บัวหลวง ยาชั้นยอด ดีต่อระบบเลือด บำรุงอวัยวะสำคัญ ป้องกันโรค

0
1565
บัวหลวง
บัวหลวง ยาชั้นยอด ดีต่อระบบเลือด บำรุงอวัยวะสำคัญ ป้องกันโรค เป็นยาสมุนไพร ดีต่อสุขภาพมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ

บัวหลวง

บัวหลวง

บัวหลวง เป็นพืชที่มีหลายสายพันธุ์มากมาย ขึ้นอยู่กับลักษณะของดอก ส่วนของรากและเม็ดบัวมีรสหวานเย็นและมันเล็กน้อย เม็ดบัวมีคุณค่าทางอาหารสูง รากก็เช่นกันจึงนิยมนำมาใช้ต้มเป็น “น้ำรากบัว” เป็นสมุนไพรมากประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม ส่วนของไหลบัวยังนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสดและแห้งอีกด้วย และที่สำคัญเป็นดอกที่นำมาบูชาพระหรือนำมาใช้ในทางศาสนากันเป็นอย่างมาก สุดท้ายดอกบัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีดอกสวยงาม แถมดอกบัวก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นของประเทศไทย จึงนิยมปลูกประดับในสวนน้ำโดยเฉพาะในวัด

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Lotus” “Sacred lotus” “Egyptian lotus”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อเรียกว่า “โกกระณต, บัว, บัวอุบล, บัวฉัตรขาว, บัวฉัตรชมพู, บัวฉัตรสีชมพู, บุณฑริก, ปุณฑริก, ปทุม, ปัทมา, สัตตบงกช, สัตตบุษย์” ชาวเขมรเรียกว่า “โช้ค”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บัวหลวง (NELUMBONACEAE)

ลักษณะของบัวหลวง

บัวหลวง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย
ลำต้น : เป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ เหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อน แข็งเล็กน้อย ส่วนของไหลเป็นส่วนเจริญไปเป็นต้นใหม่
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนลอยปริ่มน้ำ ใบแก่แผ่นใบจะชูขึ้นเหนือน้ำ ใบเป็นรูปเกือบกลมและมีขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเป็นนวลเคลือบ ก้านใบแข็งและเป็นหนาม หากตัดตามขวางจะเห็นรูอยู่ภายใน มีน้ำยางสีขาว ใบอ่อนจะเป็นสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นเข้าหากันทั้งสองด้าน
ดอก : ออกดอกเดี่ยว เป็นสีขาว สีชมพู มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 4 – 5 กลีบ ขนาดเล็กและมีสีขาวอมเขียวหรือสีเทาอมชมพู ร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเป็นรูปไข่กว้าง เรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ในดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก ล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอกเป็นรูปกรวยหงาย หรือเรียกกันว่า ฝักบัว เกสรตัวเมียมีรังไข่ฝังอยู่ในฐานรองดอก เมื่ออ่อนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ก้านดอกมีสีเขียว ยาวและมีหนามเหมือนก้านใบ ดอกบัวหลวงจะเริ่มบานในตอนเช้า มักจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม
ฝัก : ฝักมีผลอ่อนสีเขียวนวลจำนวนมาก ผลจะฝังอยู่ในส่วนที่เป็นฝักรูปกรวยในดอก เมื่ออ่อนจะเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จะขยายใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียว ผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่ในฝักรูปกรวย
เมล็ด : ออกเป็นกลุ่มเป็นรูปกลมวงรี ผลอ่อนมีสีเขียวนวลจำนวนมาก ในเมล็ดมีดีบัวหรือต้นอ่อนที่ฝังอยู่กลางเมล็ดมีสีเขียว
ดีบัวหลวง : ต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง คล้ายสาก ใบอ่อน 2 ใบ ใบหนึ่งสั้น อีกใบยาว ใบมีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเหลือง ปลายใบม้วนเป็นรูปคล้ายลูกศร มีต้นอ่อนตรง รสขมจัด แต่ไม่มีกลิ่น

