มะหิ่งดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria bracteata Roxb. ex DC. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) อีกด้วย[1] ชื่ออื่น ๆ หิ่งกระจ้อน, หญ้าหิ่งเม่น, หิ่งนก (จังหวัดเชียงใหม่) เป็นต้น[1]
ลักษณะของต้นมะหิ่งแดง
- ต้น
– เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
– ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 1.5 เมตร
– ลำต้นมีลักษณะตั้งชูขึ้น และลำต้นมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่โดยรอบ[1] - ใบ
– ใบเป็นใบประกอบ ใบมีใบย่อยอยู่ 3 ใบเรียงสลับกัน
– ลักษณะรูปร่างของใบย่อยจะเป็นรูปไข่หรือรูปใบหอก ส่วนท้องใบด้านล่างจะมีสีเป็นสีเขียวอ่อน[1]
– ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 2-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 5-8 เซนติเมตร - ดอก
– ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยดอกจะออกที่บริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่งของลำต้น
– ช่อดอกจะมีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก
– ดอกย่อยมีกลีบดอกเป็นสีเหลือง ลักษณะรูปร่างของกลีบดอกย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว[1] - ผล
– ออกผลในลักษณะที่เป็นฝัก
– ลักษณะรูปร่างของฝักเป็นรูปไข่ ผิวฝักมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น[1]
สรรพคุณของต้นมะหิ่งดง
1. ตำรายาพื้นบ้านของทางล้านนาจะนำทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบโดยจะมีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการฟกบวมตามร่างกายได้ (ทั้งต้น)[1]
2. ตำรายาของไทยจะนำรากมาใช้ทำเป็นยาสำหรับแก้พิษไข้เนื่องจากอาการอักเสบ และยังสามารถนำมาใช้ดับพิษร้อนได้อีกด้วย (ราก)[1]
3. รากนำมารับประทานเป็นยาสำหรับใช้ถอนพิษยาเบื่อเมาได้ (ราก)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะ หิ่ง ดง”. หน้า 81.
อ้างอิงรูปจาก
1. ttps://efloraofindia.com/