ตะบูนขาว สมุนไพรแก้ท้องร่วง แก้อหิวาตกโรค

0
1368
ตะบูนขาว
ตะบูนขาว สมุนไพรแก้ท้องร่วง แก้อหิวาตกโรค เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กจนถึงต้นที่มีขนาดกลาง ดอกมีสีขาวอมเหลือง ผลทรงกลม ผิวเปลือกแข็งสีน้ำตาล น้ำหนัก1-2 กิโลกรัม
ตะบูนขาว
เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กจนถึงต้นที่มีขนาดกลาง ดอกมีสีขาวอมเหลือง ผลทรงกลม ผิวเปลือกแข็งสีน้ำตาล น้ำหนัก1-2 กิโลกรัม

ตะบูนขาว

ต้นตะบูนขาวได้ที่ตามชายฝั่งของทะเลในพื้นที่ภูมิประเทศเขตร้อนชื้น ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา เอเชีย ไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย[2] เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตได้ดีในน้ำกร่อย ส่วนใหญ่มักจะขึ้นปะปนอยู่กับพันธุ์ไม้ป่าชายเลนนานาพรรณ เช่น ต้นหัวสุมดอกขาว ต้นไม้พังกา ต้นถั่วดำตาตุ่มทะเล และต้นโกงกางใบเล็ก[1],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์: Xylocarpus granatum J. Koenig[1] จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์กระท้อน (MELIACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ กระบูน กระบูนขาว (ในภาคกลาง, ภาคใต้), หยี่เหร่ (ในภาคใต้) เป็นต้น[1],[2],[3],[4]

ลักษณะของตะบูนขาว

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กจนถึงต้นที่มีขนาดกลาง มีความสูง 10-15 เมตร ลำต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้าง ซึ่งจะมีรูปร่างที่ไม่ค่อยแน่นอนนัก เนื่องจากลำต้นมักจะคดงอ เปลือกต้นนั้นจะมีสีเป็นสีเทาหรืออาจจะมีสีเป็นสีเทาอมขาว หรือบ้างก็พบเห็นเป็นสีน้ำตาลแดง เปลือกภายนอกจะลักษณะเป็นรอยแตกล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายคลึงกันกับเปลือกของต้นตะแบก ส่วนที่โคนต้นจะมีลักษณะเป็นแบบพูพอน จุดเด่นจะอยู่ที่เป็นไม้ที่ผลัดใบแต่สามารถผลิใบใหม่ได้อย่างรวดเร็ว[1],[3]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่อยู่เรียงสลับกัน มีใบย่อยเรียงอยู่ตรงข้ามกันมีด้วยกันอยู่ 2 คู่ ซึ่งใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ บริเวณปลายใบมน บริเวณตรงโคนของใบจะเรียวสอบ แผ่นใบผิวสัมผัสที่ค่อนข้างจะหนาแต่ตัวใบนั้นเปราะได้ง่าย ส่วนบริเวณตรงขอบใบนั้นจะโค้งลงและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงของใบมีอยู่ข้างละ 6-9 เส้น ก้านใบสั้นมีสีเป็นสีน้ำตาลตัดกับสีเขียวของใบ[1] ใบกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร และยาวอยู่ที่ประมาณ 6-12 เซนติเมตร ก้านใบ 3-5 มิลลิเมตร[1]
  • ดอก มีสีขาวอมเหลือง โดยการออกดอกนั้นจะออกดอกรวมเป็นช่อและแตกแขนงไปตามซอกใบอีกทีหนึ่ง กลีบเลี้ยงเป็นรูปสามเหลี่ยมสั้น ๆ มีอยู่ด้วยกัน 4 กลีบ ส่วนกลีบดอกก็มี 4 กลีบเช่นเดียวกัน ดอกบานได้เต็มที่จะกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และดอกตะบูนจะส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในเวลาช่วงบ่ายถึงเวลาโพล้เพล้ไปจนถึงช่วงค่ำมืด ดอกจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อยู่ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย[1]
  • ผล เป็นผลแบบแห้งแตก ผลจะมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวเปลือกแข็งเป็นสีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร ก้านผลมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผลมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ผิวจะมีลักษณะเป็นร่องตามยาวของผลอยู่ 4 แนว หรือก็คือผลสามารถแบ่งได้เป็น 4 พูในลักษณะที่เท่า ๆ กัน มีเมล็ดอยู่ที่ประมาณ 4-17 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดจะเป็นรูปเหลี่ยมโค้งจะนูนที่ตรงปลายแล้วค่อยประสานเข้าหากันเป็นรูปทรงกลม โดยหนึ่งด้านของเมล็ดจะกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร

สรรพคุณของตะบูนขาว

  • ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (เปลือก, เมล็ด)[2]
  • เปลือกและผล ช่วยแก้อหิวาตกโรค (ผล)[2]
  • เปลือกและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการไอ [2]
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือก, เมล็ด)[1],[2]
  • ใช้เป็นยาแก้บิด (เปลือก, เมล็ด)[1]
  • เปลือกและเมล็ดใช้ต้มเพื่อใช้ชะล้างแผล (เปลือก, เมล็ด)[1]

ประโยชน์ ของตะบูนขาว

1. สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (เปลือก, เมล็ด)[2]
2. นำมาใช้เป็นยาแก้อาการบิดได้ (เปลือก, เมล็ด)[1]
3. นำมาต้มเอาแต่น้ำเพื่อใช้ชะล้างบาดแผลภายนอกร่างกายได้ (เปลือก, เมล็ด)[1]
4. เปลือกและเมล็ด มีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไอ (เปลือก, เมล็ด)[2]
5. สามารถช่วยแก้อาการท้องร่วงได้ (เปลือก, เมล็ด)[1],[2]
6. เปลือก สามารถนำมาช่วยรักษาโรคอหิวาต์ได้ (เปลือก)[1]
7. ผล นำมาใช้รักษาโรคอหิวาต์ได้เช่นเดียวกันกับส่วนเปลือก (ผล)[1],[2]
8. ต้นมีเนื้อไม้ที่เป็นสีขาว สามารถนำมาใช้สร้างเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับการตกแต่งบ้านเรือน อาคาร หรือสถานที่ต่าง ๆ ได้[2]
9. เปลือก ให้น้ำฝาด สำหรับการนำมาใช้ย้อมสีผ้า[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ต ะ บู น ข า ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [15 พ.ย. 2013].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตะ บูน ขาว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [15 พ.ย. 2013].
3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. “ต ะ บู น ข า ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th. [15 พ.ย. 2013].
4. ทัศนศึกษาออนไลน์. “พืชและสัตว์ที่พบในป่าชายเลน“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: fieldtrip.ipst.ac.th. [15 พ.ย. 2013].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://uforest.org/plants/species?q=Xylocarpus_granatum
2.https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/10854375893