ว่านไพลดำ
ว่านไพลดำ ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zingiber ottensii Valeton จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ปูเลยดำ (ภาคเหนือ), ไพลดำ ไพลม่วง ไพลสีม่วง (กรุงเทพฯ), ไพลสีม่วง ดากเงาะ (ปัตตานี), จะเงาะ (มลายู-ปัตตานี), ว่านกระทือดำ[1],[2]
ลักษณะของต้นว่านไพลดำ
- ต้น[1],[2]
– เป็นพรรณไม้ล้มลุก
– มีอายุได้นานหลายปี
– มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ
– ต้นมีความสูง 1.5-3 เมตร หรืออาจจะสูงได้ถึง 5 เมตร
– เหง้าอยู่ใต้ดิน
– เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อน
– สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
– ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก
– เพราะว่าว่านชนิดนี้จะสามารถเจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น
– สามารถพบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น - ใบ[2]
– ใบเป็นใบเดี่ยว
– ออกเรียงสลับกัน
– ใบเป็นรูปขอบขนาน
– ปลายใบเรียว
– โคนใบมน
– ขอบใบเรียบ
– ใบมีความกว้าง 6-8 เซนติเมตร และยาว 26-30 เซนติเมตร
– แผ่นใบหนา
– เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน
– เส้นด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน
– ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
– มีสีม่วงคล้ำ
– กาบใบซ้อนกันแน่น
– ไม่มีขนหรืออาจจะมีประปราย
– ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ เป็นรูปไข่ ปลายมน - ดอก[2]
– ออกดอกเป็นช่อ
– ออกจากโคนต้นแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน
– ช่อดอกยาวประมาณ 9 เซนติเมตร
– ก้านช่อดอกยาวประมาณ 14 เซนติเมตร
– ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกเกือบกลม
– โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
– ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน มีประสีม่วงแดงอ่อน ๆ
– กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบบาง
– มีใบประดับสีเขียวปนแดงวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ทำให้ดูคล้ายกับเกล็ดปลา
– ใบประดับถ้าอ่อนจะเป็นสีแดงอมเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม
– กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีใส
– เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบมีหยัก 3 หยัก
– หยักกลางหรือกลีบปากใหญ่ เป็นรูปกลมแกมรูปขอบขนาน
– ปลายแยก 2 หยักตื้น ๆ
– หยักข้างมี 2 หยักสั้น เป็นรูปไข่ ปลายมน สีเหลืองอ่อน
– ปลายเกสรเพศผู้จะเป็นจะงอนยาวโค้ง สีเหลืองส้ม
– เกสรเพศเมีย ก้านเป็นสีขาว ยอดเกสรเป็นรูปกรวย สีขาว
– รังไข่เป็นสีขาว
– จะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม - ผล[2]
– เป็นผลแห้งและแตกได้
– ผลเป็นรูปทรงกระบอก
– เป็นสีแดง
– ออกผลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
สรรพคุณของว่านไพลดำ
- ทั้งต้น สามารถช่วยรักษาอาการบวม อาการช้ำทั้งตัวได้[1]
- ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นพิษได้[1]
- ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาอายุวัฒนะและยาบำรุงกำลังได้[1]
- ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย[2]
- ใบ มีรสขื่นเอียน สามารถใช้เป็นยาแก้ครั่นเนื้อครั่นตัว[2]
- ดอก มีรสขื่น สามารถใช้เป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยกระจายเลือดที่เป็นก้อนลิ่ม[2]
- ราก สามารถนำมาใช้แก้อาเจียนเป็นเลือดได้[2]
- ราก มีรสขื่นเอียน สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้เลือดกำเดาออกทางปาก ทางจมูกได้[2]
- เหง้าสด สามารถนำมาบดให้เป็นผง และผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ด ใช้เป็นยาช่วยเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ[2]
- เหง้าสดตากแห้ง สามารถนำมาบดให้เป็นผง และนำมาผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ด ใช้เป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาอายุวัฒนะได้[2]
- เหง้าสด สามารถช่วยขับประจำเดือนของสตรี[2]
- เหง้า สามารถนำมาฝนใช้เป็นยาทาสมานแผล[2]
- เหง้าสด สามารถนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยาระบายอ่อน ๆ[2]
- เหง้าสด สามารถนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้เป็นยาแก้บิด[2]
- เหง้าสด สามารถนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้[2]
ประโยชน์ของว่านไพลดำ
- สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป แต่การปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษาทำได้ยาก[1]
- ในด้านของความเชื่อนั้น เป็นว่านที่ทำให้คงกระพันชาตรี[2]
- การนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี จะต้องเสกด้วยคาถา “พุทธังเป็นยา ธัมมังรักษา สังฆังหาย ตะหัง นะหิโสตัง” 3 จบ และ “นะโมพุทธายะ” 7 จบ[3]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่าน ไพล ดำ”. หน้า 725-726.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ว่าน ไพล ดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [21 ส.ค. 2014].
3. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่าน ไพล ดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [21 ส.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.nparks.gov.sg/
2.https://www.flickr.com/
3.http://www.epharmacognosy.com/