กำจัดดอย
ต้นกำจัดดอย เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก มีความสูงได้ถึง 5 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสีแดงเข้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zanthoxylum acanthopodium DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หมักก้ากดอยสุเทพ (ภาคเหนือ), มะเคะ พะเคะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ลำข่วง (ลั้วะ), มะข่วง
- ลักษณะของใบ [1]
– เป็นใบประกอบแบบขนนก
– ออกเรียงสลับกัน
– ใบย่อยเป็นรูปใบหอกหรือรูปวงรีแกมใบหอก
– ขอบใบหยักโค้ง
– ใบมีความกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาว 5-7 เซนติเมตร
– ก้านใบเป็นสีแดง มีขน - ลักษณะของดอก [1]
– ออกดอกเป็นช่อกระจุก
– ออกดอกตามซอกใบ
– ดอกย่อยมีหลายดอก
– ก้านดอกสั้น
– กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม - ลักษณะของผล [1]
– เป็นผลแห้ง และแตกได้
– ผลเป็นรูปทรงกลม
สรรพคุณของกำจัดดอย
- เปลือกต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดฟันได้[1]
- เมล็ด เมื่อนำมาตำ แล้วต้มหรือตุ๋นกับไก่ สามารถใช้เป็นยาแก้อีสุกอีใสได้[1]
- ใช้รักษาโรคเริมและงูสวัดได้(วงศ์สถิตย์และคณะ, 2539)
ประโยชน์ของกำจัดดอย
- ผล สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบอาหารได้ และจะมีรสชาติคล้ายมะแขว่น[2]
- เนื้อไม้ สามารถนำไปเผาถ่าน และผสมกับดินปืนได้[2]
- เมล็ด ใช้ประมาณ 2 กิโลกรัม นำมาตำคลุกกับขี้เถ้า สามารถนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลาให้เมาได้ และเนื้อปลาจะไม่มีพิษ[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กำจัดดอย”. หน้า 228.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หมักก้ากดอยสุเทพ , มะข่วง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [16 มิ.ย. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/helicongus/8255741594
2.https://www.boca-plantes.fr/catalogue/Poivrier-du-Timut-Zanthoxylum-armatum-p489495391