หญ้าขัดใบป้อม
หญ้าขัดใบป้อม เป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือกลม ดอกสีเหลือง พบมากในป่าประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยพบได้ในป่าเขตร้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sida cordifolia L. โดยจัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าขัดใบ, ตานทราย
ลักษณะหญ้าขัดใบป้อม
- ต้น เป็นไม้ล้มลุก
– จะมีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร
– ที่กิ่งก้านนั้นก็จะมีขนรูปดาวขึ้นอยู่แน่นคละกันไปกับขนนุ่ม[2] - ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่กลับ
– มีความกว้างประมาณ 1-4 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร
– ปลายใบมน โคนใบเว้าตื้นเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบนั้นจะหยัก
– บนผิวใบก็จะมีขนรูปดาวขึ้นอยู่แน่นทั้งสองด้าน และยังมีหูใบเป็นรูปเส้นด้าย[2] - ดอก มีสีเหลือง ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก
– ดอกเมื่อบานแล้วจะมีความกว้างประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร และก็จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร[2] - ผล เป็นผลแห้งแตกได้
– มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร
– มีซีกผลประมาณ 10 ซีก
– แต่ละซีกผลที่ปลายจะมีหนามแหลมอยู่ 2 อัน และมีขนแข็งชี้ลง
– ในแต่ละซีกจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดนั้นค่อนข้างยาวและมีขนสั้น ๆ อยู่ที่ปลาย[2]
สรรพคุณ
- ราก ช่วยแก้ไข้ (ราก)[2]
- ราก ช่วยแก้โรคกระเพาะ (ราก)[2]
- ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)[2]
- ใบ สามารถนำมาตำพอกแผลโดนน้ำร้อนลวกและแผลเป็นหนอง (ใบ)[2]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- ใบมีสารเอฟิดรีน (Ephedrine) ซึ่งมีฤทธิ์ในการขยายหลอดลม สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืดได้ และยังมีผลทำให้ม่านตาขยาย[4]
- เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบกับหนูถีบจักร ผลการทดลองพบว่าปริมาณที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งคือปริมาณ 2,639 มก./กก. และในขนาดที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางเมื่อฉีดสารสกัดเข้าช่องท้องขนาด 1,000 มก./กก. พบว่าจะมีอาการกดประสาท ทำให้มีการเดินน้อยลง ลดการตอบสนองต่อการสัมผัส ปวด และมีปัสสาวะน้อยลง[3]
สั่งซื้ออาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. รายชื่อพรรณไม้ (ป่า) ในประเทศไทย เครือข่ายการวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “Family : MALVACEAE“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.frcdb.forest.ku.ac.th/Forest/. [22 ธ.ค. 2013].
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หญ้าขัดใบ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [22 ธ.ค. 2013].
3. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางของ หญ้า ขัด ใบ ป้อม“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [22 ธ.ค. 2013].
4. โครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชสมุนไพร“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tkc.go.th. [22 ธ.ค. 2013].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiabiodiversity.org/