สรรพคุณของบัวหลวง

  • สรรพคุณจากราก ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ทำให้หลับสบาย เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติในเด็ก ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยระงับอาการท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย ช่วยแก้ดีพิการ ช่วยแก้พุพอง ช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดหยุด
  • สรรพคุณจากเม็ดบัว ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย ช่วยเพิ่มพลังงานและไขมันในร่างกาย เป็นอาหารบำรุงกำลังของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยป้องกันมะเร็ง ป้องกันมะเร็งตับ ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และผิวพรรณ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยรักษาอาการท้องร่วงและบิดเรื้อรัง ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยแก้ดีพิการ ช่วยบำรุงไตและม้ามและตับ ช่วยแก้พุพอง ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อนหรืออาการฝันเปียก ช่วยบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น แก้โรคข้อต่าง ๆ ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง เป็นยาบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น ช่วยลดอาการใจสั่น เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ไข้ ช่วยแก้ไข้รากสาดและไข้มีพิษร้อน ช่วยแก้เสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย ช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดหยุด เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย
  • สรรพคุณจากใบอ่อน ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย
  • สรรพคุณจากกลีบดอก ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย เป็นยาบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น ช่วยลดอาการใจสั่น ช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดหยุด
  • สรรพคุณจากเกสร เป็นยาบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น ช่วยลดอาการใจสั่น ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยแก้ไข้รากสาดและไข้มีพิษร้อน ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้ลม
  • สรรพคุณจากใบแก่ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยแก้ไข้ ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก ช่วยเพิ่มแรงเบ่งขณะคลอดบุตรของสตรี
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยระงับอาการหวัดคัดจมูก ลดเสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการท้องร่วง รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบ
  • สรรพคุณจากดีบัว ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยขยายเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในกรณีที่เส้นเลือดตีบ ช่วยผ่อนคลายความเครียด แก้อาการหงุดหงิดนอนไม่หลับ ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย เป็นยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ แก้เส้นเลือดตีบในหัวใจเนื่องจากมีไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ ช่วยบำรุงหลอดเลือดหัวใจ ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ไข้ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยอาการกระหายหลังอาเจียนเป็นเลือด ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยแก้อหิวาตกโรค ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อนหรืออาการฝันเปียก ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • สรรพคุณจากเกสรตัวผู้ เป็นยาชูกำลัง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นใจ แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นยาสงบประสาท ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยคุมธาตุในร่างกาย ช่วยแก้ไข้ ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะบ่อย ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยบำรุงตับ เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อนหรืออาการฝันเปียก
  • สรรพคุณจากฝัก ช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้พิษเห็ดเมา ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น
  • สรรพคุณจากยางจากก้านใบและก้านดอก ช่วยแก้อาการท้องเดิน
  • สรรพคุณจากเปลือกฝัก ช่วยแก้อาการท้องเดิน ช่วยสมานแผลในมดลูก เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล
  • สรรพคุณจากกลีบดอกชั้นใน แก้อาการท้องร่วง แก้โรคซิฟิลิส
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้เห็ดพิษ แก้อาการเป็นพิษจากพิษสุราเรื้อรัง

