พญาไม้ผุ
ไม้พุ่มเถาเนื้อแข็งเลื้อยตั้งตรง ดอกเป็นช่อสีเขียวหรือสีเหลืองมีขนคล้ายเส้นไหม ผลเป็นสีเขียวรูปไข่ปลายแหลม

พญาไม้ผุ

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Enkleia malaccensis Griff. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Enkleia malayana Griff, Enkleia siamensis (Kurz) Nevling, Linostoma scandens var. cambodiana Lecomte, Linostoma siamensis Kurz จัดอยู่ในวงศ์กฤษณา (THYMELAEACEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ปอตับเต่า (เลย), เต่าไห้ พญาไม้ผุ (ราชบุรี), พันไฉน พันไสน (กรุงเทพมหานคร), ปอตับเต่า (ภาคเหนือ)[1]

ลักษณะของต้นพญาไม้ผุ

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3]
    – เป็นพรรณไม้พุ่ม เลื้อยตั้งตรง หรืออาจจะเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง
    – มีความสูงได้ถึง 2-5 เมตร
    – เปลือกต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม มีความเหนียว
    – มีมือเกาะอยู่ตรงข้าม
    – ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้น
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    – ในประเทศไทยนั้นสามารถพบขึ้นได้แทบทุกภาค ยกเว้นในทางภาคใต้
    – สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามชายป่า บริเวณที่ค่อนข้างชื้น ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
    – จะขึ้นปะปนอยู่กับต้นไม้พวกยางชนิดต่าง ๆ
    – พบได้ในที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงที่ความสูง 500 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน หรืออาจจะออกเรียงสลับ
    – ใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี หรืออาจจะกลม
    – ปลายใบแหลมหรือมน
    – มีติ่งหนามเล็ก ๆ
    – โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาว 5-10 เซนติเมตร
    – แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง
    – ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นสีเขียว
    – มีขนสีเทาสั้นและนุ่ม จะขึ้นประปรายไปจนถึงหนาแน่นตามร่องเส้นกลางใบ
    – ด้านล่างเป็นสีเทา มีขนสั่นนุ่มขึ้นประปรายถึงแน่น
    – เส้นแขนงใบมีข้างละ 15-25 เส้น
    – ก้านใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม มีความยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร จะเป็นร่องทางด้านบน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ออกดอกที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกเป็นแบบช่อซี่ร่ม
    – ดอกมีจำนวน 3-15 ดอก
    – ดอกเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง
    – ก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นเยื่อบาง เป็นสีครีมแกมสีเขียวอ่อน เป็นรูปรี
    – ปลายและโคนมน มีความกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร และยาว 2-5 เซนติเมตร
    – ใบประดับย่อยมีขนาดเล็ก เป็นรูปแถบ
    – กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีความยาว 7-8 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก มีความกว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร และยาว 3-4 มิลลิเมตร – กลีบดอกจะมี 5 กลีบ เป็นรูปลิ้น มีความยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – มีความอวบน้ำ
    – ที่ปลายเป็นแฉกลึก 2 แฉก เป็นรูปขอบขนาน
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงเป็น 2 วง
    – ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง มีความยาว 0.5-1.5 มิลลิเมตร
    – มีอับเรณูยาว 1 มิลลิเมตร
    – มีรังไข่เป็นรูปรี อยู่เหนือวงกลีบ มีความยาว 1-2 มิลลิเมตร
    – มีขนคล้ายเส้นไหมขึ้นหนาแน่น มี 1 ช่อง มีออวุล 1 เมล็ด
    – ก้านเกสรเพศเมียจะสั้น มีความยาว 1.5-2 มิลลิเมตร
    – ยอดเกสรเพศเมียจะเป็นตุ่ม
  • ลักษณะของผล[1]
    – เป็นผลสด
    – ผลเป็นรูปไข่ ปลายแหลม
    – ผิวผลจะเกลี้ยงหรือมีขนละเอียด
    – ผนังชั้นในแข็ง
    – ผลเป็นสีเขียว
    – มีความกว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร และยาว 1-1.5 เซนติเมตร
    – มีก้านผลยาว
    – มีใบประดับสีน้ำตาลอ่อน 2 ใบ มขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร
    – มีเมล็ดเป็นรูปไข่ มีความกว้าง 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร
    – จะออกดอกและออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ราก พบสาร linobiflavonoid, chamaejasmin, 7-O-β-d-glucopyranosyl chamaejasmin, ormocarpin , ( – )-wikstromol, matairesinol, (+)-lariciresinol, carthamidin สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ clausarin, daphnoretin, nordentatin, umbelliferone[1]
  • สาร daphnoretin จากราก มีฤทธิ์กดการแสดงออกของยีนไวรัสตับอักเสบบีในเซลล์ตับของมนุษย์และในหลอดทดลองได้[1]

สรรพคุณของพญาไม้ผุ

  • ผล สามารถนำมาใช้เป็นยาถ่าย[1]
  • ใบ สามารถนำมาใช้ต้มเป็นยารักษาโรคตา[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หืดได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้ไอได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้ขับเสมหะได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้ขับลมได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้ประดงได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้ผื่นคันตามผิวหนังได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้แก้โรคเรื้อนได้[1]
  • แก่น สามารถนำมาใช้คุดทะราดได้[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาระบายได้[1],[2]

ประโยชน์ของพญาไม้ผุ

  • เส้นใยจากเปลือก สามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกได้
  • เส้นใยจากเปลือก มีความเหนียวทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ได้[1],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ปอเต่าไห้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [23 ก.ย. 2015].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ปอเต่าไห้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [23 ก.ย. 2015].
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ปอเต่าไห้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [23 ก.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.phakhaolao.la/
2.https://uk.inaturalist.org/