หนาดดำ
พรรณไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรงมีขนสากมือ ดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง ผลแห้งขนนุ่ม

หนาดดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acilepis squarrosa D.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Vernonia squarrosa (D.Don) Less.) จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2]
ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ม่วงนาง (ชัยภูมิ), เกี๋ยงพาช้าง (ภาคเหนือ)[2] บางตำราใช้ชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า “หนาดคำ“[1]

ลักษณะของหนาดดำ

  • ลักษณะของต้น[1]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีอายุหลายปี
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูงได้ถึง 40-100 เซนติเมตร
    – มีขนที่ค่อนข้างสากมือ
  • ลักษณะของใบ[1]
    ใบเป็นใบเดี่ยว
    ออกเรียงสลับกัน
    ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่
    ใบมีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 4-8 เซนติเมตร
    ผิวใบด้านล่างมีขน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเดี่ยวหรือจะออกเป็นช่อเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 ดอก
    – จะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – ดอกมีขนาด 1-2 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง
    – อัดกันแน่นอยู่บนกลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีเขียว
    – กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป
    – จะสามารถออกได้ตลอดทั้งปี
  • ลักษณะของผล[1]
    – ผลเป็นผลแห้ง
    – ไม่แตก
    – มีขนนุ่ม
    – มี 10 สัน

สรรพคุณของหนาดดำ

  • ทั้งต้นและราก สามารถนำมาผสมกับสมุนไพรต้นหรือรากของผักอีหลืน ต้นสังกรณีดง ต้นตรีชวา และหัวยาข้าวเย็น นำมาใช้ต้มกับน้ำดื่ม เพื่อใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย[1]
  • รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง
  • ใบ นำมาย่างไฟแล้วนำมาพันขาจะช่วยบรรเทาอาการปวด
  • ใบ นำมาอังไฟใช้ประคบบริเวณที่มีอาการเคล็ด ปวดบวม

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนาด ดำ”. หน้า 224.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หนาด ดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [14 ก.ค. 2015].