ลักษณะและสรรพคุณของขางน้ำผึ้ง

0
1327
ลักษณะและสรรพคุณของขางน้ำผึ้ง เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่ม
ขางน้ำผึ้ง
เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่ม

ขางน้ำผึ้ง

ขางน้ำผึ้ง เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ขึ้นได้ทุกที่ พบตามป่าไม่ผลัดใบ บริเวณชายเขา และในพื้นที่โล่ง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Claoxylon indicum (Reinw. ex Blume) Hassk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Claoxylon polot Merr.) อยู่วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น งุ้นผึ้งขาว (ภาคเหนือ), ผักหวานใบใหญ่ (จังหวัดจันทบุรี), ขากะอ้าย (ภาคใต้), ฉับแป้ง (จังหวัดอุตรดิตถ์), หูควาย (จังหวัดนครศรีธรรมราช)[1]

ลักษณะขางน้ำผึ้ง

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ สามารถสูงได้ถึงประมาณ 2-10 เมตร จะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่นทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้นสามารถขึ้นได้ทุกสภาพพื้นดิน พบเจอขึ้นได้ที่ตามบริเวณชายเขา ป่าไม่ผลัดใบ พื้นที่เปิดโล่ง ที่สูงตั้งแต่ 80-1,650 เมตร ปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะที่ทางภาคเหนือแถว ๆ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย [1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน ผิวใบจะมีขนสั้นนุ่ม ใบเป็นรูปโล่แกมขอบขนานแกมรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะเว้าตื้น ขอบใบจะจักเป็นซี่ฟันตื้น ใบกว้างประมาณ 7-16 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ก้านใบสามารถยาวได้ประมาณ 8 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกดอกที่ตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง ดอกย่อยจะเป็นแบบแยกเพศ อยู่คนละต้นกัน กลีบรวมจะมีขนขึ้น ช่อดอกเพศผู้สามารถยาวได้ถึงประมาณ 33 เซนติเมตร เป็นสีเหลืองแกมสีเขียว ดอกเพศผู้มีขนาดประมาณ 4.5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้อยู่ 20 อัน ช่อดอกเพศเมียมีความยาวถึงประมาณ 7.5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อน ดอกเพศเมียมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร รังไข่มีช่องประมาณ 3-4 ช่อง[1],[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่มขึ้นอย่างหนาแน่น เมล็ดมีขนาดประมาณ 3-3.8 มิลลิเมตร จะมีเยื่อหุ้มสีแดงอยู่[1],[2]

สรรพคุณขางน้ำผึ้ง

  • ชาวเขาเผ่าแม้วจะนำลำต้นมาตำใช้พอกแก้อาการหูอื้อ ปวดหูได้ (ลำต้น)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ขาง น้ำ ผึ้ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ขาง น้ำ ผึ้ง”. หน้า 70.

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.epharmacognosy.com/2022/06/claoxylon-indicum.html
2.https://www.picturethisai.com/th/wiki/Claoxylon_indicum.html