จำปี
จำปี มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน มาเลเซียและอินโดนีเซีย ชื่อสามัญ คือ White champaka, White sandalwood, White jade orchid tree ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Michelia alba DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Michelia longifolia var. racemosa Blume จัดอยู่ในวงศ์จำปา (MAGNOLIACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ จุมปี จุ๋มปี๋ (ภาคเหนือ)
ลักษณะของจำปี
- ลักษณะของต้น
– มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– สามารถแบ่งสปีชีส์ได้ประมาณ 50 ชนิด
– เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
– ลำต้นสูงใหญ่กว่าจำปาเล็กน้อย
– มีความสูง 10-20 เมตร
– ลำต้นมีสีน้ำตาลแตกเป็นร่องถี่ ๆ
– กิ่งมีขนสีเทา
– เปราะและหักง่าย
– สามารถขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด - ลักษณะของใบ
– มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว
– ใบสีเขียว
– โคนใบมน
– ปลายใบแหลม
– ขอบใบเรียบ
– ใบหนาและมีขนาดใหญ่
– มีความกว้าง 8 เซนติเมตร และยาว 20 เซนติเมตร - ลักษณะของดอก
– ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว
– มีกลิ่นหอม
– มีสีขาวคล้ายกับสีงาช้าง
– ดอกมีกลีบซ้อนกันอยู่ 8-10 กลีบ
– กลีบดอกจะเรียวกว่าดอกจำปา
– และมีความยาวประมาณ 2 นิ้ว
– ตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ๆ
– ยอดแหลมคล้ายฝักข้าวโพดเล็ก ๆ
– โดยดอกจะออกดอกได้ตลอดทั้งปี - ลักษณะของผล
– ผลออกเป็นกลุ่ม
– เมื่อแก่จะแห้งแตก
– รูปร่างคล้ายไข่หรือทรงกลม
– บิดเบี้ยวเล็กน้อย
– ผลแก่มีสีแดง
– มีเมล็ดเล็ก ๆ สีดำ 1-4 เมล็ด
สรรพคุณของจำปี
- ดอก ช่วยบำรุงประสาท
- ดอก ช่วยบำรุงโลหิต
- ดอก ช่วยบำรุงน้ำดี
- ดอก ช่วยบำรุงหัวใจ
- ดอก ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์
- กลีบดอก มีน้ำมันหอมระเหย สามารถนำมาใช้ทาแก้อาการปวดศีรษะได้
- ดอกและผล ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
- ดอกและผล ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน
- ดอกและผล ช่วยขับปัสสาวะ
- น้ำมันจากดอก ช่วยแก้อาการตาบวม
- ดอกตูม สามารถใช้สำหรับการรักษาอาการหลังการแท้งบุตรได้
- ใบ สามารถนำมาใช้ต้มแก้ต่อมลูกหมากอักเสบได้
- ใบ สามารถนำมาใช้ต้มแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรังได้
- ใบ มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการไอ และอาการหอบได้ แต่ได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น
ประโยชน์ของจำปี
- ดอกใช้บูชาพระได้
- ดอกใช้ทำอุบะ ห้อยชายพวงมาลัยได้
- ดอกใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้
- ดอกใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอมได้
- เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนได้
- สามารถนำมาใช้ปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับได้
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3, เว็บไซต์สวนมิตรปราณี, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.treesandshrubsonline.org/
2.https://efloraofindia.com/