ตะขาบหิน
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อกระจุกเล็กสีขาวอมสีเขียว ผลกลมฉ่ำน้ำ ผลสุกสีแดงมีรสหวาน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชอบความชื้น

ตะขาบหิน

ตะขาบหิน เป็นพืชพื้นเมืองพบในหมู่เกาะโซไลมอน และปาปัวนิวกินี นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ชอบความชื้น มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรสามารถใช้ได้ทั้งแบบสดหรือนำไปตากแดดให้แห้งใช้ทาแผลจากการหกล้ม หรือใช้ทาบริเวณมดแมลงสัตว์กัดต่อยเป็นต้น ซึ่งใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Homalocladium platycladum (F.Muell.) L.H.Bailey (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Muehlenbeckia platyclada (F.J. Müll.) Meisn.)[4] จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือว่านตะขาบ (เชียงใหม่), ตะขาบหิน (คนเมือง), เพว เฟอ (กรุงเทพฯ), ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ตะขาบปีนกล้วย (ภาคกลาง), ว่านจะเข็บ (ไทลื้อ), ตะขาบบิน ตะขาบทะยานฟ้า ผักเปลว (ไทย), แงกังเช่า (จีน)[2],[3],[6]

ลักษณะของตะขาบหิน

  • ต้น[1],[2],[3]
    – มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
    – เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – แตกกิ่งก้านจำนวนมาก
    – มีความสูง 1-2 เมตร
    – เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล
    – ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว
    – เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ
    – พบขึ้นได้ตามพื้นที่ป่าทั่วไปของประเทศไทย
  • ใบ[1]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – หลุดร่วงได้ง่าย
    – ใบเป็นรูปรีหรือรูปใบหอก
    – มีขนาดเล็ก
    – ออกใบน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร และยาว 2-5 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม
    – เนื้อใบอ่อนนิ่ม
    – หลังใบและท้องใบเรียบ
    – ไม่มีก้านใบ
  • ดอก[1]
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น
    – ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ เป็นช่อกระจุกเล็ก
    – ออกตามข้อของลำต้น
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก มีสีเขียวอ่อน
    – กลีบดอกรวมเป็นสีขาวอมสีเขียว มี 5 กลีบ เป็นรูปไข่
    – ก้านดอกสั้น
    – โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
    – ก้านชูดอกสั้น
    – เกสรเพศผู้จะล้อมรอบเกสรเพศเมียอยู่จำนวน 7-8 อัน
  • ผล[1]
    – ผลมีเป็นรูปทรงกลม
    – ผิวเรียบ ฉ่ำน้ำ
    – เป็นพู 5 พู
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
    – มีรสหวาน
    – ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร
    – มีเมล็ดเดี่ยว มีสีเหลือง เป็นสัน 3 สัน

สรรพคุณของตะขาบหิน

สรรพคุณของใบ

  • ใบ สามารถนำมาทุบแล้วใช้ทาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้[2]
  • ใบ เมื่อนำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้าข้าวหอม แล้วคั้นเอาน้ำเพื่อใช้หยอดหู สามารถรักษาหูเป็นน้ำหนวกได้[4]

สรรพคุณของต้นและใบ

  • ต้นและใบ นำมาตำผสมกับเหล้า และนำมาพอกหรือคั้นเอาน้ำใช้เป็นยาทาถอนพิษตะขาบและแมงป่องได้[1]
  • ต้นและใบ นำมาตำผสมกับเหล้า และนำมาพอกหรือคั้นเอาน้ำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำหรือเคล็ดขัดยอกได้ดี[1]

สรรพคุณของทั้งต้น

  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาระงับอาการปวดได้[1]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการเนื่องจากปอด แก้อาการเจ็บคอ และเจ็บอกได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้ร้อนใน หรือดับพิษต่าง ๆ พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี และพิษฝีในปอดได้[1]

ประโยชน์ของ

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากเลี้ยงได้ง่ายและเจริญเติบโตได้เร็ว[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ตะ ขาบ หิน (Ta Khap Hin)”. หน้า 120.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ตะ ขาบ หิน”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [20 ส.ค. 2014].
3. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “ตะ ขาบ หิน”.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ตะ ขาบ หิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [20 ส.ค. 2014].
5. ไทยโพสต์. “ว่านตีนตะขาบ-ตะ ขาบ หิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net. [20 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://botany.cz/