ต้นการบูร
ผงเป็นเกล็ดกลมสีขาว มีรสปร่าเมา ดอกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นสีขาวอมเหลือง ผลเป็นรูปไข่หรือจะกลมมีเนื้อ ผลสุกเป็นสีดำ

ต้นการบูร

การบูร คือ ผลึกที่แทรกในเนื้อไม้มีอยู่ทั่วต้น มักอยู่ที่ตามรอยแตก มีเยอะที่สุดในแก่นของราก และรองลงมานั่นก็คือแก่นของต้น ส่วนที่ใกล้โคนต้นมีมากกว่าส่วนที่เหนือขึ้นมา ในใบกับยอดอ่อนจะมีอยู่ไม่มาก ต้นจะมีในใบอ่อนน้อยกว่าใบแก่ ผงเป็นเกล็ดกลม มีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นสีขาว แห้ง อาจจะจับเป็นก้อนร่วน สามารถแตกได้ง่าย ถ้าทิ้งเอาไว้ในอากาศก็จะระเหิดไปหมด จะมีรสปร่าเมา[2][4] ชื่อสามัญ Formosan camphor, Camphor, Laurel camphor, Gum camphor ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl[1],[5],[6] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.[1]) อยู่วงศ์อบเชย (LAURACEAE)[1],[4] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น จางหน่าว (จีนกลาง), พรมเส็ง (เงี้ยว), การบูร (ภาคกลาง), จางมู่ (จีนกลาง), เจียโล่ (จีนแต้จิ๋ว)การะบูน (ภาคกลาง), อบเชยญวน (ไทย)[1],[3],[4],[6]

ลักษณะของต้นการบูร

  • ต้น เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น มีเขตกระจายพันธุ์ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สหรัฐอเมริกา จาไมกา อียิปต์ อินโดนีเซีย ไทย บราซิล แอฟริกาใต้ อินเดีย เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มกว้าง ทึบ ต้นสูงได้ถึงประมาณ 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ผิวมีลักษณะหยาบ เปลือกกิ่งมีลักษณะเป็นสีเขียว สีน้ำตาลอ่อน ลำต้นกับกิ่งจะเรียบ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนสีแดง ถ้านำมากลั่นแล้วก็จะได้ ทุกส่วนจะมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะส่วนรากและโคนต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ[1],[8]
  • ใบ ใบจะออกเรียงสลับ จะเป็นรูปรี รูปรีแกมรูปไข่ ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนที่โคนใบจะป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือจะเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 5.5-15 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะค่อนข้างเหนียว ที่หลังใบจะเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ที่ท้องใบจะเป็นสีเขียวอมสีเทาหรือนวล จะไม่มีขน มีเส้นใบขึ้นตรงจากที่โคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แยกเป็น 3 เส้น ที่ตรงมุมจะมีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อมอยู่ 2 ต่อม และที่ตามเส้นกลางใบอาจจะมีต่อมขึ้นที่ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออก ก้านใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร จะไม่มีขนขึ้น ที่ตาใบจะมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมกัน เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นไปในตามลำดับ ถ้าขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม [1]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกดอกเป็นกระจุกที่ตามง่ามใบ มีดอกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นสีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว มีก้านดอกย่อยที่สั้นมาก มีกลีบดอกรวม 6 กลีบ จะเรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ เป็นรูปรี ที่ปลายจะมน ด้านนอกจะเกลี้ยง ด้านในจะมีขนละเอียด มีเกสรเพศผู้ 9 ก้าน เรียงเป็นวง 3 วง วงละ 3 ก้าน อับเรณูของวงที่1 กับวงที่ 2 จะหันหน้าเข้าด้านใน ที่ก้านเกสรมีขน วงที่ 3 หันหน้าออกด้านนอก มีก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อมอยู่ 2 ต่อม อยู่ใกล้กับบริเวณก้าน ต่อมเป็นรูปไข่กว้าง มีก้าน อับเรณูมีช่องเปิด 4 ช่อง จะเรียงเป็น 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิด 4 ช่อง เกสรเพศผู้จะเป็นหมันมีก้านอยู่ 3 ก้าน จะอยู่ที่ด้านในสุด มีลักษณะคล้ายกับหัวลูกศร มีขน ไม่มีต่อม รังไข่มีลักษณะเป็นรูปไข่ จะไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร จะไม่มีขน ที่ปลายเกสรเพศเมียจะกลม ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนและนุ่มขึ้น ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม[1]
  • ผล ผลเป็นรูปไข่หรือจะกลม เป็นผลแบบมีเนื้อ ผลมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้มยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร ผลสุกเป็นสีดำ ผลจะมีฐานดอกซึ่งโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล มีเมล็ดอยู่ในผล 1 เมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นการบูร

