หญ้าขัดหลวง วัชพืชดอกสีเหลืองสวยงามสรรพคุณช่วยขับเสมหะ

0
1378
หญ้าขัดหลวง
หญ้าขัดหลวง วัชพืชดอกสีเหลืองสวยงามสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ชอบความชุ่มชื้นและทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ตามชายป่า พื้นที่รกร้าง หรือตามข้างถนน
หญ้าขัดหลวง
วัชพืชดอกสีเหลืองสวยงาม ชอบความชุ่มชื้นและทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ตามชายป่า พื้นที่รกร้าง หรือตามข้างถนน

หญ้าขัดหลวง

หญ้าขัดหลวง วัชพืชดอกสีเหลืองสวยงามชอบความชุ่มชื้นและทนต่อน้ำท่วมขัง พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Sida subcordata Span. และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Sida corylifolia Wall. ex Mast. ถูกจัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขัดมอนตัวผู้, ขัดมอนหลวง เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะขัดมอนตัวผู้

  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – ลำต้นและก้านจะมีขนาดเล็ก เป็นสีแดงหรือสีม่วง
    – เปลือกของต้นนั้นบาง และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุม
    – ต้นขัดมอนหลวงสามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ตามชายป่า พื้นที่รกร้าง หรือตามข้างถนนหนทางต่าง ๆ
    – เป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นและทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่กลับ ผิวใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบมนหรือเว้า ส่วนขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อย
  • ดอก จะออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกอยู่บริเวณซอกใบและปลายกิ่ง
    – ดอกย่อยนั้นมีขนาดเล็กและเป็นสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ
    – มีริ้วประดับ ในขณะที่ดอกตูมอยู่ ชั้นกลีบเลี้ยงก็จะหุ้มดอกไว้
    – กลีบดอกเป็นสีเหลืองมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน
    – มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมากอยู่กลางดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอด ๆ
  • ผล เป็นผลแห้งและแตกได้
    – ในผลนั้นจะประกอบไปด้วยซีกผลหลายซีก และในแต่ละซีกผลที่ปลายก็จะมีหนามแหลม 2 อัน

สรรพคุณหญ้าขัดหลวงทั้งต้น

  • สามารถช่วยบำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน
  • สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาเจียน
  • สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน
  • สามารถช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม)[2]
  • สามารถช่วยแก้พิษโลหิต (ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม)[2]
  • สามารถช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย (ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม)[2]

สั่งซื้ออาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. รายชื่อพรรณไม้ (ป่า) ในประเทศไทย เครือข่ายการวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “Family : MALVACEAE“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.frcdb.forest.ku.ac.th/Forest/. [22 ธ.ค. 2013].
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Sida subcordata Span.“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [22 ธ.ค. 2013].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://efloraofindia.com