สะแก
สะแก มีเขตการกระจายพันธุ์จากประเทศอินเดียถึงคาบสมุทรอินโดจีน สามารถพบขึ้นได้ที่ตามป่าเต็งรัง ป่าละเมาะทั่วไป ริมธารน้ำชายป่า ที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 250 เมตร[7] ชื่อสามัญ Combretums, Bushwillows [6] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Combretum attenuatum Wall.) อยู่วงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1],[4],[6] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ แพ่ง (ภาคเหนือ), จองแข้ (จังหวัดแพร่), ขอนแข้ (จังหวัดแพร่), ซังแก (เขมร-ปราจีนบุรี), แก (ภาคอีสาน), ขอนแด่ (จังหวัดแพร่), แก (จังหวัดอุบลราชธานี) [1],[4],[5]
ลักษณะของสะแก
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีเทานวล กิ่งอ่อนจะเป็นสันสี่มุม มีขนเป็นเกล็ดกลมตามลำต้น มีหนามแหลมยาวแข็งที่โคนของต้น หรือจะเป็นกิ่งแปรสภาพเป็นหนามที่โคนของต้น เนื้อใบมีลักษณะเป็นมันและหนา ใบเป็นสีเขียวสด ที่ผิวใบของทั้งสองด้านจะมีเกล็ดเป็นสีเงิน ที่ผิวใบด้านบนจะสากมือ ก้านใบมีขนาดสั้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด เติบโตได้ดีในดินเหนียวที่มีความชุ่มชื้น ควรปลูกช่วงฤดูฝน[2],[4],[5],[8]
- ใบ เป็นใบเดี่ยว จะออกใบเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน รูปรี ที่โคนใบจะสอบแคบถึงก้านใบ ส่วนที่ปลายใบจะมนหรืออาจจะเว้าเป็นแอ่งตื้น ขอบใบเรียบหรืออาจจะหยักเป็นคลื่นนิด ใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร[5]
- ดอก มีลักษณะเล็กและเป็นสีเหลืองอ่อน สีขาว ดอกจะออกเป็นช่อที่ตามซอกใบที่ปลายยอด เป็นช่อดอกแบบช่อเชิงลด มีขนาดยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ดอกจะไม่มีก้าน ช่อหนึ่งจะมีดอกที่มีขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ที่โคนกลีบเลี้ยงจะเชื่อมกันเป็นรูปกรวย ส่วนที่ปลายจะแยกเป็น 4 กลีบ เป็นสีขาวอมสีเหลือง มีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ มีลักษณะเป็นสีขาวอมสีเหลือง เป็นรูปไข่กลับ ที่ปลายกลีบจะมน ร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้อยู่ 8 อัน มีเกสรเพศเมีย จะมีรังไข่เหนือวงกลีบ ดอกออกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม[5]
- ผล เป็นผลแห้ง มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลเป็นรูปไข่ จะมี 4 ครีบ เป็นสีน้ำตาลอมสีขาว ผลแก่หรือสุกจะเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล มีเมล็ดสีน้ำตาลแดงอยู่ 2 เมล็ดในผล เมล็ดเป็นรูปกระสวย จะมี 4 สัน ตามแนวยาว[4],[5]
ประโยชน์สะแก
- แก่นต้นมีความแข็ง ชาวบ้านจะนำมาทำฟืน [8]
- สามารถนำผลดิบมาแช่กับน้ำไว้ให้วัว ควายกินเป็นยาขับพยาธิ[5]
สรรพคุณสะแก
1. สามารถนำใบอ่อนมาใช้ปรุงเป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้ (ใบอ่อน)[1],[2],[3],[4]
2. สามารถช่วยรักษาฝีมะม่วง และฝีต่าง ๆ ได้ (ราก)[1],[2],[5]
3. สามารถช่วยแก้คุดทะราดได้ (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]
4. สามารถช่วยแก้น้ำเหลืองเสียได้ (ราก)[1],[2],[5]
5. สามารถนำเนื้อไม้มาต้มกับน้ำใช้ดื่ม สามารถช่วยขับน้ำคาวปลาให้สตรีหลังคลอดบุตร (เนื้อไม้)[5]
6. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงได้ (ราก[1],[2], ราก[5])
7. สามารถช่วยแก้อุจจาระหยาบ แก้กลิ่นเหม็นคาวได้ (ทั้งต้น)[5]
8. รากของมีจะรสเมา สามารถใช้ปรุงเป็นยาแก้ไส้ด้วนไส้ลามได้ (ราก)[5]
9. สามารถช่วยแก้เสมหะได้ (ราก)[1],[2],[5]
10. สามารถใช้เป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึมได้ (เมล็ด[1],[2], ราก[5])
11. สามารถช่วยแก้ผอมแห้งได้ (เมล็ด[1],[2], ราก[5])
12. สามารถนำต้นกับใบมาใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในได้ (ต้น,ใบอ่อน)[1],[2],[5]
13. เมล็ดจะมีสรรพคุณที่สามารถแก้มะเร็งได้ (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]
14. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้มะเร็งลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร (ราก)[1],[2],[5]
