หมามุ่ย สรรพคุณรักษาโรคพาร์กินสัน

0
1397
หมามุ่ย
หมามุ่ย สรรพคุณรักษาโรคพาร์กินสัน เป็นพืชเถาคล้ายกับถั่วลันเตามีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก ขนจะทำให้เกิดอาการคัน
หมามุ่ย
เป็นพืชเถาคล้ายกับถั่วลันเตามีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก ขนจะทำให้เกิดอาการคัน

หมามุ่ย

ชื่อสามัญ คือ Mucuna ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Mucuna pruriens var. pruriens จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่ออื่น ๆ บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กาญจนบุรี) กล้ออือแซ (แม่ฮ่องสอน) ตำแย

ลักษณะต้นหมามุ่ย

  • ต้น
    – เป็นพืชเถา
    – ผลเป็นฝักยาว คล้ายกับถั่วลันเตา
    – มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก
    – ขนหลุดร่วงได้ง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ
    – ขนเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin)
    – เมื่อสัมผัสขนจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง
    – ฝักจะออกในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง
  • เมล็ด
    – มีสารแอลโดปา (L-Dopa)
    – เป็นสารที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์
    – เป็นสารสื่อประสาทซึ่งมีส่วนช่วยรักษาโรคพาร์กินสันได้
    – ต้องใช้ในรูปแบบที่ผ่านการสกัดมาเป็นยาเม็ด
    – ร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปของเมล็ดสดหรือแปรรูปได้

วิธีการรักษาพิษ

  • ให้รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส
  • ใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัวหรือใช้ข้าวเหนียวนำมาคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน
  • นำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายครั้ง ๆ จนหมด
  • หากยังมีอาการแดงแสบร้อนหรือคันอยู่ ให้ใช้โลชั่นคาลาไมน์มาทา
  • ใช้สเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ อาการก็จะดีขึ้น

คำแนะนำในการรับประทาน

  1. รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า
    – เมล็ดสายพันธุ์อินเดียและจีน สามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้
    – ผู้ที่กำลังสนใจและต้องการรับประทาน ไม่ควรรับประทานแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
    – ยังไม่มีผลงานวิจัยรองรับแน่ชัดว่าสายพันธุ์ไทยไม่เป็นหมามุ่ยสปีชีส์ใด หรือมีผลข้างเคียงหรืออันตรายต่อร่างกายหรือไม่
  2. เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยทางจิตเวชไม่ควรรับประทาน
  3. การนำเมล็ดมาทำเป็นยาสมุนไพรรับประทานเอง
    – ต้องมีความระมัดระวังไม่ให้สัมผัสโดยตรง
    – แต่ไม่แนะนำให้เก็บมารับประทานเอง จนกว่าจะได้รับการยืนยันสายพันธุ์ที่แน่นอน
    – เนื่องจากมีหลายสายพันธุ์
    – มีสายพันธุ์จีนและอินเดียที่สามารถทำเป็นยาได้
    – แต่สายพันธุ์ไทยนั้น ยังไม่ระบุแน่ชัด
    – ซื้อแบบสำเร็จรูปรับประทานจะมีความปลอดภัยมากกว่า
  4. วิธีการเก็บ
    – ให้เลือกเก็บจากต้นที่มีฝักแก่
    – ให้ฉีดน้ำให้เปียก เพื่อป้องกันไม่ให้ขนอ่อนของฝักฟุ้งกระจาย
    – จากนั้นก็สวมถุงมือป้องกันแล้วค่อย ๆ เก็บฝัก
    – เมื่อได้มาให้นำเมล็ดมาคั่วไฟ
    – แล้วนำไปล้างน้ำ ก่อนนำไปคั่วไฟอีกรอบ
    – ต้องคั่วให้สุกเท่านั้น
    – หากคั่วไม่สุกแล้วนำไปรับประทานอาจจะเกิดสารพิษได้
  5. วิธีการรับประทาน
    – สามารถนำเมล็ดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับชาหรือกาแฟได้
    – หากชงกับน้ำร้อนเปล่า ๆ รสจะออกเปรี้ยวมันนิด ๆ
    – สามารถรับประทานกับข้าวเหนียวได้
  6. ปริมาณการรับประทานที่แนะนำ
    – ผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศ ให้รับประทาน 3 เมล็ดต่อวัน
    – ผู้ที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศ ให้รับประทานวันละ 20-25 เม็ด ไม่เกิน 3 เดือน

สรรพคุณของหมามุ่ย

  • เมล็ด ช่วยแก้พิษแมงป่อง
  • เมล็ด ใช้เป็นยาฝาดสมาน
  • ราก ช่วยถอนพิษ ล้างพิษ
  • ราก ช่วยแก้อาการคัน
  • ราก ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน
  • ช่วยรักษาภาวะการมีบุตรยากทั้งชายและหญิง
  • ช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ
  • ช่วยทำให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า
  • ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์
  • ช่วยแก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้
  • ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ
  • ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ
  • ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ
  • ช่วยปรับคุณภาพของน้ำเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
  • ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง
  • ช่วยทำให้นอนหลับสบาย จิตใจเบิกบานแจ่มใส

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว, รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, เว็บไซต์ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.supersmart.com/en/blog/brain-nutrition/the-benefits-mucuna-pruriens-for-the-nervous-system-reproductive-health-s301
2. https://medthai.com/