โรคเหงือก การรักษาและวิธีการป้องกัน

0
5508
โรคเหงือก การรักษาและวิธีการป้องกัน
โรคเหงือก ( Gum Disease ) หรือ โรคปริทันต์ คือ การติดเชื้อบริเวณเงือกซึ่งอาจเกิด จากการสะสมของเศษอาหาร
โรคเหงือก การรักษาและวิธีการป้องกัน
โรคเหงือก ( Gum Disease ) หรือ โรคปริทันต์ คือ การติดเชื้อบริเวณเงือกซึ่งอาจเกิดจากการสะสมของเศษอาหาร

โรคเหงือก

โรคเหงือก ( Gum Disease ) หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคปริทันต์ คือ การติดเชื้อบริเวณเงือกซึ่งอาจเกิด
จากการสะสมของเศษอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นในประชากรของไทยถึงร้อยละ 80 โรคเหงือก
สามารถแบ่งออกได้ตามความรุนแรงเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 คือ เหงือกอักเสบ ( Gingivitis )
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกของเงือกอักเสบที่พบได้บ่อยแต่ไม่รุนแรง ซึ่งทำให้เกิดอาการ
ปวดเหงือก เหงือกบวมแดง ระยะที่ 2 คือ โรคปริทันต์อักเสบ ( Periodontitis ) เป็นอาการติดเชื้อที่
รุนแรงกว่าเหงือกอักเสบถึงคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรไทย เมื่อเหงือกอักเสบแต่ไม่ได้รับ
การรักษาอย่างถูกต้องจะกลายเป็น โรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคเหงือกนั่นเอง

อาการของโรคเหงือกอักเสบ ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

  • มีกลิ่นปากที่รุนแรง
  • เหงือกอักเสบบวดแดง
  • เหงือกเป็นสีแดง หรือสีม่วง
  • เหงือกมีเลือดออกง่าย
  • รู้สึกเจ็บขณะเคี้ยว
  • บางคนอาจทำให้ฟันหลุดได้
  • มีอาการเสียวฟัน
  • มีอาการเหงือกร่น
  • เลือกออกตามไรฟัน หลังการแปลงฟัน
  • มีหนองระหว่างฟันและเหงือก
  • ฟันโยก

สาเหตุของโรคเหงือก

โรคเหงือกส่วนใหญ่มักเกิดจากคราบแบคทีเรียที่ก่อตัวบนเหงือกและฟัน ซึ่งการแปรงฟันอาจไม่
สามารถขจัดคราบแบคทีเรียหรือเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ออกได้หมด และปัจจัยที่สามารถเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกอักเสบ เช่น การดูแลช่องปากที่ไม่ดี อายุมากขึ้น ปากแห้ง ภูมิคุ้มกันต่ำ
พันธุกรรม การติดเชื้อราบางชนิด รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ต่อไปนี้

  • การสูบบุหรี่อย่างหนัก อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อของเหงือกได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงวัยรุ่น วัยหมดประจำ
    เดือน ทำให้เหงือกอ่อนแอเกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ ( Antibiotic ) หรือยาแก้อักเสบบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงทำให้การผลิตน้ำลาย
    ลดน้อยลง
  • การขาดสารอาหารและขาดวิตามินซี เมื่อร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอส่งผลให้มีเลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวมแดง แผลหายช้าและทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง
  • ครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคเหงือก อาจเพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการติดเชื้อแบคทีเรีย

การวินิจฉัยโรคเหงือก

  • แพทย์ทำการซักประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น เช่น การสูบบุหรี่ เป็นเบาหวานหรือไม่ อาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดโรคเหงือกได้
  • การตรวจดูเหงือกและสังเกตสัญญาณของการอักเสบ
  • ใช้ไม้กดบริเวณเหงือกอักเสบดูว่ามีเลือกหรือหนองออกมาหรือไม่

การรักษาโรคเหงือก

  • การขูดหินปูน เป็นวิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบเบื้องต้น
  • การอุดฟันผุ หรือรักษารากฟันให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
  • การถอนฟันผุออกเพื่อลดอาการอักเสบของเหงือกได้
  • การผ่าตัดฟันคุด เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเหงือก

จากงานวิจัยพบว่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบสามารถเข้าสู่กระแสเลือด โดยผ่านทาง
เนื้อเยื่อของเหงือกส่งผลต่อปอด หัวใจและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายผู้ป่วย แม้เหงือกอักเสบจะไม่
อันตราย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ หรือพัฒนากลาย
เป็นเหงือกอักเสบเรื้อรังยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน โรคหลอด
เลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไขข้ออักเสบ

การป้องกันโรคเหงือก

การดูแลสุขอนามัยในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาประมาณ 1- 2 นาที ควรแปรงฟันอย่าง
น้อยวันละ 2 ครั้ง รวมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดคราบแบคทีเรีย ลดกลิ่นปาก

  • เข้ารับการตรวจฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น
    ฟันคุด ผ่าฟันคุด รักษารากฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน ครอบฟัน ถอนฟัน ฟอกสีฟัน เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงลูกอม ขนมขบเคี้ยว อาหาร เครื่องดื่มหรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมากๆ
  • ควรดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อป้องกันปากแห้ง
  • เลือกแปรงสีฟัน และยาสีฟันที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก
  • ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 1 – 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตามการป้องกันโรคเหงือกสามารถเริ่มต้นได้ด้วยตนเอง เพียงหมั่นดูแลความสะอาดในช่องปากอยู่เสมอแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เลือกใช้แปรงสีฟันให้เหมาะกับฟันของคุณเพื่อลดการอักเสบของเหงือกและฟันได้ เพียงเท่านี้คุณและคนในครอบครัวก็สามารถมีเหงือกและฟันที่สวย
งามแถมยังมีสุขภาพในช่องปากที่ดีอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม