ต้อยติ่ง
ดอกทรงแตรสีม่วงสรรพคุณแก้ผดผื่นคัน ดอกเป็นสีม่วงรูปกรวย ผลเป็นฝักยาว เมื่อรับความชื้นมากฝักจะแตกเป็น 2 ซีก

ต้อยติ่ง

ชื่อสามัญ คือ Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Cracker plant, Trai-no, Toi ting จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Ruellia tuberosa L. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ต้อยติ่งเทศ, ต้อยติ่งน้ำ, ต้นอังกาบ, อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ ชื่อวิทยาศาสตร์  Hygrophila erecta (Burm.f.) Hochr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila phlomoides var. roxburghii C.B. Clarke) ส่วนอีกข้อมูลระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hygrophila ringens var. ringens (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila quadrivalvis (Buch.-Ham.) Nees) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ต้อยติ่งนา (กรุงเทพ), น้ำดับไฟ (ประจวบคีรีขันธ์)

ชนิดของต้อยติ่ง

  • ต้อยติ่งไทย เป็นชนิดดั้งเดิมของบ้านเรา ซึ่งในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยลง
  • ต้อยติ่งฝรั่ง เป็นชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝน ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน

โดยทั้งสองชนิดนั้นจะมีลักษณะของดอกที่คล้ายกัน จะมีความต่างกันตรงส่วนของใบ โดยใบของต้นต้อยติ่งฝรั่งนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าใบของต้อยติ่งไทย และต้อยติ่งฝรั่งจะโตเร็วกว่าต้อยติ่งไทย

ลักษณะของต้อยติ่ง

ต้น

  • จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก
  • มีลำต้นสูง 20-30 เซนติเมตร
  • ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุม
  • สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
  • เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป
  • สามารถเพาะปลูกได้ง่าย

ใบ

  • ใบเป็นใบเดี่ยว
  • ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น
  • แผ่นใบมีสีเขียว
  • ใบเป็นรูปมนรี
  • ปลายใบมน
  • โคนใบแหลม
  • ขอบใบเรียบ ไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย
  • บมีความกว้าง 1-1.5 นิ้ว และความยาว 2.5-3 นิ้ว

ดอก

  • ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ
  • ออกตามง่ามใบบริเวณส่วนยอดของต้น
  • ดอกเป็นสีม่วง
  • ดอกเป็นรูปกรวย
  • ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ
  • กลางดอกมีเกสร 4 ก้าน แบ่งออกเป็นก้านสั้น 2 ก้านและก้านยาว 2 ก้าน

ผล

  • ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว
  • มีความยาวได้ประมาณ 1 นิ้วกว่า
  • ถ้าฝักได้รับความชื้นมากก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก
  • ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ 8 เมล็ด

ใบ

  • ใบ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ใบ ใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

เมล็ด

  • เมล็ด ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน
  • เมล็ด มีสรรพคุณช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
  • เมล็ด ใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ
  • เมล็ด ใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ

ราก

  • ราก ช่วยทำให้อาเจียน
  • ราก ใช้เป็นยาขับเลือด
  • ราก ช่วยดับพิษในร่างกาย
  • ราก ใช้เป็นยารักษาโรคไอกรน
  • ราก ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
  • ราก ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไตได้
  • ราก ใช้ผสมเป็นยาแก้พิษ ดับพิษ และทำเป็นยาเบื่อ
  • ราก หากนำมาใช้ในปริมาณที่เจือจางสามารถช่วยกำจัดสารพิษในเลือดได้

ประโยชน์ของต้อยติ่ง

  • ฝักใช้เป็นของเล่นของเด็ก ๆ ได้โดยการสะสมฝักแก่จัด แล้วนำน้ำมาหยด สักพักหนึ่งฝักก็จะแตกตัวออกดังเปาะแปะ พร้อมกับดีดเมล็ดออกโดยรอบ ทำให้มีความเจ็บ ๆ คัน ๆ

ในตอนเด็ก ๆ เรามักจะใช้เมล็ดแก่ ๆ มาใส่น้ำแล้วจะมีเสียงดังเปาะแปะ แต่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร), หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2516, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

อ้างอิงรูปจาก
1.https://inaturalist.ala.org.au/
2.https://keyserver.lucidcentral.org/