ประโยชน์ของบัวหลวง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร รากนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน นำมาเชื่อมแห้งทานเป็นของหวาน ทำเป็นน้ำรากบัว ไหลบัวนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสดและแห้ง สายบัวนำมาปรุงเป็นอาหารหรือใช้แทนผักได้ กลีบดอกนำไปทำเมี่ยงดอกบัว ยำดอกไม้หรือทำเมนูกลีบัวชุบแป้งทอด เม็ดบัวทั้งอ่อนและแก่ใช้ทำอาร์ซีข้าวอบใบบัว
2. ใช้ในทางศาสนา ดอกนำมาบูชาพระหรือนำมาใช้ในทางศาสนา ดอกบัวหลวงเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทางพระพุทธศาสนา
3. เป็นอุปกรณ์หีบห่อ กลีบดอกแห้งใช้มวนเป็นบุหรี่ได้ ใบนำมาใช้สำหรับห่อข้าว ห่ออาหาร ห่อขนม
4. เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สารสกัดจากเกสรนำมาใช้ทำเป็นเครื่องสำอาง
5. เป็นส่วนผสมของยา เกสรตัวผู้นำมาตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องยาไทยและจีน ใบบัวแก่นำมาตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยากันยุงได้
6. ใช้ในอุตสาหกรรม ก้านใบและก้านดอกนำมาใช้ทำเป็นกระดาษ เส้นใยใช้ทำไส้ตะเกียง
7. ใช้ในการเกษตร เปลือกบัวนำมาใช้เป็นวัสดุในการปลูกเห็ด หรือเรียกว่าเห็ดบัว เปลือกเมล็ดและฝักแก่ใช้ทำเป็นปุ๋ยได้
8. เป็นไม้ปลูกประดับ นิยมปลูกไว้ประดับในสระน้ำหรือปลูกไว้ในกระถางสูง

บัวหลวง ถือเป็นยาสมุนไพรดั้งเดิมชั้นยอดที่ทุกส่วนของต้นมีประโยชน์และนำมาใช้ได้ทั้งหมด ดีอย่างมากต่อสุขภาพโดยเฉพาะผู้สูงอายุ แถมยังนำมาใช้ในด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย บัวหลวงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของดีบัวและเม็ดบัว มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้นอนหลับ ดีต่อระบบเลือด บำรุงอวัยวะสำคัญในร่างกาย และดีต่อระบบขับถ่าย เรียกว่าแค่ทานส่วนต่าง ๆ ของบัวหลวงก็ถือเป็นยาดีต่อร่างกายแทบจะทุกส่วน

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “บัวหลวง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [2 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “บัวหลวง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [2 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “บัวหลวง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [2 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เกสรบัวหลวง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [2 ธ.ค. 2013].
รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2546. “บัวสายและบัวหลวง“. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [2 ธ.ค. 2013].
โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “บัวหลวง“. (คุณครูสุวรีย์ เปรมมงคล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [2 ธ.ค. 2013].
สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. “ประโยชน์ของเม็ดบัว“. (นายบุญลิน บุญมาแคน นักวิชาการเกษตรชำนาญการ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: banphue.udonthani.doae.go.th. [2 ธ.ค. 2013].
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. “บัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [2 ธ.ค. 2013].
จำรัส เซ็นนิล. “เม็ดบัว สุดยอดธัญพืชป้องกันมะเร็ง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [2 ธ.ค. 2013].
GotoKnow. “เหง้าบัว อาหารและยาที่ได้มาจากใต้ดิน“. (ครูไพฑูรย์ ศิริรักษ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org. [2 ธ.ค. 2013].
ศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดพิจิตร“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th. [2 ธ.ค. 2013].
บทความเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง โดย สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา. “นานาสรรพคุณของบัว“. (ชฎาพร นุชจังหรีด). อ้างอิงใน: หนังสือมหัศจรรย์แห่งบัว (ภัทราพร ตั้งสุขฤทัย), หนังสือสมุนไพรน่าใช้ เล่ม 1 (ลัดดาวัลย์ บุญรัตนกรกิจ), หนังสือสมุนไพรน่ารู้ (วันดี กฤษณพันธ์), หนังสือเพชรน้ำเอก กรุยอดตำรับยาสมุนไพร (วิพุธโยคะ รัตนรังษี, สุวัตร์ ตั้งเจริญ และปริญญา อุทิศชลานนท์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.uniserv.buu.ac.th. [2 ธ.ค. 2013].
ไทยเกษตรศาสตร์. “บัวหลวง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [2 ธ.ค. 2013].
ไทยโพสต์. “บัวหลวง : บำรุงหัวใจ ขยายหลอดเลือด สารสกัดทำให้ผิวขาว ต้านชรา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [2 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ดีบัว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [2 ธ.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/