ว่านตีนตะขาบ
ว่านตีนตะขาบ Pedilanthus tithymaloides เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งลักษณะเป็นต้นกลมเป็นปล้องๆ ในลำต้นและใบมียางสีขาวขุ่น จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ POLYGONACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), เพว (กรุงเทพฯ), ตะขาบปีนกล้วย ต้นตีนตะขาบ (ไทย)
- ลักษณะของต้น
– เป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก
– ลำต้นเป็นปล้อง
– มีลักษณะกลมโตเหมือนหางหนูมะพร้าวอ่อน
– แต่เมื่อลำต้นสูงขึ้นจะกลายเป็นไม้เลื้อย
– ต้นหนึ่งจะยาวได้ 7-10 ฟุต
– สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ - ลักษณะของใบ
– ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง
– ออกจากโคนต้นจนถึงยอด จนดูคล้ายกับตะขาบ
สรรพคุณ และประโยชน์ของว่านตะขาบ
- ต้นและใบสด เมื่อนำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้าแล้ว สามารถนำไปใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูเป็นน้ำหนวกได้ ซึ่งได้ผลดีมาก ใช้แค่เพียง 2-3 ครั้ง ก็จะหาย[1]
- ต้นและใบสด เมื่อนำมาตำผสมกับเหล้าแล้ว สามารถนำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำหรือเคล็ดขัดยอกได้[1]
- ส่วนที่เหลือจากการนำไปใช้แก้ฟกช้ำแล้ว สามารถนำมาพอกถอนพิษตะขาบและพิษแมงป่องได้[1]
- น้ำยาง เมื่อนำมาใช้ทาบริเวณบาดแผลที่ถูกกัด พอรู้สึกว่ายางเริ่มแห้งแล้ว ก็ให้ทาซ้ำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 30 นาที จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการบวมได้
ประโยชน์ของต้นว่านตะขาบ
- คนจีนนิยมนำมาปลูกในกระถางไว้ดูเพื่อความสวยงามตามบ้าน หรือตามสวนยาจีนทั่วไป[1]
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่าน ตีน ตะ ขาบ”. หน้า 712-713.
2. ไทยโพสต์. “ว่าน ตีน ตะ ขาบ-ตะขาบหิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net. [20 ส.ค. 2014].