1. สามารถช่วยแก้อาการชักบางประเภท แก้กระตุก และเส้นสะดุ้งได้ [1],[2],[3],[4]
2. มีรสเผ็ดร้อนสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดได้ [7]
3. ช่วยรักษาโรคผิวหนังเรื้อรังได้ เกล็ดใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง[1],[2],[5],[7]
4. สามารถช่วยรักษากลากเกลื้อน[7]
5. สามารถช่วยแก้ผดผื่นคันได้ (เปลือกต้นและใบ)[6]
6. สามารถช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้[1],[2],[3],[4],[5]
7. สามารถช่วยขับน้ำเหลืองได้ [1],[2],[3],[4]
8. สามารถช่วยฆ่าพยาธิในท้อง และสามารถใช้ทะลวงทวารที่บริเวณใบหน้าได้ [7]
9. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาแก้อาการปวดท้องน้อยได้ (เมล็ด)[6]
10. สามารถช่วยแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบได้ (เมล็ด)[6]
11. สามารถช่วยขับความชื้นในร่างกายได้ [7]
12. สามารถช่วยขับลมชื้นได้ (ราก, กิ่ง)[6]
13. สามารถช่วยแก้ไอได้ [9]
14. สามารถช่วยการขับเหงื่อได้ (ผลึก, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
15. สามารถช่วยแก้โรคตาได้ (การบูร)[1],[2],[3],[4]
16. สามารถใช้เป็นยาระงับประสาทได้ (การบูร)[1],[2]
17. สามารถช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้ (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
18. สามารถช่วยแก้ธาตุพิการได้ [9]
19. สามารถช่วยคุมธาตุได้ (เมล็ดใน, เปลือกต้น)[9]
20. ถ้านำมาผสมเป็นขี้ผึ้งจะเป็นยาร้อน สามารถใช้ทาเป็นยาแก้ถอนพิษอักเสบเรื้อรัง โรคปวดผิวหนัง ทรวงอก ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ ปวดร้าวที่ตามเส้นเอ็น สะบักจมได้ [1],[2],[3],[4]
21. สามารถนำมาใช้เป็นยาทาถูนวดแก้ปวดเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ เคล็ดบวม แก้อาการปวด แก้อาการปวดขัดตามเส้นประสาท แก้อาการปวดตามข้อ ข้อเท้าแพลง แก้เคล็ดขัดยอก [1],[2],[3],[4],[5]
22. กิ่งกับรากสามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อยที่ตามร่างกาย แก้เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อยตามข้อมือข้อเท้าได้ (รากและกิ่ง)[6]
23. สามารถใช้เป็นยาช่วยระงับเชื้อแบบอ่อนได้ [1],[2]
24. สามารถใช้ใบ กับเปลือกต้น เป็นยารักษาแผลเรื้อรังเน่าเปื่อยที่บริเวณผิวหนังได้ (เปลือกต้นและใบ)[6]
25. เปลือกต้น มีรสฝาด สามารถใช้เป็นยาสมานแผลได้ (เปลือกต้น)[9]
26. สามารถช่วยบำรุงกำหนัดได้[1],[2],[3],[4]
27. สามารถช่วยแก้อาการท้องเสีย ที่เกิดจากกระเพาะเย็นชื้น ลำไส้เย็นชื้นได้ (การบูร)[7]
28. สามารถช่วยแก้อาการท้องร่วง และอาการปวดท้องได้ (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
29. สามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ และปวดท้องได้ [7]
30. สามารถช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (ราก, กิ่ง)[6]
31. เมล็ดในจะมีรสฝาด สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ปวดเบ่งได้ (เมล็ดใน)[9]
32. สามารถช่วยขับผายลม และช่วยแก้อาการจุกแน่นเฟ้อได้ ถ้าเอาเกล็ดการบูรมาทานไม่เยอะมาก จะสามารถช่วยขับลมได้ แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[4],[5],[7]
33. เมล็ด มีสรรพคุณที่สามารถแก้อาการท้องเฟ้อ ท้องอืดได้ (เมล็ด)[6]
34. กิ่งกับรากจะมีสรรพคุณที่สามารถแก้อาการลมขึ้น ท้องอืด จุกเสียดแน่นหน้าอก ท้องเฟ้อ (รากและกิ่ง)[6]
35. สามารถช่วยขับเสมหะ และทำลายเสมหะได้ (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
36. สามารถช่วยแก้ไข้หวัดได้ [1],[2]
37. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟันได้ [7]
38. สามารถช่วยแก้เลือดลมได้ [1],[2],[3],[4]
39. กิ่งกับรากของจะเป็นยาที่สามารถช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี (ราก, กิ่ง)[6]
40. มีสรรพคุณที่เป็นยากระตุ้นหัวใจ เป็นยาบำรุงหัวใจ [1],[2]

