ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว เป็นพืชผลที่คนทั่วไปนิยมนำมาทานกันอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและในเอเชียกลาง สามารถนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย นอกจากการนำมาปรุงอาหารแล้วนั้น ยังใช้เป็นสครับถั่วเขียวเพื่อบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ขึ้นว่าถั่วต้องอุดมไปด้วยวิตามินบีมากมาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นอาหารของผู้สูงอายุและคนรักสุขภาพทั่วไป

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของถั่วเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna radiata (L.) R.Wilczek
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Mung bean” “Mung” “Moong bean” “Green bean” “Green gram” “Golden gram”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ถั่วเขียว ถั่วทอง” ภาคเหนือเรียกว่า “ถั่วมุม” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ถั่วจิม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Phaseolus aureus Roxb., Phaseolus radiatus L.

ลักษณะของถั่วเขียว

ถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกอายุราวหนึ่งปี
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม แตกแขนงที่โคนและส่วนกลาง ลำต้นที่อยู่เหนือใบเลี้ยงจะค่อนข้างเป็นเหลี่ยมและมีขนอ่อนปกคลุม
ใบ : ใบจริงคู่แรกเป็นใบเดี่ยวเกิดตรงข้ามกัน ถัดไปทั้งหมดเป็นใบจริง ใบย่อย 3 ใบ ฐานก้านใบมีหูใบ 2 อัน ลักษณะของใบคล้ายรูปไข่จนถึงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามมุมใบ ช่อดอกเป็นแบบกระจะ ในช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 – 25 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีม่วง มี 5 กลีบ เกสรตัวเมียมีรังไข่ยาววงรี
ฝัก : มีรูปร่างกลมยาว ปลายฝักอาจโค้งงอเล็กน้อย เมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวนวล สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ ขึ้นกับสายพันธุ์ ฝักหนึ่งมีเมล็ด 10 – 15 เมล็ด
เมล็ด : ตาเมล็ดหรือรอยแผลเรียกไฮลัม (Hilum) มีสีขาว เยื่อหุ้มเมล็ดมีหลายสี เช่น สีเขียว เหลือง น้ำตาล ดำ หรือแดง ผิวของเมล็ดอาจจะมันหรือด้าน

สรรพคุณของถั่วเขียว

  • สรรพคุณด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง ดีต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  • สรรพคุณป้องกันโรค ต้านมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันเบาหวาน ช่วยรักษาคางทูมที่เป็นใหม่ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ แก้โรคท้องมาน ป้องกันโรคเหน็บชา
  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและรักษาไข้หวัด ช่วยถอนพิษในร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ ให้พลังงานแก่ร่างกาย
  • สรรพคุณด้านระบบเผาผลาญ ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน
  • สรรพคุณด้านเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด สร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหาร ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • สรรพคุณด้านไขมัน ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำหนัก
  • สรรพคุณด้านอวัยวะ ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของหัวใจและม้าม ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ
  • สรรพคุณด้านกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
  • สรรพคุณด้านบรรเทาอาการ ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้พิษในฤดูร้อน ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม แก้อาการขัดข้อ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู
  • สรรพคุณด้านระบบประสาท ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยบำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ ช่วยแก้อาการตาพร่า แก้ตาอักเสบ
  • สรรพคุณด้านระบบขับถ่าย ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยทำความสะอาดของร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่งผลดีต่อระบบลำไส้โดยรวม เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง
  • สรรพคุณต่อหญิงตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก ป้องกันคลอดบุตรยาก
  • สรรพคุณด้านความงาม รักษาและสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ผิวหนัง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ปกป้องผิวจากความเสียหายที่เกิดจากมลภาวะ แก้สิวฝ้าเนื่องจากความร้อนในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดสิวและทำให้สิวลดลง ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของผิว ลดเลือนจุดด่างดำหรือรอยแผลสิว