15. เมล็ด มีรสเบื่อเมา สามารถนำเมล็ดแก่ขนาด 1 ช้อนคาวมาตำ หรือนำเมล็ดประมาณ 15-20 เมล็ดมาสับละเอียด แล้วผสมไข่ทอดให้เด็กทานครั้งเดียวตอนที่ท้องว่าง ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลมในเด็กได้ จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง หากไม่ถ่ายให้ทานยาถ่ายเอาตัวออกมา (เมล็ดแก่)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
16. กระพี้จะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย (กระพี้)[5]
17. รากจะมีรสเมาสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิ ยาเบื่อพยาธิเด็ก และฆ่าพยาธิ (ราก)[1],[2],[3],[4],[5]
18. ทั้ง 5 ส่วนจะมีรสเมา จะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับพยาธิในท้องได้ (ทั้งต้น)[5]
19. สามารถช่วยแก้ฝีตานซางได้ (ทั้งต้น)[5]
20. สามารถนำต้นมาใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีได้ (ต้น)[1],[2]
21. สามารถนำใบอ่อนมาใช้เป็นยาแก้บาดแผล ยารักษาแผลสดได้ (ใบอ่อน)[1],[2],[5]
22. สามารถช่วยแก้กามโรคที่เข้าข้อออกดอก แก้แผลในที่ลับ แก้กามโรคหนองใน (ต้น)[1],[2],[5]
23.ราก มีสรรพคุณเป็นยาที่สามารถแก้กามโรค หนองใน (ราก)[1],[2],[3],[4]
24. ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี นำลำต้นเข้ายากับเบนโคก เบนน้ำ ใช้เป็นยาแก้มดลูกอักเสบ แก้ปวดมดลูก (ลำต้น)[5]
25. กระพี้จะมีรสเบื่อร้อน จะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยแก้คันทวารเด็กได้ (กระพี้)[5]
26. สามารถช่วยแก้ตกมดลูก และแก้มูกเลือดได้ (ราก)[1],[2],[5]
27. สามารถช่วยแก้บิดมูกเลือดได้ (ใบอ่อน)[1],[2],[5]
28. ต้นกับรากจะมีรสเมา จะมีสรรพคุณเป็นยาที่สามารถแก้อาเจียนเป็นโลหิตได้ (ต้น,ราก)[1],[2],[5]
29. สามารถช่วยแก้ไข้สันนิบาตได้ (ราก)[1],[2],[5]
30. ใบอ่อนจะมีรสฝาดเมา จะที่สรรพคุณเป็นยาที่สามารถแก้ไข้ได้ (ใบอ่อน)[1],[2]
31. เมล็ดจะมีสรรพคุณที่สามารถแก้ตานขโมย แก้ซาง (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]
32. ทั้งต้น 5 ส่วนจะมีรสเมา สามารถใช้เป็นยาแก้ซางตานขโมย พุงโรก้นปอดได้ [5]
หมายเหตุ
สามารถใช้เมล็ดเป็นยาโดยตรงได้ ไม่ต้องแยกแล้วทำให้บริสุทธิ์ เมล็ดสามารถเก็บไว้ใช้เป็นยาได้นานหลายปีโดยที่ไม่เป็นอันตราย แต่จะต้องเก็บเมล็ดในภาชนะที่ปิดสนิทและแห้ง ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา ห้ามใช้เกินขนาดที่กำหนดเด็ดขาด
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- ทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดที่ได้จากเมล็ดด้วยเอทานอล 80% ด้วยวิธีการให้ที่ทางปากหนูแรททั้งเพศผู้เพศเมีย หนูเม้าส์ทั้งเพศผู้เพศเมีย ปรากฏว่ามีพิษปานกลาง ทำให้สัตว์ทดลองตาย แต่ฉีดสารสกัดเข้าช่องท้องหนูปรากฏว่ามีพิษเยอะมาก ทำให้สัตว์ทดลองตาย และการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน โดยป้อนสารสกัดให้ที่ทางปากทุกวัน ขนาดวันละ 0.5, 1, และ 2 กรัมต่อกิโลกรัม ปรากฏว่าหนูแรททนสารสกัดในขนาดวันละ 2 กรัมต่อกิโลกรัมได้นาน 1 สัปดาห์ โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่สำหรับหนูเม้าส์ทนสารสกัดดังกล่าวในขนาด 1 และ 2 กรัมต่อกิโลกรัมไม่ได้ จากการที่ตรวจสอบอวัยวะภายในปรากฏว่าเลือดคั่งที่ไต ลำไส้ ตับ ลำไส้โป่งบวม และพบก้อนเลือดในหลอดเลือด พบภาวะเลือดคั่ง มีเลือดออก [6]
- ให้วัวกินเมล็ด ปรากฏว่าจำนวนไข่พยาธิตัวกลมชนิด Neoascaris vitulorum ลดลงจนไม่พบอีกภายในเวลา 1-3 สัปดาห์
- มีผู้ที่พบว่ามีเด็กนักเรียนทานเมล็ดชุบไข่ทอดในขนาด 1.5-3 กรัม ไม่ให้ผลขับพยาธิเส้นด้าย แต่มีอาการข้างเคียง นั่นก็คือ มีอาการคลื่นไส้มึนงง
- ให้ไก่ไข่ที่กินอาหารที่มีเมล็ดเป็นส่วนผสมอัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาถ่ายพยาธิเปอราซิน (piperazine) ขนาด 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม ผลการทดลองปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดเป็นส่วนผสมในอาหาร กำจัดพยาธิไส้เดือน (Ascaridia galli) ได้ 63% แต่กลุ่มที่ได้รับยาถ่ายพยาธิกำจัดพยาธิไส้เดือนได้ 100%[6]
