นาคราช
เป็นพรรณไม้เถาลำต้นโค้งงอห้อยลง หนามสีแดง ดอกเป็นสีแดงแก่ ผลเล็กเป็นทรงกลม สีน้ำตาลอมแดง และมีมีขนยาวนุ่มปกคลุม

นาคราช

ว่านนาคราช เป็นพรรณไม้เถาลำต้นโค้งงอห้อยลงมามีกิ่งมากมายจัดอยู่ในวงศ์กระบองเพชร (CACTACEAE)
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโกที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรในพื้นที่ที่มีหมอกหนาและสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทยตามป่าดงดิบแล้ง การเจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อนชอบแสงแดดจัด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์ประมาณ 15 ถึง 24°C ช่วงต้นฤดูร้อนเป็นช่วงที่ดีที่สุด ชื่อสามัญ Rat tail Cactus, Rat’s tail Cactus ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Disocactus flagelliformis (L.) Barthlott ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Aporocactus flagelliformis (L.) Lem. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ไส้หนุมาน (กรุงเทพฯ), นาคราช ว่านนาคราช (ภาคกลาง) กระบองเพชรหางหนู

ลักษณะของว่านนาคราช

  • ต้น [1]
    – มีลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน หรืออาจจะห้อยย้อยลงมา
    – ในระยะแรกลำเถาจะเป็นสีเขียวมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีอมเทา
    – ตามลำต้นมีสันนูนประมาณ 8-14 สัน
    – ในแต่ละสันจะมีรูขนเป็นปุ่ม
    – ปุ่มจะมีหนามงอกออกมาเป็นกระจุก กระจุกละ 15-20 เส้น
    – มีความยาว 0.5 เซนติเมตร
    – หนามเมื่อยังออกใหม่ ๆ จะเป็นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง และสีน้ำตาล
    – ลำต้นนั้นมีความกว้าง 0.5 นิ้วหรือใหญ่กว่านี้เล็กน้อย
    – มีความยาว 2 เมตร
    – ไม่มีใบ
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินที่มีส่วนผสมของไม้ผุ ๆ หรือหินปูนเก่า ๆ
  • ดอก [1]
    – ออกดอกตามลำต้น
    – ออกห่างกันเป็นระยะ ๆ ไม่เท่ากัน
    – ดอกเป็นสีแดงแก่
    – เมื่อออกดอกแล้วดอกจะอยู่ได้ประมาณ 7 วัน
    – ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 1 นิ้ว และยาว 2 นิ้ว
  • ผล [1]
    – ผลมีขนาดเล็ก
    – ทำให้เมล็ดมีขนาดเล็กตาม
    – ผลจะเป็นทรงกลม สีน้ำตาลอมแดง
    – ตามผลจะมีขนยาวนุ่มปกคลุมอยู่

สรรพคุณและประโยชน์ของนาคราช

  • ต้น สามารถนำมาเผาหรือสุมไฟให้เป็นถ่านได้[1]
  • ต้น สามารถนำมาใช้ผสมกับยาเย็น ปรุงเป็นยาเย็นถอนพิษแก้พิษงู[1]
  • ต้น ช่วยแก้พิษแมงป่อง พิษตะขาบ และพิษทั้งปวง[1]
  • สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “นาคราช”. หน้า 392-393.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://succulentalley.com/
2.https://worldoffloweringplants.com/