หมายเหตุ
– ถ้าใช้เปลือกต้นให้ใช้ภายนอกตามความต้องการ [6]
– กิ่งกับรากให้ใช้เป็นยาแห้งครั้งละ 15-30 กรัม[6]
– นำเกล็ดครั้งละ 2-5 มิลลิกรัม มาต้มกับน้ำทาน ถ้าใช้ภายนอกให้เอามาแช่เหล้าแล้วใช้ทาตรงบริเวณที่ต้องการ[7]

ประโยชน์ของต้นการบูร

1. ถ้านำมาวางในห้องหรือในตู้เสื้อผ้าจะช่วยไล่ยุง ไล่แมลง และสามารถเอามาผสมเป็นตัวดับกลิ่นอับในรองเท้าได้[2],[8]
2. สามารถช่วยแก้รอยผิวหนังแตกช่วงฤดูหนาวได้[2],[3],[4]
3. น้ำมันสามารถช่วยกระตุ้นความรู้สึก ทำให้จิตใจโล่งปลอดโปร่ง และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยทำให้ตื่นตัว และช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ เมาเรือ เมารถได้[8]
4. มีการใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม เช่น ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะกานพลู ยาประสะไพล ยาหอมเทพจิตร ยาธาตุอบเชย ยาประสะเจตพังคี ยามันทธาตุ ยาธาตุบรรจบ ยาหอมทิพโอสถ หรือใช้ทำพิมเสนน้ำ น้ำมันไพล ลูกประคบ[2],[9]
5. ใบกับกิ่งก้านสามารถใช้แต่งกลิ่นอาหาร ขนม อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ เครื่องดื่มโคคาโคลา แยม ข้าวหมกไก่ ไส้กรอก เหล้า เยลลี่ ลูกกวาด เบคอน และมีการใช้เป็นส่วนผสมในขนมเค้ก ผงกะหรี่ เครื่องพะโล้ คุกกี้ เครื่องแกงมัสมั่น ใช้แต่งกลิ่นยา และมีการใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทผักดอง ซอส [8]
6. มีการใช้เป็นยาชาเฉพาะที่[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ถ้านำเกล็ดมาใช้ทาผิวหน้าจะทำให้รู้สึกแสบร้อน ถ้าเอามาผสมเกล็ดสะระแหน่จะสามารถช่วยเพิ่มความรู้สึกเย็นได้[7]
  • พบน้ำมันระเหยโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6% ในราก กิ่ง ใบ มีสารอยู่ประมาณ 10-50% ในน้ำมันหอมระเหย และยังพบว่าต้นที่ยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่ จะพบสารมากตามไปด้วย พบสาร Carvacrol, Cadinene, Azulene, Safrol, Camphorene, Bisabolone [6]
  • ถ้านำเนื้อไม้มากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันหอมระเหยรวมกันประมาณ 1% ประกอบไปด้วย p-cymol, linalool, eugenol, caryophyllen, acetaldehyde, salvene, orthodene, limonene, cineole, betelphenol [1]
  • เกล็ดช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ซึ่งทำให้หัวใจบีบตัวและเต้นเร็วขึ้น ทำให้การหายใจถี่ยิ่งขึ้น[7]
  • มีฤทธิ์ที่สามารถฆ่าแมลง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้[2]
  • รากจะมีน้ำมันหอมระเหย 3% ประกอบด้วย safrole, piperiton, phellandene, fenochen, citronellol, carvacrol, camphene, azulene, terpineol, piperonylic acid, pinene, limonene, citronellic acid, cineol, camphor, cadinene และพบ camperol กับ camphor ในใบ[1]

ข้อควรระวังในการใช้ต้นการบูร

  • ถ้าทาน 7 กรัมขึ้นไปจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต[7]
  • ถ้าทาน 0.5-1 กรัม จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และภายในจะมีอาการแสบร้อนและอาจจะเกิดอาการเพ้อ[7]
  • ห้ามให้สตรีมีครรภ์ทาน[6]
  • ผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระแข็งแห้ง ปัสสาวะขัด ทาน[8]
  • ถ้าทานการบูร 2 กรัมขึ้นไปจะทำให้เกิดอันตราย เพราะจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง[7]
  • ห้ามใช้น้ำมันการบูรที่มีสีเหลือง สีน้ำตาล เนื่องจากมีความเป็นพิษ[8]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “การบูร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [12 เม.ย. 2014].
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “การบูร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [12 เม.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “การบูร”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 73.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “การะบูน , การบูร”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 60-62.
5. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “การบูร Camphor Tree”. หน้า 82.
6. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “การบูรต้น”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 72.
7. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เกล็ดการบูร (Camphor)”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 74.
8. ไทยเกษตรศาสตร์. “พันธุ์ไม้หอมที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [12 เม.ย. 2014].
9. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.kmitl.ac.th. [12 เม.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.naturalalchemy.com.au/
2. https://www.indiamart.com/