สบู่ดำ วัตถุดิบน้ำมันที่สำคัญในอนาคต สรรพคุณต้านมะเร็ง แก้โรคผิวหนัง ฟอกเลือด

0
1465
สบู่ดำ
สบู่ดำ น้ำมันในอนาคต ต้านมะเร็ง แก้โรคผิวหนัง ฟอกเลือด พืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มี ยางสีขาวที่ผิวลื่นเป็นฟองคล้ายกับสบู่ เป็นยาสมุนไพรชั้นยอด

สบู่ดำ

สบู่ดำ

สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีจุดเด่นอยู่ที่ต้นจะมียางสีขาวที่ผิวลื่นเป็นฟองคล้ายกับสบู่ และส่วนของเมล็ดมีสีดำ จึงเป็นที่มาของชื่อ เป็นพืชต้นที่มีอายุยืนมาก เป็นยาสมุนไพรชั้นยอด และกำลังเป็นวัตถุดิบที่น่าจับตามองของโลก ในด้านของการนำมาผลิตในอุตสาหกรรมอย่างสบู่ เป็นน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล อุตสาหกรรมย้อมสีและฟอกหนัง และอื่น ๆ อีกมากมาย แถมยังใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย แต่ว่าผลและเมล็ดของสบู่ดำนั้นมีพิษมาก ก่อนนำมาใช้จึงควรระมัดระวังและกำจัดพิษออกเสียก่อน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสบู่ดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha curcas L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Black soap” “Physic nut” “Purging nut” “Barbados nut” “Kuikui pake” “Pignon d’inde”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ละหุ่งรั้ว สบู่หัวเทศ สลอดป่า สลอดดำ สลอดใหญ่ สีหลอด” ภาคเหนือเรียกว่า “ มะเยา หมักเยา มะหัว มะหุ่งฮั้ว มะโห่ง หกเทก” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “มะเยา หมากเย่า สีหลอด” ภาคใต้เรียกว่า “หงส์เทศ มาเคาะ” ชาวหม่าเรียกว่า “แจ้ทซู” ชาวเมขรเรียกว่า “ทะวอง” แต้จิ๋วเรียกว่า “มั่วฮองซิว” จีนกลางเรียกว่า “หมาฟ่งสู้” ญี่ปุ่นเรียกว่า “บูราคีรี”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

ลักษณะของสบู่ดำ

สบู่ดำ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางที่อายุยืน เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้
ลำต้น : ลำต้นเรียบ ที่เนื้อไม้ไม่มีแก่น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบหยักตื้นและค่อนข้างกลมหรือเป็นไข่ป้อม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีรอยหยัก 3 – 5 หยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอดและง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองและมีกลิ่นหอม ในช่อมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย ดอกตัวเมียมีกลีบรองดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในหลอดมีขน เกสรตัวผู้มี 10 อันที่เรียงเป็นวง 2 วง
ผล : มีลักษณะกลมเป็นพู 3 พู มีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลมีอายุ 60 – 90 วัน
เมล็ด : เมล็ดมีสีดำกลมวงรี ที่ผิวเกลี้ยง สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวขนาดเล็ก

สรรพคุณของสบู่ดำ

สรรพคุณจากยางจากก้านใบ ช่วยรักษาโรคปากนกกระจอก ช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าขาวละออง ใช้ห้ามเลือด
สรรพคุณจากใบ เป็นยาฟอกเลือด ช่วยแก้ธาตุพิการในเด็ก ช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง ช่วยแก้อาการปากและลิ้นเปื่อยพุพอง ช่วยลดอาการไข้ แก้อาการไอ ช่วยแก้พิษซาง ถอนพิษที่ทำให้ตัวร้อน ช่วยแก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ช่วยแก้บาดแผล รักษาแผลเรื้อรัง แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน แก้คัน แก้หิด รักษาฝีและช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้อาการปวดบวม ช่วยแก้กระดูกหัก แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก แก้ฟกช้ำบวม ช่วยขับน้ำนมของสตรี ช่วยฆ่าเชื้อโรคภายหลังการคลอดบุตรของสตรี ลดน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล
สรรพคุณจากยาง เป็นสารต้านมะเร็ง ช่วยแก้อาการปากและลิ้นเปื่อยพุพอง ช่วยสมานแผลสด แก้แผลจากมีดบาด แก้แผลปากเปื่อย ช่วยต่อต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคผิวหนังบางชนิด รักษาตาแดง ช่วยแก้อาการคัน
สรรพคุณจากกิ่งก้าน ช่วยแก้อาการเหงือกบวมอักเสบ
สรรพคุณจากเนื้อไม้ ช่วยแก้อาการปากและลิ้นเปื่อยพุพอง ช่วยแก้พิษซาง ถอนพิษที่ทำให้ตัวร้อน
สรรพคุณจากลำต้น แก้ซางตานขโมยในเด็ก ช่วยแก้โรคพุพอง
สรรพคุณจากราก ช่วยทำให้อาเจียน เป็นยาแก้ท้องเสีย เป็นยาระบาย แก้อาการปวดตามข้อ
สรรพคุณจากผล เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้บิด ช่วยแก้ท้องเสีย เป็นยาถ่ายพยาธิ
สรรพคุณจากเปลือก เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้บาดแผล แก้อาการปวดบวม แก้กระดูกหัก แก้อาการเคล็ดขัดยอก แก้ฟกช้ำบวม แก้อาการปวดท้อง
สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียนด้วย ช่วยรักษาตับอักเสบ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน แก้คัน แก้หิด ช่วยแก้อาการบวมแดง แก้อาการคัน รักษาโรคข้ออักเสบและโรคเกาต์
สรรพคุณจากน้ำยางจากต้น ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้ห้ามเลือด ช่วยแก้โรคผิวหนังบางชนิด
สรรพคุณจากน้ำยาง รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลจากน้ำร้อนลวก
สรรพคุณจากต้น รักษาโรคไหม้ แก้โรคหิด แก้แผลที่เป็นสะเก็ด
สรรพคุณจากน้ำมันสบู่ดำ แก้อาการปวดในคนที่เป็นโรครูมาติสซั่ม
สรรพคุณจากน้ำมันจากเมล็ด แก้อาการปวดตามข้อ ช่วยแก้อาการคัน แก้อาการปวดเมื่อย รักษาบาดแผลเล็กน้อย

