ต้นกระวานป่า
ไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะบริเวณโคนของลำต้นเหนือดิน ผลสุกเป็นสีแดง

ต้นกระวานป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Amomum uliginosum J.Koenig ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Amomum ovoideum Pierre ex Gagnep., Amomum robustum K.Schum., Amomum uliginosum Koenig, Cardamomum uliginosum (J.Koenig) Kuntze, Wurfbainia uliginosa (J.Koenig) Giseke
จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า เร่ว (ภาคใต้ฝั่งตะวันออก) ส่วนที่จังหวัดปัตตานีจะเรียกชื่อว่า “กระวานป่า“[1]

ลักษณะของต้นกระวานป่า

  • ต้น[1]
    – จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
    – ลำต้นที่อยู่เหนือดินมีความสูงได้ 2.5-4 เมตร
  • ใบ[1]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ
    – เจริญจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน
    – มีใบประมาณ 16-24 ใบ
    – ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก
    – ปลายใบแหลมมีติ่งแหลม ห้อยย้อยลง
    – โคนใบเป็นรูปลิ่ม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีขนาดยาวกว้าง 7-10 เซนติเมตร และยาว 40-60 เซนติเมตร
    – ผิวใบด้านบนเกลี้ยง
    – ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาล
  • ดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ
    – ดอกจะเกิดจากตาเหง้าบริเวณโคนของลำต้นเหนือดิน
    – มีดอกย่อย 15 ดอก
    – กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีขาวปนสีชมพูอ่อน
    – กลีบดอกเป็นสีขาว
    – มีเกสรเพศผู้สีขาว มีสีชมพูอ่อนที่โคน
    – เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน
    – เกสรเพศเมียมีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
  • ผล[1][2]
    – ผลเป็นแบบแคปซูล
    – เป็นผลแห้ง
    – ผลสุกเป็นสีแดง
    – ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล รวมกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม
    – มีกลิ่นคล้ายการบูร

สรรพคุณของกระวานป่า

ประโยชน์ของกระวานป่า

  • เมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศ[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระวานป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 ก.ย. 2015].
2. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กระวานป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [03 ก.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.researchgate.net/figure/Young-plant-of-Zingiber-zerumbet_fig10_275637389