

เบญกานี
เบญกานี เป็นสมุนไพรในตำรับยาไทย มีลักษณะ กลม แข็ง รสฝาด ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีความหมายว่า ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ ที่เกิดตามใบของไม้ เกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด Cynips tinctoria ชื่อวิทยาศาสตร์ Quercus infectoria G.Olivier จัดอยู่ในวงศ์ก่อ (FAGACEAE)[1],[2] มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ลูกเบญกานี, ลูกเบญจกานี, หมดเจียะจี้ (จีนแต้จิ๋ว), หม้อสือจื่อ (จีนกลาง)[1],[2]
ลักษณะของเบญกานี[1]
- เป็นรังของผึ้งชนิด Quercus infectoria G.Olivier
- ข้อมูลจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานระบุว่าเกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด Cynips tinctoria
- โดยผึ้งชนิดนี้จะเข้าไปวางไข่บนต้น Quercus infectoria G.Olivier
- เมื่อผึ้งเจริญเติบโตเต็มที่จนเป็นผึ้งสมบูรณ์แล้วก็จะบินออกจากรังไปและทิ้งรังไว้
- รังผึ้งชนิดนี้ถูกนำมาทำเป็นยา
- เป็นก้อนแข็งค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอมเทา
- ด้านหนึ่งจะมีขั้วลักษณะคล้ายกับจุกขนาดเล็ก
- ผิวขรุขระมันเงา มีรูพรุนเข้าไปข้างในได้
- มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2.5 เซนติเมตร
- บางครั้งพบซากของตัวอ่อนอยู่ภายใน
- ต้นไม้ชนิดนี้จะพบได้ที่ประเทศอิหร่าน ตุรกี และประเทศกรีก
ข้อควรระวัง[1]
- สำหรับผู้ที่เป็นบิดถ่ายแล้วมีอาการแสบร้อน และผู้ที่มีอาการท้องผูก ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- พบสาร Turkish gallotannin ประมาณ 50-70%, สาร Gallic acid, Tannic acid และพบยางอีกเล็กน้อย เป็นต้น[1]
สรรพคุณของลูกเบญกานี
- ช่วยแก้อาการปวดมดลูก[4]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้น้ำอสุจิเคลื่อนโดยไม่รู้ตัวได้[1]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาห้ามเลือดภายใน แก้อาการตกเลือดได้[1],[2]
- ช่วยแก้บิดปวดเบ่ง[1],[4]
- ช่วยแก้อาเจียน[4]
- ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย[3]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วง ท้องเสียได้[1],[3],[4]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ลิ้นเป็นฝ้าได้[3]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด หลอดลมอักเสบ[1]
- สามารถนำมาใช้แก้อาการปวดฟันได้[1]
- ช่วยรักษาปากหรือลิ้นเป็นแผล[1]
- ช่วยแก้ปากเป็นแผล แก้ละอง[3]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “เบญจกานี”. หน้า 312.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เบญกานี Nutgall”. หน้า 213.
3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ.
4. ตำรับยา ตำราไทย. “สรรพคุณยาเภสัช”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thrai.sci.ku.ac.th. [31 ก.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.indiamart.com/
2. https://herbistha.com/