- สารสกัดเมทานอลจากใบ แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับในหนูทดลองที่โดนชักนำให้ตับโดนทำลายด้วย Lipopolysaccharide, D-galactosamine และในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่โดยทำลายด้วย tumor necrosis factor-Alpha, D-galactosamine สามารถแยกสารสกัดบริสุทธิ์จากใบได้เยอะกว่า 30ชนิด และปรากฏว่าสารประเภทฟลาโวนอยด์กับไตรเทอร์ปีนชนิดไซโคลอาร์เทน (cycloartane -type triterpenes) มีคุณสมบัติป้องกันการทำลายของตับ[10]
- ในเมล็ดจะมีสารจำพวก Flavonoid ที่มีชื่อว่า Combretol และมี Penacyclic, Bsitosterol, Triterpene, Carboxylic acid เป็นต้น
- ในรากและเมล็ดรวมกันจะมี Pentacyclic triterpen carboxylic acid ได้แก่ B-sitosterol glucoside, B-sitosterol และ 3B,6B,18B-trihydroxyurs-12-en-30-oic เป็นต้น[4],[8]
- การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ปรากฏว่าเมื่อให้เมล็ดในขนาด 1.5 กรัมต่อกิโลกรัมที่ปากสัตว์ทดลองจะตาโปนแดง ขาลาก และจะตายเมื่อเพิ่มขนาดยา ทำให้การใช้ในคนต้องระวังเรื่องของขนานยาที่ใช้ให้เยอะ ๆ [8]
- จากการทดสอบความพิษเป็นเฉียบพลันของสารสกัดที่ได้จากเมล็ดด้วยเมทานอล 80% โดยวิธีการป้อนเข้าที่ทางปากหนูแรททั้งเพศผู้กับเพศเมีย หนูเม้าส์ทั้งเพศผู้กับเพศเมีย ปรากฏว่าจะมีพิษปานกลาง ทำให้สัตว์ทดลองตาย และการทดลองพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูทั้งเพศผู้เพศเมีย เมื่อให้สารสกัด 1 กรัมต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปรากฏว่ามีความสัมพันธ์นิดหน่อยกับน้ำหนักในเติบโต ไม่มีผลกับตับเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม เมื่อให้เมล็ดที่ทางปากหนูแรทกับหนูเม้าส์ในขนาด 0.582 และ 1.985 กรัมต่อกิโลกรัม ต่อหนึ่งครั้ง ปรากฏว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน[6]
- สารสกัดด้วยเมทานอลจากเมล็ด จะมีฤทธิ์ปกป้องตับ (hepatoprotective activity) เมื่อทดลองในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่โดนทำลายด้วย tumor necrosis factor-Alpha, D-galactosamine เมื่อเอาสารสกัดเมทานอลมาแยกให้บริสุทธิ์จะได้สารกลุ่ม triterpene glucosides ชนิดใหม่ จะแสดงฤทธิ์การปกป้องตับคือสาร quadranosides 1,2 และ 5 ที่เข้มข้น 50ไมโครโมลาร์ สารทั้ง 3 จะแสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำลายของเซลล์ตับได้ 37.6, 40.9, และ67.5% ตามลำดับ [11]
- สารสกัดชั้นเอทานอลช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 (IC100 : 12.5 mcg/ml) และช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 integrase ได้ (IC50 : 2.5 mcg/ml) (ไม่แน่ใจว่าเป็นส่วนใด)[9]
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สะแกนา (Sakae Na)”. หน้า 291.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “สะ แก นา”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 178.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สะแกนา”. หน้า 90.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะแกนา”. หน้า 761-762.
5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สะแกนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [09 มิ.ย. 2014].
6. สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สะแก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [09 มิ.ย. 2014].
7. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. “สะแกนา”.
8. วิทยาลัยการอาชีพชุมแพ. “สะ แก นา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.chumphae.ac.th. [09 มิ.ย. 2014].
9. สมุนไพร, สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. “สะแกนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: aidsstithai.org/herbs/. [09 มิ.ย. 2014].
10. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับของสะแกนา”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [09 มิ.ย. 2014].
11. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร triterpene glucosides จากเมล็ดสะแกนา”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [09 มิ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1. https://myloview.com/
2. https://bvnguyentriphuong.com.vn/
3. https://medthai.com/