โรคพิษสุราเรื้อรัง
โรคพิษสุราเรื้อรัง ( Alcoholism ) คือ อาการที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจนไม่สามารถความคุมปริมาณการดื่มได้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเพิ่มความเข้มข้นขึ้น เมื่อหยุดดื่มจะมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติ ตัวสั่น มือสั่น หงุดหงิดง่าย คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย สับสน หัวใจเต้นเร็ว หรือประสาทหลอน เป็นต้น
อาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ดื่มสุราในปริมาณมากขึ้นเลื่อยๆ
- จดจำเหตุการณ์หลังดื่มสุราไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น อารมณ์แปรปรวน พูดจาไม่รู้ความ มือสั่น ประสาทหลอน
- หากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงมาก เสี่ยงอาการโคม่าหรือเสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรังมีหลายปัจจัย
- ปัจจัยด้านพันธุกรรม พบประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น โกรธ เสียใจ เบื่อหน่าย เหงา ก็มีส่วนทําใหติดสุราได้
- ปัจจัยด้านสังคมสิ่งแวดลอม สภาพแวดลอมที่มีการดื่มสุรา ปัญหาในครอบครัว โรงเรียน ค่านิยมทางสังคมในการสังสรรค์ของกลุมเพื่อน พบว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญทําให้ติดสุรา
- พฤติกรรมเลียนแบบของผู้ใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา และเพื่อน ชักจูงผลักดันให้เกิดการเลียนแบบ
การวินิจฉัยโรคพิษสุราเรื้อรัง
แพทย์จะวินิจฉัยพฤติกรรมการแสดงออก 3 ระดับ แบบไม่รุนแรง ปานกลาง หรือรุนแรง ช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
- ไม่สามารถจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ได้
- พยายามลด หรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้
- มีความต้องการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ตลอดเวลา หรือใช้แอลกอฮอล์เพื่อเป็นการถอน
- ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น การเรียนหนังสือ การทำงาน หรือการขับรถ
- มีพฤติกรรมการตัดสินใจช้าลง
- มีอาการขาดสุรา เมื่อไม่ได้ดื่มผู้ป่วยจะหาสารใกล้เคียงเพื่อใช้ทดแทน
การรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
1) ด้านร่างกาย แพทย์จะให้ยาในการรักษาผู้ป่วยเพื่อควบคุมหรือหยุดการดื่มสุราของผู้ป่วย
2) ด้านอาการขาดสุรา จะเกิดขึ้นภายหลังหยุดดื่มสุราประมาณ 2-10 วัน เป็นผลมาจากระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป
3) ด้านจิตสังคม เป็นการให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตใจและสังคม จนสามารถควบคุมพฤติกรรมการดื่มให้น้อยลง หรือหยุดดื่มไปนานที่สุด
4) การบำบัดแบบอื่น ได้แก่ การให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยคำพูดดีๆ ในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง
การป้องกันโรคพิษสุราเรื้อรัง
ครอบครับเป็นสภาบันที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ความเข้าใจ และแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี หมั่นสังเกตพฤติกรรม พูดคุยไม่ใช้การบังคับ หากิจกรรมที่ทุกคนสามารถทำร่วมกันได้ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกายเป็นต้น
มาตรฐานแอลกอฮอล์เป็นไปตามกฎหมายกําหนด
1. สุรากลั่น หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้วและมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 80 ดีกรี และให้หมายความรวมถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรี
2. สุราแช่ หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่น และให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดสุรา (จินตวีร์พร แป้นแก้ว) : วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2559.
Alcohol use disorder (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [23 พฤษภาคม 2562].
๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๐ ง. ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ มกราคม ๒๕๖๑
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้ตั้งโรงงานผลิตและบรรจุสุราในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2560.