ต้นกูดพร้าว
เป็นเฟิร์นที่มีลำต้นตั้งตรง รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง

ต้นกูดพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyathea latebrosa (Wall. ex Hook.) Copel. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Alsophila latebrosa Wall. ex Hook., Dichorexia latebrosa (Wall. ex Hook.) C. Presl) จัดอยู่ในวงศ์ CYATHEACEAE[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กูดต้น (ภาคเหนือ), มหาสดำ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กูดพร้าว (เชียงใหม่)[1] บางแห่งเรียกว่า “กูดต้นดอยสุเทพ“

ลักษณะของกูดพร้าว

  • ต้น
    – เป็นเฟิร์นต้นที่มีลำต้นตั้งตรง
    – สูงได้ถึง 3-5 เมตร
    – ตามลำต้นมีเกล็ดขึ้นปกคลุม
    – มีรอยก้านใบที่หลุดร่วงไป
    – รากเป็นเส้นแข็งสีดำ
    – มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีนตอนใต้ กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
    – ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
    – สามารถพบขึ้นได้ตามไหล่เขาในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
    – ออกรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด
    – แกนกลางของใบประกอบไม่เรียบ
    – มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
    – ด้านบนมีขนและเกล็ดขึ้นประปราย
    – ก้านใบเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม
    – มีความยาวได้ 40 เซนติเมตร
    – มีหนามสั้น ๆ ที่โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นมัน
    – มีความกว้าง 1 มิลลิเมตร และยาว 2 เซนติเมตร
    – ด้านบนมีขน
    – กลุ่มใบย่อยถัดขึ้นมาจะเป็นรูปขอบขนานแคบ
    – ปลายเรียวแหลมและมีติ่งยาว มีความกว้าง 14 เซนติเมตร และยาว 40 เซนติเมตร
    – แกนกลุ่มใบย่อยมีเกล็ดแบนสีน้ำตาลทางด้านล่าง
    – ใบย่อยจะมีมากกว่า 25 คู่ เรียงห่างกัน 1.6 เซนติเมตร
    – ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก มีความกว้าง 1.7 เซนติเมตร และยาว 7 เซนติเมตร
    – ปลายเรียวแหลม
    – โคนกึ่งตัด
    – ขอบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย มีความกว้าง 3 มิลลิเมตร และยาว 1 เซนติเมตร ปลายมน
    – ขอบเรียบหรือจักเป็นฟันเลื่อย
    – เส้นกลางใบย่อยมีขนทางด้านบน
    – แผ่นใบบาง
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม
    – ผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน
    – เส้นใบแยกสาขาออกเป็นคู่ 7-8 คู่
    – ไม่มีก้านใบย่อย
  • สปอร์
    – กลุ่มอับสปอร์จะมีรูปร่างเกือบกลม
    – อยู่บนเส้นใบทั้งสองข้าง
    – จะอยู่ตรงเส้นกลางใบย่อย
    – เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เป็นเกล็ดเล็ก
    – อยู่ที่ฐานของกลุ่มอับสปอร์

สรรพคุณ และประโยชน์ของกูดพร้าว

  • แพทย์แผนชนบทจะนำเนื้อไม้ สามารถนำมาทำเป็นยาแก้ไข้ได้[2]
  • สามารถนำมาใช้ฝนเป็นยาทาแก้ฝีได้[2]
  • ช่วยแก้อักเสบ และแก้อาการบวม [2]
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กูด พร้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [27 ส.ค. 2015].
2. หนังสือคำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. (ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาศ ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์). “กูด พร้าว”. หน้า 519.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://www.flickr.com/