่อนข้างเหนียว ซุปถั่วลันเตาช่วยให้อาการทุเลาลงหรือหายไปได้
3. แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า เมล็ดถั่วลันเตาสามารถนำไปต้มดองหรือทำเป็นถั่วกระป๋องขาย แปรรูปเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ผักแช่แข็ง นำไปต้ม คั่ว หรืออบกรอบกับเกลือเป็นขนมขบเคี้ยว
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลันเตา
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลันเตา ต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 81 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหาร |
คาร์โบไฮเดรต | 14.45 กรัม |
น้ำตาล | 5.67 กรัม |
เส้นใย | 5.1 กรัม |
ไขมัน | 0.4 กรัม |
โปรตีน | 5.42 กรัม |
วิตามินเอ | 38 ไมโครกรัม (5%) |
เบตาแคโรทีน | 449 ไมโครกรัม (4%) |
ลูทีนและซีแซนทีน | 2,477 ไมโครกรัม |
วิตามินบี1 | 0.266 มิลลิกรัม (23%) |
วิตามินบี2 | 0.132 มิลลิกรัม (11%) |
วิตามินบี3 | 2.09 มิลลิกรัม (14%) |
วิตามินบี6 | 0.169 มิลลิกรัม (13%) |
วิตามินบี9 | 65 ไมโครกรัม (16%) |
วิตามินซี | 40 มิลลิกรัม (48%) |
วิตามินอี | 0.13 มิลลิกรัม (1%) |
วิตามินเค | 24.8 ไมโครกรัม (24%) |
ธาตุแคลเซียม | 25 มิลลิกรัม (3%) |
ธาตุเหล็ก | 1.47 มิลลิกรัม (11%) |
ธาตุแมกนีเซียม | 33 มิลลิกรัม (9%) |
ธาตุแมงกานีส | 0.41 มิลลิกรัม (20%) |
ธาตุฟอสฟอรัส | 108 มิลลิกรัม (15%) |
ธาตุโพแทสเซียม | 244 มิลลิกรัม (5%) |
ธาตุโซเดียม | 5 มิลลิกรัม (10%) |
ธาตุสังกะสี | 1.24 มิลลิกรัม (13%) |
ถั่วลันเตา นอกจากจะมีเส้นใยอาหารสูงแล้ว ยังมีไขมันต่ำ และอยู่ในรูปของไขมันไม่อิ่มตัว ดังนั้นการรับประทานเป็นประจำจึงไม่มีผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด และยังมีโปรตีนสูงกว่าพืชผักทั่วไปด้วย เป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่การนำมาประกอบอาหารประเภทผัดควรผัดด้วยไฟแรงอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้คุณค่าทางอาหารสูญหายไปมาก ถั่วลันเตามีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันอาการขี้หลงขี้ลืม บำรุงตับ รักษาโรคหัวและโรคเบาหวานได้
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร (เกตุอร ทองเครือ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agrimedia.agritech.doae.go.th. [20 ต.ค. 2013].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). “ปฏิรูปอาหารปลอดภัย“, “ยูริกในร่างกายสูงเสี่ยงหูมีปัญหา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [20 ต.ค. 2013].
ชีวจิต. อ้างอิงใน: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 208 (1 มิ.ย. 2550). “มหัศจรรย์พลังของถั่ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.cheewajit.com. [20 ต.ค. 2013].
สมุนไพรดอตคอม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [20 ต.ค. 2013].
บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร (วันจันทร์ที่ 14 เมษายน 2546). ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยา ตอนถั่วพูและถั่วลันเตา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [20 ต.ค. 2013].
Oknation. “อยากฉลาดต้องถั่วลันเตา”. อ้างอิงใน: นิตยสาร Spicy. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.oknation.net. [20 ต.ค. 2013].
สมาคมหมออนามัย. อ้างอิงใน: เภสัชโภชนา (ภก.สรจักร ศิริบริรักษ์). “น้ำถั่วลันเตา ละลายลิ่มเลือด“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.mohanamai.com. [20 ต.ค. 2013].
GotoKnow. “ถั่วลันเตาผัดน้ำมันมะพร้าวแครอท เมล็ดและเถา สมุนไพรเป็นยา ซักตับ แก้ตับทรุด ตับพิการ บำรุงเส้นเอ็น ลดคอเลสเตอรอล. อ้างอิงใน: หนังสือเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด (ภก.จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org. [20 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/