ข่าตาแดง ช่วยขับเลือดเน่าและรักษาบาดทะยักในมดลูก ดีต่อลมในร่างกาย
ข่าตาแดง เป็นข่าที่มีกลิ่นหอมฉุนมากกว่าข่าทั่วไป ช่อดอกสีขาวแต้มสีแดง หน่อจะมีสีแดงจัด

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง (Alpinia officinarum Hance) เป็นข่าชนิดหนึ่งที่มีสีแดงจัดจึงเป็นที่มาของชื่อ “ตาแดง” มีหัวที่มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนข่าทั่วไป นอกจากนั้นต้นยังมีช่อดอกสีขาวแต้มสีแดงอย่างสวยงาม และที่สำคัญหน่อนั้นสามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบอาหารได้ ข่าตาแดงยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรต่อร่างกายอีกด้วย โดยเฉพาะส่วนของหน่อหรือหัวที่อุดมไปด้วยสรรพคุณและยังมีความโดดเด่นจากสีที่มีสีแดงจัดอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของข่าตาแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia officinarum Hance
ชื่อท้องถิ่น : คนไทยเรียกว่า “ข่าเล็ก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ชื่อพ้อง : Languas officinarum (Hance) Farw., Languas officinarum (Hance) P.H.Hô

ลักษณะของข่าตาแดง

ข่าตาแดง เป็นพรรณไม้ลงหัวชนิดหนึ่ง
ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย มักจะออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวแต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย
หน่อ : เมื่อแตกหน่อ หน่อจะมีสีแดงจัดซึ่งเรียกว่า “ตาแดง” มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

สรรพคุณของข่าตาแดง

  • สรรพคุณจากหัว เป็นยาขับลมให้กระจายทั่วร่างกาย เป็นยาระบาย รักษาบาดทะยักปากมดลูกของสตรี บรรเทาอาการฟกช้ำบวม รักษาอาการพิษ รักษาอาการโลหิตเป็นพิษ
    – ขับโลหิตที่เน่าในมดลูกของสตรีและช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการนำหัวมาโขลกแล้วคั้นกับน้ำส้มมะขามเปียกและเกลือประมาณ 1 ชาม แกงเขื่อง ๆ ให้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่รับประทานให้หมด
  • สรรพคุณจากต้น รักษาบิดชนิดที่ตกเป็นเลือด
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาทารักษากลาก
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาทารักษาเกลื้อน

ประโยชน์ของข่าตาแดง

  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร หน่อสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้

ข่าตาแดง เป็นต้นที่มีหัวสีแดงสดและมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร รวมถึงเป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้ ถือเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย ข่าตาแดงเป็นพืชวงศ์ขิงที่มีรสหอมฉุนและมีกลิ่น เป็นต้นที่มีสรรพคุณจากหลายส่วนโดยเฉพาะส่วนหัวหรือหน่อ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษากลากและเกลื้อน เป็นยาระบาย ดีต่อลมในร่างกายและดีต่อมดลูกของสตรี เป็นต้นที่เหมาะสำหรับผู้หญิงเพิ่งคลอดหรือผู้ที่มีลมในร่างกายผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ข่าตาแดง”. หน้า 105 – 106.