ประโยชน์ของสบู่ดำ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใช้ทำเป็นอาหารและทำเครื่องดื่ม ชาวเมี่ยนนำยอดอ่อนมาทานกับลาบ ใบอ่อนนำมานึ่งหรือต้มทานได้
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ดอกนำมาใช้เลี้ยงผึ้งเพื่อผลิตน้ำผึ้งได้ ต้นใช้ทำเป็นยาเบื่อปลา เป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ได้ ทำเป็นยาฆ่าแมลง เมล็ดใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ กากเมล็ดส่วนที่เหลือจากการหีบเอาน้ำมันไปใช้ สามารถนำมาอัดเป็นก้อนใช้ทำปุ๋ยได้ ปลูกเพื่อป้องกันการถูกชะล้างพังทลายของหน้าดินและใช้เก็บกักน้ำได้ น้ำมันจากเมล็ดนำมาใช้ทำเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ มีการนำสบู่ดำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงและแมลงวัน
3. เป็นส่วนผสมของยา ต้น เมล็ด ใบ และเปลือกไม้นำมาสกัดทำเป็นยาพื้นบ้านได้
4. ใช้ในด้านความงาม เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงรากผม ก้านเป็นส่วนผสมในการทำเป็นสบู่ได้
5. ใช้ในด้านอุตสาหกรรม น้ำมันจากเมล็ดนำมาผลิตเป็นน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลได้ ผลแก่นำมาผ่าครึ่งใช้น้ำยางจากผลจุดตะเกียงแทนน้ำมันได้ กากเมล็ดนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องสตีมเทอร์ไบน์ นำมาใช้ทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นและเทียนไข เปลือกไม้ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมสีและฟอกหนัง เส้นใยใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าได้ ต้นสบู่ดำใช้ทำเป็นกระดาษและทำเป็นไม้อัด ใช้ทำเป็นเครื่องมือทำการเกษตรและอุตสาหกรรมครัวเรือน ใช้ทำเป็นฟืนและถ่าน ใช้ทำเป็นวัสดุก่อสร้าง กิ่งก้านและต้นนำมาผลิตเป็นถ่าน เมล็ดนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรือครีมถนอมผิว
6. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นร่มเงา

สบู่ดำ เป็นวัตถุดิบที่กำลังมาแรงในด้านอุตสาหกรรมน้ำมัน เพราะทุกวันนี้เชื้อเพลิงน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลกลายเป็นสิ่งหายาก และเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่จำเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสำคัญต่อการเกษตรอีกด้วย สบู่ดำมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ต้านมะเร็ง แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาตับอักเสบ แก้โรคผิวหนัง ช่วยแก้กระดูกหัก แก้ปวดบวมและเป็นยาฟอกเลือดได้

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
สื่อการสอนครู โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tc.mengrai.ac.th. [19 ต.ค. 2013].
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสบู่ดำ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.crma.ac.th. [19 ต.ค. 2013].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง ( องค์กรมหาชน ). อ้างอิงใน: พจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม), สมุนไพรไทยตอนที่5 ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้ (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [19 ต.ค. 2013].
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล. “สบู่ขาวหรือสบู่ดำ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [19 ต.ค. 2013].
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “สรรพคุณทางยาของสบู่ดำมีอะไรบ้าง ?“. อ้างอิงใน: หนังสือสบู่ดำพืชพลังงานสารพัดประโยชน์ (ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: siweb.dss.go.th. [19 ต.ค. 2013].
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “สารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์จากส่วนต่าง ๆ ของสบู่ดำ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rdi.ku.ac.th. [19 ต.ค. 2013].
กระทรวงสาธารณสุข. “สธ.ชี้อันตรายเมล็ดสบู่ดำมีสารพิษห้ามกินอย่างเด็ดขาด พิษอาจถึงตาย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.moph.go.th. [19 ต.ค. 2013].
สำนักงานเกษตรอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน. “สบู่ดำกับน้ำมันดีเซล“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: songkhwae.nan.doae.go.th. [19 ต.ค. 2013].
biogang. อ้างอิงใน: www.stks.or.th. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.biogang.net. [19 ต.ค. 2013].
POSITIONING. “สบู่ดำจากพืชพื้นบ้าน…สู่พืชพลังงานทดแทนน้ำมัน“. อ้างอิงใน: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (21 เมษายน 2548). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.positioningmag.com. [19 ต.ค. 2013].
Oknation. “เดินตามรอยเท้าพ่อ…..สบู่ดำ…..ทางเลือกของพลังงานทดแทน“. อ้างอิงใน: วารสารรักษ์พลังงาน ฉบับที่ 47 เดือน เมษายน 2551. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.oknation.net. [19 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/
รูปอ้างอิง
1.https://www.sciencephoto.com
2.https://www.gardeningknowhow.com