ประโยชน์ของถั่วเขียว

1. เป็นอาหารของคนรักสุขภาพ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คนลดน้ำหนัก เนื่องจากโปรตีนจากถั่วเขียวมีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย และวุ้นเส้นที่ผลิตมาจากถั่วเขียวมีคุณสมบัติการตอบสนองต่อน้ำตาลในเลือดต่ำ
2. เป็นส่วนประกอบของอาหาร เมล็ดเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ ใช้ทำแป้งถั่วเขียว ทำวุ้นเส้น ทำซาหริ่ม หรือทำเป็นขนมต่าง ๆ เช่น ถั่วกวน เต้าส่วน ฝักถั่วเขียวที่เกือบแก่นำมาต้มกินได้
3. ใช้ในการเกษตร ลำต้นและเปลือกช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ต้นถั่วเขียวที่เก็บฝักแล้วนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ นำมาใช้เพาะถั่วงอก กากถั่วเขียวเหลือจากโรงงานวุ้นเส้นนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์หรือใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้
4. ใช้ในด้านความงาม ทำเป็นสครับถั่วเขียว ลดเลือนจุดด่างดำ หรือรอยแผลสิว ใช้พอกหน้า ขัดหน้า ขัดตัว

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม
น้ำตาล 6.6 กรัม
เส้นใย 16.3 กรัม
ไขมัน 1.15 กรัม
โปรตีน 23.86 กรัม
วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม (54%)
วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม (19%)
วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม (15%)
วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม (38%)
วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม (29%)
วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม (156%)
วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม (6%)
วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินเค 9 ไมโครกรัม (9%)
ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม (13%)
ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม (52%)
ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม (53%)
ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม (49%)
ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม (52%)
ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม (27%) 
ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม (28%)

คุณค่าทางโภชนาการถั่วเขียวต้ม

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม
น้ำ 72.66 กรัม
น้ำตาล 2 กรัม
เส้นใย 7.6 กรัม
ไขมัน 1.15 กรัม
โปรตีน 7.02 กรัม
วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม (14%)
วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม (5%) 
วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม (40%)
วิตามินซี 1 มิลลิกรัม (1%) 
วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม (1%)
วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม (3%)
ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม (3%)
ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม (11%)
ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม (14%)
ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม (14%)
ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม (14%)
ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม (6%) 
ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม (9%)

ถั่วเขียว เป็นพืชผักที่คนทั่วไปนิยมนำมากัน โดยเฉพาะบุคคลที่รักสุขภาพ ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ผู้สูงอายุและผู้ที่ลดน้ำหนัก เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุสูง แถมยังมีโปรตีนที่ช่วยทดแทนเนื้อสัตว์ได้ด้วย ถั่วเขียวมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของผิว บำรุงประสาทและสมอง ต้านมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันเบาหวาน บำรุงสายตา ช่วยบำรุงตับและช่วยแก้อาการไตอักเสบได้ เป็นอาหารที่ไม่ควรมองข้ามเลยจริง ๆ

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org/wiki/Mung_bean. [23 ต.ค. 2013].
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [23 ต.ค. 2013].
ชีวจิต. อ้างอิงใน: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 208 (1 มิ.ย. 2550). “มหัศจรรย์พลังของถั่ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.cheewajit.com. [23 ต.ค. 2013].
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อ้างอิงใน: สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. “ถั่วเขียวผิวมันและถั่วเขียวผิวดำ“. นางนันทวรรณ สโรบล (นักวิชาการเกษตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ag-ebook.lib.ku.ac.th. [23 ต.ค. 2013].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [23 ต.ค. 2013].
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. “Mung bean / ถั่วเขียว“. (ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณดร.นิธิยา รัตนาปนนท์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.foodnetworksolution.com. [23 ต.ค. 2013].
จำรัส เซ็นนิล. “ถั่วเขียวบำรุงผิวพรรณ ดูดจับไขมัน ลดรอยเหี่ยวย่น“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [23 ต.ค. 2013].
สมุนไพรดอตคอม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [23 ต.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [23 ต.ค. 2013].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 233 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ถั่วเขียว คุณค่าสีเขียวจากธรรมชาติ“. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [20 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/