โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella )
โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella ) คือ เชื้อที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นคันที่มีตุ่มเล็ก ๆ ที่มีของเหลว สามารถติดต่อได้

อีสุกอีใส คืออะไร

โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella ) คือ เชื้อที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นคันที่มีตุ่มเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยของเหลวสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้หรือไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่ก็อาจพบได้ในผู้ใหญ่ซึ่งมีความรุนแรงกว่าเด็กอย่างไรก็ตามสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยอัตราส่วนเพศชาย 1 เท่ากับ เพศหญิง 1.02 เป็นกันมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี 

สาเหตุของการเกิดอีสุกอีใส

การติดเชื้ออีสุกอีใสเกิดจากไวรัส มันสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มที่มีของเหลวนอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นโดยผู้ป่วยมีอาการไอหรือจาม และผู้อยู่ใกล้สูดดมละอองอากาศที่มีเชื้ออีสุกอีใสเข้าสู่ร่างกาย การติดเชื้ออีสุกอีใสปรากฏ 10 ถึง 21 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัสและมักจะใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน ถึงจะแสดงอาการอื่น ๆ ซึ่งอาจปรากฏก่อนผื่น 1-2 วัน

โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella ) คือ เชื้อที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นคันที่มีตุ่มเล็ก ๆ มีของเหลวภายในตุ่ม สามารถติดต่อกันได้

อาการของอีสุกอีใส

  • ผื่นแดง
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจถี่
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาการไอ จาม
  • อาเจียน
  • มีไข้สูงกว่า 38.9 ํC

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอีสุกอีใส

  • หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส
  • ทารกแรกเกิด และทารกที่มารดาไม่เคยมีโรคอีสุกอีใสหรือวัคซีน
  • วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
  • คนที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
  • ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
  • คนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ผู้ป่วยที่เคยใช้ยา เช่น เคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วย HIV
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาสเตียรอยด์
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด

ภาวะแทรกซ้อนของอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่อาจร้ายแรงและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน

  • การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังเนื้อเยื่ออ่อนกระดูกข้อต่อหรือกระแสเลือด ( การติดเชื้อ )
  • ภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่
  • โรคปอดบวม
  • การอักเสบของสมอง ( โรคไข้สมองอักเสบ )
  • กลุ่มอาการช็อกพิษ
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

การวินิจฉัยโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสได้โดยตรวจดูตุ่มผื่นและพิจารณาอาการอื่น ๆ แพทย์สามารถสั่งยาเพื่อลดความรุนแรงของโรคอีสุกอีใสและรักษาโรคแทรกซ้อนหากจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อสู่ผู้อื่นหรือผู้ใกล้ชิด 

การป้องกันโรคอีสุกอีใส

ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสให้ครบ 2 เข็ม โดยเริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 1 ปี ( 12-15 เดือน ) และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 – 6 ปี หากผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใส ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มีต่อตนเองและบุตรในครรภ์ที่ยังไม่เกิด

สำหรับโรคอีสุกอีใสจะไม่รุนแรง แต่หากเกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทารกในครรภ์อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
Chickenpox – Symptoms and causes (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.mayoclinic.org [7 พฤษภาคม 2562].