ต้นกูดพร้าว สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดการอักเสบ

0
1371
ต้นกูดพร้าว
ต้นกูดพร้าว สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดการอักเสบ เป็นเฟิร์นที่มีลำต้นตั้งตรง รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
ต้นกูดพร้าว
เป็นเฟิร์นที่มีลำต้นตั้งตรง รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง

ต้นกูดพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyathea latebrosa (Wall. ex Hook.) Copel. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Alsophila latebrosa Wall. ex Hook., Dichorexia latebrosa (Wall. ex Hook.) C. Presl) จัดอยู่ในวงศ์ CYATHEACEAE[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กูดต้น (ภาคเหนือ), มหาสดำ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กูดพร้าว (เชียงใหม่)[1] บางแห่งเรียกว่า “กูดต้นดอยสุเทพ“

ลักษณะของกูดพร้าว

  • ต้น
    – เป็นเฟิร์นต้นที่มีลำต้นตั้งตรง
    – สูงได้ถึง 3-5 เมตร
    – ตามลำต้นมีเกล็ดขึ้นปกคลุม
    – มีรอยก้านใบที่หลุดร่วงไป
    – รากเป็นเส้นแข็งสีดำ
    – มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีนตอนใต้ กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
    – ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
    – สามารถพบขึ้นได้ตามไหล่เขาในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
    – ออกรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด
    – แกนกลางของใบประกอบไม่เรียบ
    – มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
    – ด้านบนมีขนและเกล็ดขึ้นประปราย
    – ก้านใบเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม
    – มีความยาวได้ 40 เซนติเมตร
    – มีหนามสั้น ๆ ที่โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นมัน
    – มีความกว้าง 1 มิลลิเมตร และยาว 2 เซนติเมตร
    – ด้านบนมีขน
    – กลุ่มใบย่อยถัดขึ้นมาจะเป็นรูปขอบขนานแคบ
    – ปลายเรียวแหลมและมีติ่งยาว มีความกว้าง 14 เซนติเมตร และยาว 40 เซนติเมตร
    – แกนกลุ่มใบย่อยมีเกล็ดแบนสีน้ำตาลทางด้านล่าง
    – ใบย่อยจะมีมากกว่า 25 คู่ เรียงห่างกัน 1.6 เซนติเมตร
    – ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก มีความกว้าง 1.7 เซนติเมตร และยาว 7 เซนติเมตร
    – ปลายเรียวแหลม
    – โคนกึ่งตัด
    – ขอบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย มีความกว้าง 3 มิลลิเมตร และยาว 1 เซนติเมตร ปลายมน
    – ขอบเรียบหรือจักเป็นฟันเลื่อย
    – เส้นกลางใบย่อยมีขนทางด้านบน
    – แผ่นใบบาง
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม
    – ผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน
    – เส้นใบแยกสาขาออกเป็นคู่ 7-8 คู่
    – ไม่มีก้านใบย่อย
  • สปอร์
    – กลุ่มอับสปอร์จะมีรูปร่างเกือบกลม
    – อยู่บนเส้นใบทั้งสองข้าง
    – จะอยู่ตรงเส้นกลางใบย่อย
    – เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เป็นเกล็ดเล็ก
    – อยู่ที่ฐานของกลุ่มอับสปอร์

สรรพคุณ และประโยชน์ของกูดพร้าว

  • แพทย์แผนชนบทจะนำเนื้อไม้ สามารถนำมาทำเป็นยาแก้ไข้ได้[2]
  • สามารถนำมาใช้ฝนเป็นยาทาแก้ฝีได้[2]
  • ช่วยแก้อักเสบ และแก้อาการบวม [2]
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กูด พร้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [27 ส.ค. 2015].
2. หนังสือคำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. (ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาศ ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์). “กูด พร้าว”. หน้า 519.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://www.flickr.com/