ต้นคาง สรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต

0
1568
ต้นคาง
ต้นคาง สรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต เป็นไม้ยืนต้นกิ่งก้านจะมีขน ดอกออกเป็นช่อด้านข้าง กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปกระดิ่ง ฝักแบนโตสีน้ำตาลเข้มมีขน
ต้นคาง
เป็นไม้ยืนต้นกิ่งก้านจะมีขน ดอกออกเป็นช่อด้านข้าง กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปกระดิ่ง ฝักแบนโตสีน้ำตาลเข้มมีขน

ต้นคาง

ชื่อสามัญ Ceylon rose wood, Black siris [1] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Albizia lebbekoides (DC.) Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Acacia lebbekoides DC., Albizia lebbekioides (DC.) Benth.) อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[1]
คาง มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น จามจุรีดง, คาง, ก๋าง, จามจุรีป่า, กาง, คางแดง, ข่าง [1],[2]

ลักษณะของต้นคาง

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่ตามกิ่งก้านจะมีขน ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำอาจจะขึ้นลงท่วมถึง สามารถพบเจอได้ตามลำธารทางภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ สำหรับกรุงเทพมหานครก็พอจะพบเห็นได้[1],[2]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบอยู่ประมาณ 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละใบประกอบมีอยู่ประมาณ 15-25 คู่ อยู่เรียงตรงข้ามกัน จะไม่มีก้าน ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ที่ปลายใบจะมนหรือแหลม มีขนทั้ง 2 ด้าน[1]
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อด้านข้าง ดอกช่อเป็นชนิดกลุ่มย่อย กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปกระดิ่ง ส่วนกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นหลอด[1]
  • ผล เป็นฝักแบนโต มีสีน้ำตาลเข้ม จะมีขนขึ้น[1],[2]

สรรพคุณต้นคาง

1. สามารถใช้ดอกเป็นยาแก้ฟกช้ำบวม แก้ฝี รักษาอาการปวดบาดแผล แก้บวมได้ (ดอก)[1],[2]
2. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาแก้ฝี แก้โรคผิวหนัง (ใบ)[1]
3. สามารถนำดอกมาใช้เป็นยาแก้พิษงูได้ (ดอก)[2]
4. เปลือกต้นสามารถใช้เป็นยาแก้โรคพยาธิได้ (เปลือกต้น)[2]
5. สามารถนำรากกับดอกมาใช้เป็นยาแก้ลงท้องได้ (ราก, ดอก)[1]
6. สามารถนำผลมาใช้เป็นยารักษาโรคในจักษุได้ (ผล)[2]
7. สามารถนำดอกมาใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้ (ดอก)[1]
8. ดอกคางจะมีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาบำรุงธาตุได้ (ดอก)[1],[2]
9. สามารถใช้เปลือกต้นเป็นยาแก้แผลเน่า ปวดบาดแผล แก้พิษฝี แก้อาการบวม รักษาฝีได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
10. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาแก้บวม แก้ฝีเปื่อยได้(ราก)[1]
11. สามารถนำดอกมาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ที่เกิดจากพิษอักเสบตา รักษาคุดทะราดได้ (ดอก)[2]
12. เปลือกต้นสามารถช่วยรักษาอาการตกเลือดได้ (เปลือกต้น)[2]
13. เปลือกต้นสามารถใช้เป็นยารักษาลำไส้พิการได้ (เปลือกต้น)[2]
14. สามารถใช้เป็นยาแก้ไอได้ (เปลือกต้น, ใบ)[1],[2]
15. เปลือก มีสรรพคุณที่เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต โดยให้นำเปลือกต้น 3-4 ชิ้น มาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้า เย็น (เปลือกต้น)[1]
16. เปลือกต้นจะมีรสชาติฝาดเฝื่อน สามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงหนังเส้นเอ็นให้สมบูรณ์ได้ (เปลือกต้น)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ในปี ค.ศ.1976 ที่ประเทศอินเดีย ได้มีการทำการทดลองใช้สารสกัดที่ได้จากเปลือก มาทดลองกับหนูขาว ปรากฏว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาว[1]
  • สารสกัดที่ได้จากเปลือกต้นด้วย เอทานอล : น้ำ (1:1) ในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ให้ทางปากหรือฉีดเข้าที่ใต้ผิวหนัง ปรากฎว่าไม่พบความเป็นพิษ[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “คาง”. หน้า 182-183.
2. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “คาง”. หน้า 70.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiabiodiversity.org/
2.https://www.flickr.com/