ต้นหัวลิง
ต้นหัวลิง หรือ เถาหัวลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcolobus globosus Wall. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1]
ชื่ออื่น ๆ มะปิน ตูดอีโหวด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), บาตูบือแลกาเม็ง (ชาวมาลายู-นราธิวาส), หัวกา (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เถรอดเพล ตองจิง หัวลิง อ้ายแหวน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), เถาหัวลิง (กรุงเทพฯ), หงอนไก่ใหญ่ (จังหวัดตราด) เป็นต้น[1]
ลักษณะของต้นหัวลิง
- ต้น
– เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเถา แต่ในบางข้อมูลก็ระบุว่าเป็นไม้พุ่ม
– มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 3 เมตร และมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร
– ลำต้นอยู่เหนือพื้นผิวดิน เปลือกของลำต้นมีสีเป็นสีน้ำตาล พื้นผิวของลำต้นเป็นผิวขรุขระ เรือนยอดมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ลำต้นสามารถตั้งตรงเองได้และลำต้นไม่มียาง [2]
– ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอากาศค่อนข้างชุ่มชื้น[1],[2] - ใบ
– ใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน
– ลักษณะรูปร่างของใบจะเป็นรูปไข่ รูปรี หรือเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ
– แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบมีเส้นใบอยู่ประมาณ 5-7 คู่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน[1],[2]
– ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 4.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8 เซนติเมตร - ดอก
– ออกดอกเป็นช่อกระจะ โดยจะออกดอกที่บริเวณตามง่ามของกิ่งก้าน
– ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-13 มิลลิเมตร
– ลักษณะของดอกจะมีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก อย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน
– ดอกมีสีเป็นสีม่วง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร และดอกไม่มีกลิ่น[1],[2]
– ดอกมีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย โดยจะเชื่อมติดกันอยู่ และดอกมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ - ผล
– เป็นผลเดี่ยว ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นฝักรูปทรงกลมมน
– เปลือกฝักมีสีเป็นสีน้ำตาล มีขนาดความกว้างและความยาวอยู่ที่ประมาณ 4 นิ้ว
– ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีเขียว แต่ผลเมื่อแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล และผลจะแตกที่บริเวณกลางพู - เมล็ด
– ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ โดยลักษณะของเมล็ดจะมีรูปทรงเป็นรูปไข่แบน บริเวณขอบเมล็ดจะหนาเป็นสีน้ำตาลแก่ และขนาดความยาวของเมล็ดจะยาวอยู่ที่ประมาณ 18 มิลลิเมตร [1],[2]
สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นหัวลิง
- ใบสด ๆ นำมาตำผสมกันกับผลของต้นมะเยาตำให้ละเอียด จากนั้นจึงนำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้แก้โรคปวดข้อหรือแก้ไข้ส่า (ใบสด)[1]
- เมล็ด มีความเป็นพิษต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ชาวพื้นเมืองในทวีปเอเชียจึงนิยมนำมาใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ป่า
ข้อควรระวัง
- เมล็ดมีความเป็นพิษต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว เป็นต้น โดยจะมีฤทธิ์เข้าไปยับยั้งกล้ามเนื้อระบบประสาท ซึ่งจะมีอาการเป็นพิษที่แสดงให้เห็น คือ ปัสสาวะเป็นเลือด และไตเสื่อม[3]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หัวลิง”. หน้า 825-826.
2. โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก. “เถาหัวลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.lrp.ac.th. [28 ก.ย. 2014].
3. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Sarcolobus globosus”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : en.wikipedia.org. [28 ก.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.inaturalist.org/