ปีบ
ชื่อสามัญ คือ Cork tree, Indian cork ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Millingtonia hortensis L.f. จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), กาซะลอง กาสะลอง กาดสะลอง กาสะลองคำ (ภาคเหนือ),ก้องกลางดง (ภาคกลาง) กางของ (ภาคอีสาน)
ลักษณะของปีบ
- ต้น
– เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
– ลำต้นตั้งตรง มีความสูงถึง 5-10 เมตร
– เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก
– มีช่องอากาศ
– รากจะเกิดเป็นหน่อ เติบโตเป็นต้นใหม่ได้
– สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการนำเมล็ดมาเพาะ หรือการปักชำในกระบะกรวยที่ผสมด้วยขี้เถ้าแกลบปีบ
– เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของพม่าและไทย
– พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ใบ
– ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น
– มีความกว้าง 13-20 เซนติเมตร และยาว 16-26 เซนติเมตร
– ก้านใบยาว 3.5-6 เซนติเมตร
– ใบจะประกอบไปด้วยแกนกลางยาว 13-19 เซนติเมตร
-มีใบย่อย 4-6 คู่ มีความกว้าง 2.5-3 เซนติเมตร และยาว 4-5 เซนติเมตร
– ใบมีรูปร่างคล้ายรูปหอกแกมรูปไข่
– ปลายใบเรียวแหลม
– ฐานใบเป็นรูปลิ่ม
– ขอบใบหยักเป็นซี่หยาบ ๆ
– เนื้อใบเกลี้ยงบางคล้ายกับกระดาษ - ดอก
– ดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง
– มีความยาว 10-25 เซนติเมตร
– ดอกย่อยจะประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียว
– ดอกมีกลิ่นหอม
– มีความกว้าง 0.5 เซนติเมตร และยาว 6-10 เซนติเมตร
– เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกออกเป็น 5 แฉก
– 3 แฉกเป็นรูปขอบขนาน
– 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม
– มีเกสรตัวผู้จำนวน 4 ก้าน
– สองคู่จะยาวไม่เท่ากัน
– มีเกสรตัวเมียจำนวน 1 ก้าน อยู่เหนือวงกลีบ
– จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม - ผล
– เป็นผลแห้งแตก
– ผลแบนและยาว
– มีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก
– เป็นแผ่นบางมีปีก
สรรพคุณของปีบ
- สามารถนำมาใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่น
- ช่วยขยายหลอดลมและรักษาอาการหอบหืดได้
- ช่วยแก้ลม
- ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย
- ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก
- ช่วยบำรุงโลหิต
- ช่วยบำรุงกำลัง
- ช่วยรักษาปอดพิการ
- ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย
- ช่วยรักษาวัณโรค
- ช่วยบำรุงปอด
ประโยชน์ของปีบ
- สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอล ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า
- ดอก ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) และเพิ่มรสชาติได้
- ดอก สามารถนำมาตากแห้งแล้วผสมกับยาสูบมวนบุหรี่ ใช้สูบทำให้ชุ่มคอ
- ช่วยทำให้ปากหอม และยังมีกลิ่นควันบุหรี่ที่หอมดี
- ดอก สามารถนำมาตากแห้ง และนำมาชงใส่น้ำร้อนดื่มเป็นชาได้
- ดอก จะมีกลิ่นหอมละมุนอ่อน ๆ มีรสชาติหวานแบบนุ่มนวล ไม่ขม ดีต่อสุขภาพ
- เปลือกต้น สามารถนำมาใช้แทนไม้ก๊อกสำหรับจุกขวดได้
- เนื้อไม้ มีสีขาวอ่อน สามารถนำมาใช้เลื่อยหรือไสกบเพื่อตกแต่งให้ขึ้นเงาได้ง่าย
- สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งภายในบ้านได้
- สามารถปลูกไว้ประดับสวนได้
- สามารถปลูกเพื่อให้ร่มเงาในลานจอดรถหรือริมถนนข้างทางได้
- ต้นไม้ชนิดนี้ สามารถทนน้ำท่วมขังได้ดี
- เชื่อกันว่าการปลูกไว้ประจำบ้านจะทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มากขึ้น และทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังได้
- ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้นไปอีก ควรให้เป็นผู้ที่เกิดในวันจันทร์เป็นผู้ปลูก
- เป็นดอกไม้ประจำของนางโคราคะเทวี ที่เป็นนางประจำวันจันทร์ในธิดาของพระอินทร์
- เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย
- ความหมายของต้นไม้ชนิดนี้ คือ เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ชีวิต หมายถึง “พยาบาล”
- หมายถึงยาอายุวัฒนะ เปรียบเสมือนกับพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพให้คนทั่วไป ช่วยเสริมสร้างธรรมชาติที่ชุบและดำรงชีวิตให้แก่มวลมนุษย์ตลอดกาล เช่นเดียวกับพยาบาล
- เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรีและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- สามารถตรวจพบสาร Scutellarein, Hispidulin, Scutellarein-5-galactoside จากดอก
- พบสาร Hispidulin จากใบของต้น
- ในราก พบสาร Hentriacontane, Lapachol, Hentria contanol-1, B-stosterol, Paulownin ในส่วนของผลพบ Acetyl oleanolic acid
- เปลือกต้นและแก่นไม้ พบสาร B-stosterol
- แล้วนำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนที่สกัดจากคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ในการขยายหลอดลม
- ในขณะที่ส่วนสกัด Butanol พบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butamol จากสารสกัดด้วยน้ำนั้นมีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดลม
- จากการศึกษา เชื่อว่าสาร Hispifulin นั้นมีหน้าที่ในการขยายหลอดลม
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)