ต้นเบอะคะปุ่ย ใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหน็บชา

0
1220
ต้นเบอะคะปุ่ย ใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหน็บชา สามารถพบได้ทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป เติบโตในพื้นที่ป่าชื้นแฉะ ลักษณะเป็นกอ ดอกสีขาว ผลรูปไข่ เมล็ดเป็นทรงกลมสีเป็นสีสนิม มีตุ่มขนาดเล็กกลางเมล็ด
เบอะคะปุ่ย
เป็นไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นกอ ดอกสีขาว ผลรูปไข่ เมล็ดเป็นทรงกลมสีเป็นสีสนิม มีตุ่มขนาดเล็กกลางเมล็ด

เบอะคะปุ่ย

เบอะคะปุ่ย สามารถพบได้ทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป โดยจะเติบโตในพื้นที่ป่าชื้นแฉะ[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Myosoton aquaticum (L.) Moench ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Stellaria aquatica (L.) Scop. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ CARYOPHYLLACEAE

ลักษณะต้นเบอะคะปุ่ย

  • ต้น
    – จัดเป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ล้มลุกที่มีลักษณะการขึ้นเป็นกอ
    – ผิวเปลือกลำต้นจะมีจุดสีม่วงเข้มขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่ว และมีร่องที่ไม่ลึกมากอยู่ตามลำต้น ตรงปลายของลำต้นจะชูขึ้น ลำต้นจะนอนทอดราบไปกับพื้นดิน
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ตรงปลายใบแหลม ขอบใบมีรอยหยักเป็นคลื่น ที่โคนใบเป็นรูปหัวใจ ใบจะแบ่งเป็นใบตอนบนและใบตอนล่าง โดยใบตอนล่างจะมีก้านใบ ส่วนใบตอนบนจะไม่มีก้านใบ
    – ใบจะออกในลักษณะที่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ที่บริเวณก้านใบ และใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร และก้านใบตอนล่างมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 10 อัน อับเรณูมีสีแดงอมส้ม รังไข่มีอยู่หนึ่งช่องมีรูปร่างเป็นรูปไข่ และดอกมีท่อเกสรเพศเมียอยู่ 5 แฉก
    – ดอกมีกลีบดอกสีขาว กลีบดอกจักเป็นแฉกลึก 2 แฉก ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ดอกมีกลีบรองดอกขนาดเล็ก 5 กลีบ รูปร่างของกลีบรองดอกเป็นรูปหอกและมีขนขึ้นปกคลุมเป็นประปราย จุดเด่นของดอกจะอยู่ที่ดอกมีต่อมขนขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกเดี่ยว ซึ่งจะออกที่บริเวณซอกใบ[1]
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างเป็นรูปไข่กว้าง และผลจะมีพูปรากฏขึ้นอยู่ประมาณ 5 พู ตรงปลายพูจะมีรอยจักเป็นพูเล็ก ๆ 2 พู ผลเป็นผลแห้ง
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีรูปร่างเป็นทรงกลม เมล็ดมีสีเป็นสีสนิม และมีตุ่มขนาดเล็กปรากฏขึ้นที่กลางเมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นเบอะคะปุ่ย

1. ใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการปวดกระดูก และอาการฟกช้ำ โดยนำใบไปลงแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลาสักระยะหนึ่ง จากนั้นนำมาใช้แปะหรือทาบบริเวณที่มีอาการ ใช้เป็นยาภายนอก (ใบ)[1]
2. ใบมีฤทธิ์ในการรักษาอาการตกขาวของสตรี (ใบ)[1]
3. ลำต้นและใบนำมาต้มกับน้ำ ใช้สำหรับดื่มเป็นยามีสรรพคุณขับน้ำนม (ลำต้นและใบ)[1]
4. ลำต้นและใบนำมารับประทาน มีฤทธิ์ในการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบได้ โดยนิยมในประเทศญี่ปุ่นและจีน (ลำต้นและใบ)[1]
5. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการรักษาแผลเรื้อรัง (ลำต้นและใบ)[1]
6. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหน็บชา (ลำต้นและใบ)[1]
7. ลำต้นและใบมีฤทธิ์ในการรักษาอาการปัสสาวะไม่ออก (ลำต้นและใบ)[1]
8. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ลำต้นและใบ)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เบอะคะปุ่ย”. หน้า 438-439.
2. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://arthropodafotos.de/
2. https://www.infoflora.ch/