ขางน้ำผึ้ง
เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่ม

ขางน้ำผึ้ง

ขางน้ำผึ้ง เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ขึ้นได้ทุกที่ พบตามป่าไม่ผลัดใบ บริเวณชายเขา และในพื้นที่โล่ง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Claoxylon indicum (Reinw. ex Blume) Hassk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Claoxylon polot Merr.) อยู่วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น งุ้นผึ้งขาว (ภาคเหนือ), ผักหวานใบใหญ่ (จังหวัดจันทบุรี), ขากะอ้าย (ภาคใต้), ฉับแป้ง (จังหวัดอุตรดิตถ์), หูควาย (จังหวัดนครศรีธรรมราช)[1]

ลักษณะขางน้ำผึ้ง

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ สามารถสูงได้ถึงประมาณ 2-10 เมตร จะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่นทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้นสามารถขึ้นได้ทุกสภาพพื้นดิน พบเจอขึ้นได้ที่ตามบริเวณชายเขา ป่าไม่ผลัดใบ พื้นที่เปิดโล่ง ที่สูงตั้งแต่ 80-1,650 เมตร ปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะที่ทางภาคเหนือแถว ๆ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย [1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน ผิวใบจะมีขนสั้นนุ่ม ใบเป็นรูปโล่แกมขอบขนานแกมรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะเว้าตื้น ขอบใบจะจักเป็นซี่ฟันตื้น ใบกว้างประมาณ 7-16 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ก้านใบสามารถยาวได้ประมาณ 8 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกดอกที่ตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง ดอกย่อยจะเป็นแบบแยกเพศ อยู่คนละต้นกัน กลีบรวมจะมีขนขึ้น ช่อดอกเพศผู้สามารถยาวได้ถึงประมาณ 33 เซนติเมตร เป็นสีเหลืองแกมสีเขียว ดอกเพศผู้มีขนาดประมาณ 4.5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้อยู่ 20 อัน ช่อดอกเพศเมียมีความยาวถึงประมาณ 7.5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อน ดอกเพศเมียมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร รังไข่มีช่องประมาณ 3-4 ช่อง[1],[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่มขึ้นอย่างหนาแน่น เมล็ดมีขนาดประมาณ 3-3.8 มิลลิเมตร จะมีเยื่อหุ้มสีแดงอยู่[1],[2]

สรรพคุณขางน้ำผึ้ง

  • ชาวเขาเผ่าแม้วจะนำลำต้นมาตำใช้พอกแก้อาการหูอื้อ ปวดหูได้ (ลำต้น)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ขาง น้ำ ผึ้ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ขาง น้ำ ผึ้ง”. หน้า 70.

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.epharmacognosy.com/2022/06/claoxylon-indicum.html
2.https://www.picturethisai.com/th/wiki/Claoxylon_indicum.html