ว่านพญาท้าวเอว
ว่านพญาท้าวเอวเป็นไม้ป่าของประเทศไทย[1] จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyceros bispinosus (Griff.) Tirveng. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Randia bispinosa (Griff.) Craib) ชื่ออื่น ๆ พญาท้าวเอว (ภาคตะวันตกเฉียงใต้), ขบเขี้ยว สลักเขี้ยว (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นต้น[1]
ลักษณะต้นว่านพญาท้าวเอว
- ต้น
– เป็นพรรณไม้ประเภทไม้พุ่มที่พาดพันไปบนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ
– ลำต้นจะมีหนามแหลมโค้งขึ้นทั่วลำต้น เมื่อต้นแก่แล้วหนามจะโค้งไปหาลำต้นในลักษณะที่หนามไปล็อกกับตัวลำต้นไว้
– ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด - ใบ
– ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
– ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม ตรงโคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ
– แผ่นใบมีเส้นแขนงใบอยู่ที่ประมาณ 6-9 คู่ และมีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ[1]
– ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร - ดอก
– ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
– แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยหลายดอกอยู่ภายใน
– กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ มีสีเป็นสีขาว และดอกมีกลิ่นหอม [1] - ผล
– ผลมีลักษณะเป็นผลสด ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นรูปทรงกลม โดยจะออกผลในลักษณะที่เป็นพวง ๆ [1]
สรรพคุณของต้นว่านพญาท้าวเอว
1. ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำลำต้นพญาท้าวเอวมาผสมกับหัวยาข้าวเย็น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)[1]
2. ลำต้นนำมาฝนผสมกับเหล้าใช้สำหรับทารักษาแผลในปาก (ลำต้น)[1]
3. ลำต้นนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใสใช้สำหรับทานเป็นยาแก้งูสวัด และโรคไฟลามทุ่ง (ลำต้น)[1]
4. ตำรับยาพื้นบ้านจะนำลำต้นมาฝนผสมกับน้ำปูนใสใช้ทานเป็นยาแก้อาการท้องเดิน (ลำต้น)[1]
5. นำน้ำมะนาวหรือน้ำซาวข้าวเป็นกระสาย จากนั้นนำเอามาฝนเข้าด้วยกันกับน้ำกระสาย แล้วเอาไปปิดบริเวณที่เป็นแผล โดยจะออกฤทธิ์แก้พิษจากสัตว์กัดต่อย และขบได้ (ลำต้น)[2]
6. นำเอามาฝนผสมกับน้ำเหล้าที่เป็นกระสาย จากนั้นนำมาทาบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันจากโรครำมะนาดได้ (ลำต้น)[2]
7. ในบางข้อมูลระบุเอาไว้ว่าให้นำต้นไปแช่ในน้ำให้เปียกชุ่มก่อน จะทำให้ตัวยาของไม้ซึมออกมาได้ จากนั้นจึงค่อยนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยไม่นานนักอาการปวดเมื่อยก็จะหายไป
ประโยชน์ของต้นว่านพญาท้าวเอว
1. ในด้านของความเชื่อเป็นไม้มงคล โดยถือกันว่าเป็นว่านเมตตามหานิยมทางแคล้วคลาด ทางเขี้ยวงา ฯลฯ มีไว้สำหรับใช้ป้องกันตัว เชื่อกันว่าสามารถป้องกันสัตว์ร้าย (งู ตะขาบ แมงป่อง ปลาดุกยักษ์แทง ) และอสรพิษกัดได้ รวมถึงคนที่จะมาลอบทำร้าย [3]
2. สามารถนำมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้ จะทำให้ดูสวยและแปลกตา เนื่องจากต้นมีหนามล็อกลำต้นเอาไว้อยู่
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พญาท้าวเอว”. หน้า 160.
2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 20 คอลัมน์ : การรักษาพื้นบ้าน. (บุญชู ธรรมทัศนานนท์). “ว่านรักษาโรค : ว่านพญาเท้าเอวกายสิทธิ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [03 ก.ย. 2014].
3. ตลาดพระ. “ว่านพญาท้าวเอวกายสิทธิ์ ของดีจากเมืองใต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.taradpra.com. [03 ก.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.phytoimages.siu.edu/
2.https://www.flickr.com/