หนาดดำ กับสรรพคุณรู้ไว้ติดตัว

0
1353
หนาดดำ กับสรรพคุณรู้ไว้ติดตัว เป็นพรรณไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรงมีขนสากมือ ดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง ผลแห้งขนนุ่ม
หนาดดำ
พรรณไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรงมีขนสากมือ ดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง ผลแห้งขนนุ่ม

หนาดดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acilepis squarrosa D.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Vernonia squarrosa (D.Don) Less.) จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2]
ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ม่วงนาง (ชัยภูมิ), เกี๋ยงพาช้าง (ภาคเหนือ)[2] บางตำราใช้ชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า “หนาดคำ“[1]

ลักษณะของหนาดดำ

  • ลักษณะของต้น[1]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีอายุหลายปี
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูงได้ถึง 40-100 เซนติเมตร
    – มีขนที่ค่อนข้างสากมือ
  • ลักษณะของใบ[1]
    ใบเป็นใบเดี่ยว
    ออกเรียงสลับกัน
    ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่
    ใบมีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 4-8 เซนติเมตร
    ผิวใบด้านล่างมีขน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเดี่ยวหรือจะออกเป็นช่อเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 ดอก
    – จะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – ดอกมีขนาด 1-2 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง
    – อัดกันแน่นอยู่บนกลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีเขียว
    – กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป
    – จะสามารถออกได้ตลอดทั้งปี
  • ลักษณะของผล[1]
    – ผลเป็นผลแห้ง
    – ไม่แตก
    – มีขนนุ่ม
    – มี 10 สัน

สรรพคุณของหนาดดำ

  • ทั้งต้นและราก สามารถนำมาผสมกับสมุนไพรต้นหรือรากของผักอีหลืน ต้นสังกรณีดง ต้นตรีชวา และหัวยาข้าวเย็น นำมาใช้ต้มกับน้ำดื่ม เพื่อใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย[1]
  • รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง
  • ใบ นำมาย่างไฟแล้วนำมาพันขาจะช่วยบรรเทาอาการปวด
  • ใบ นำมาอังไฟใช้ประคบบริเวณที่มีอาการเคล็ด ปวดบวม

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนาด ดำ”. หน้า 224.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หนาด ดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [14 ก.ค. 2015].