การฟื้นฟูและดูแลผิวหน้าจากปัญหาต่าง ๆ

0
4550
การฟื้นฟูและดูแลผิวหน้าจากปัญหาต่าง ๆ
ใบหน้าเปรียบเสมือนหน้าต่างของหัวใจที่ทำหน้าที่ในการสื่อความรู้สึกต่าง ๆ และช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่พบเห็น
การฟื้นฟูและดูแลผิวหน้าจากปัญหาต่าง ๆ
ใบหน้าเปรียบเสมือนหน้าต่างของหัวใจที่ทำหน้าที่ในการสื่อความรู้สึกต่าง ๆ และช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่พบเห็น

การฟื้นฟูผิวหน้า

สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันทำให้เลี่ยงไม่ได้กับปัญหาผิวในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวคล้ำเสีย เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ผิวแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น ซึ่งอาจทำให้ลืม การฟื้นฟูผิวหน้า นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะใบหน้าเปรียบเสมือนหน้าต่างของหัวใจที่ทำหน้าที่ในการสื่อความรู้สึกต่าง ๆ ออกสู่ภายนอกให้ผู้อื่นรับรู้ ใบหน้าที่งดงาม มีผิวพรรณเปล่งปลั่งย่อมสร้างความมั่นใจและบุคลิกภาพที่ดีให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของใบหน้า และใบหน้าที่งดงามยังช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่พบเห็นด้วย ตามศาสตร์การรักษาของคนจีนให้ความสำคัญกับทุกสิ่งที่ปรากฏบนใบหน้า เพราะสิ่งเหล่านั้นสามารถบ่งบอกอาการป่วยที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้

ใบหน้าประกอบไปด้วยคิ้ว ดวงตา จมูกและปาก วางเรียงกันตั้งแต่ด้านบนลงมาด้านล่าง นอกจากองค์ประกอบทั้งสี่ที่ช่วยสร้างความสวยงามให้กับใบหน้าแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ใบหน้ามีความสมบูรณ์ นั่นคือ ผิวพรรณของใบหน้า เพราะว่าบางคนมีโครงสร้างของใบหน้าที่สมบูรณ์แบบ มีหน้าเป็นวงรี ดวงตากลมโต จมูกโด่ง ปากอวบอิ่มรับกับโครงหน้า แต่ผิวพรรณบนใบหน้ากลับแห้งกราน หยาบบ่งบอกถึงการขาดความชุ่มชื่น ที่ทำให้ใบหน้านั้นดูหม่นหมองไม่น่ามอง แต่บางคนมีโครงหน้าใบหน้าที่ธรรมดาไม่มีสิ่งใดโดนเด่นน่ามอง ทว่าผิวพรรณบนใบหน้ากลับเรียบเนียนมีน้ำมีนวล เปล่งปลั่งสดใส ไร้ปัญหาผิวใด ๆ ใบหน้าที่มีผิวพรรณแบบนี้กลายเป็นใบหน้าที่ชวนมอง สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่พบเห็นแล้ว

ชาวจีนยังใช้การสังเกตลักษณะผิวพรรณบนใบหน้าในการรักษาโรคที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยจะมีการสังเกตลักษณะของอวัยวะที่อยู่บนใบหน้า ด้วยความเชื่อของแพทย์ชาวจีนที่ว่าลักษณะของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่บนใบหน้านั้นสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายในร่างกายได้เกือบ และการที่จะทำให้ผิวพรรณบนใบหน้าเปล่งปลั่งสดใสไร้ปัญหาได้นั้นก็ต่อเมื่อระบบภายในของร่างกายมีการทำงานที่สมบูรณ์จึงส่งผลออกมาสู่ผิวพรรณที่ดีนั่นเอง

ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วการที่ ผิวหน้า มีความแข็งแรงปราศจากปัญหาได้ก็ต่อเมื่อคอลลาเจนประเภทที่ 1 ( Collagen Type 1 ) อยู่ใต้ผิวมีปริมาณที่เหมาะสม คอลลาเจน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความชุ่มชื่นและความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง บริเวณที่มีคอลลาเจนอยู่ในปริมาณสูง บริเวณนั้นจะไม่มีปัญหาของผิวหน้า เช่น ผิวแห้ง รอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา และบริเวณดังกล่าวจะมีผิวที่ชุ่มชื้น มีความยืดหยุ่นดี เต่งตึง กระชับ นอกจากนั้นคอลลาเจนยังเข้าไปเติมเต็มช่องว่างที่อยู่ใต้ผิวจนเต็มป้องกันการยุบตัวของผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นเมื่อช่องว่างใต้ผิวมีมาก

ช่วงวัยเด็กกระบวนการการสร้างคอลลาเจนมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถสร้างคอลลาเจนได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อทดแทนคอลลาเจนที่อายุขัยและสร้างคอลลาเจนเพิ่มขึ้นมาตามขนาดร่างกายที่ใหญ่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น แต่ทว่าเมื่ออายุมากกว่า 20- 25 ปีกระบวนการสร้างคอลลาเจนภายในร่างกายจะมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลให้ปริมาณคอลลาเจนที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยลง ทำให้คอลลาเจนที่ในร่างกายไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน โดยเฉพาะที่บริเวณช่องว่างใต้ผิวหนังที่เมื่อปริมาณคอลลาเจนลดลง ช่องว่างจะมีมากขึ้นทำให้เกิดการยุบตัวลงของชั้นผิวหนัง ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาริ้วรอยเหี่ยวย่น และเมื่อ ผิวหน้า มีการสูญเสียคอลลาเจนที่เป็นแหล่งความชุ่มชื้นไปจึงทำให้ผิวหน้าโดนทำลายจากแสงแดด อนุมูลอิสระเกิดเป็นผิวหน้าหยาบแห้งกร้านไม่นุ่มเนียน มีฝ้า กระและรอยไหม้เกิดขึ้นได้ โดยปกติคอลลาเจนจะมีการสลายไปเองตามธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อมีการสลายก็ย่อมมีกระบวนการสร้างเกิดขึ้นพร้อมกัน ในวัยเด็กกระบวนการสร้างจะเกิดขึ้นมากกว่ากระบวนการทำลายคอลลาเจน แต่เมื่ออายุมากขึ้นกระบวนการสร้างคอลลาเจนจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ต่างจากการะบวนการสลายคอลลาเจนที่ยังคงอยู่เท่าเดิม ทำให้ใบหน้าเกิดปัญาเกี่ยวกับผิวมากขึ้นนั่นเอง นอกจากกระบวนการทำลายคอลลาเจนที่เกิดขึ้นภายในร่างกายแล้ว ความเสื่อมคอลลาเจนในร่างกายอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายนอก

คอลลาเจน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความชุ่มชื่นและความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง บริเวณที่มีคอลลาเจนอยู่ในปริมาณสูง บริเวณนั้นจะไม่มีปัญหาของผิวหน้า

ปัจจัยที่ส่งผลให้คอลลาเจนใต้ผิวโดนทำลายจากภายนอก คือ

1. แสงแดด

แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี ( UV ) โดยแบ่งออกมาเป็น 3 ประเภทตามลักษณะความยาวคลื่น คือ ยูวีเอ ( UVA ), ยูวีบี ( UVB ), และยูวีซี ( UVC ) ซึ่งรังสียูวีจะซึมเข้าไปทำลายผิวตั้งแต่เริ่มสัมผัสกับ ผิวหน้า โดยรังสียูวีจะทำให้ผิวภายนอกถูกเผาไหม้จากความร้อนที่เกิดอาการแสบร้อน เป็นรอยแดงไหม้ กลายเป็นฝ้า กระแดด รอยถลอก รอยแผลได้ และเมื่อซึมเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังก็จะเข้าไป

ทำลายคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวหนัง ส่งผลให้คอลลาเจนเกิดความเสื่อมและสลายตัวไปนำมาซึ่งกระเนื้อ ริ้วรอยเหี่ยวย่น ซึ่งเป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยอันควร และอันตรายที่ร้ายแรงที่สุดของรังสียูวีก็คือการเข้าไปทำลายดีเอ็นเอที่อยู่ภายในเชลล์ผิวหนังจนเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง รังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อ ผิวหน้า คือรัวงสียูวีที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00 น. ถึง 16.00 น. แม้ว่าอากาศจะร้อนหรือไม่ร้อนปริมาณรังสียูวีก็จะมีปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน

2. สารอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ ( Free Radicle ) คือ โมเลกุลที่อยู่ในสภาวะที่ไม่เสถียรเนื่องจากขาดอิเล็กตรอนอย่างน้อย 1 ตัว อนุมูลอิสระพบได้ทั่วไปรอบตัว ๆ เราทั้งจากสิ่งแวดล้อม เช่น ควันรถยนต์ การเผาไหม้ ฝุ่น ควันบุหรี่ จากอาการ ความร้อน รังสีแกมมา การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า และจากภายในร่างกายที่มาจากผลผลิตของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เมื่ออนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกายจะทำการจับตัวและเข้าไปทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Oxidation ) กับทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยเฉพาะผนังของเซลล์ จนสร้างความเสียหายให้กับผนังของเซลล์เกิดการฉีกขาด ส่งผลให้เซลล์สูญเสียน้ำและอาหารที่อยู่ภายในออกมา เซลล์จึงมีสภาพที่อ่อนแอและมีการเหี่ยวย่นลง จึงเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผิวแห้งหยาบกร้าน บนใบหน้า และอนุมูลอิสระยังสามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับดีเอ็นของเซลล์จนทำให้เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

3. การดื่มน้ำ

น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ร่างกายมนุษย์เราประกอบด้วยน้ำถึง 2 ใน 3 ส่วนเลยทีเดียว น้ำมีหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ ความดัน สมดุลทางประจุและสมดุลความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย และน้ำยังเป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์อีกด้วย ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับน้ำสะอาดในปริมาณที่น้อยก็จะส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะระบบการขจัดของเสียออกจากร่างกาย เมื่อร่างกายไม่สามารถขจัดของเสียออกมาได้หมด ของเสียก็จะเกิดการสะสมภายในร่างกาย เมื่อมีการสะสมในปริมาณที่มากขึ้นสารพิษเหล่านี้ก็จะส่งผลให้ระบบทุกระบบเกิดความผิดปกติตามไปด้วย และน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ก็จะสกปรกเต็มไปด้วยสารพิษ และสารพิษก็จะเข้าไปทำลายคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิว ส่งผลให้คอลลาเจนมีปริมาณลดลง เกิดความริ้วรอย ฝ้า กระ ความหมองคล้ำ ผิวหนังแห้ง หยาบบนใบหน้า

4. การกิน

การที่ร่างกายจะสมบูรณ์แข็งแรงได้ เราต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อที่ระบบการทำงานภายในร่างกายจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อใดก็ตามที่เรารับประทานอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เองแล้ว ก็จะส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ระบบการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมและ การฟื้นฟูผิวหน้า ส่วนที่สึกหรอไม่สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะกระบวนการสร้างคอลลาเจนต้องอาศัยวิตามินเป็นตัวช่วยอย่างมาก ดังนั้นถ้าร่างกายเกิดภาวะขาดสมดุลของวิตามินแล้ว กระบวนการผลิตคอลลาเจนก็จะไม่สามารถสร้างคอลลาเจนออกมาได้ นอกจากนั้นถ้าร่างกายขาดสมดุลของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายก็จะส่งผลให้กระบวนการผลิตฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ ไม่สามารถผลิตโกรทฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและความผิดปกติของระบบการทำงานภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความเสื่อมเป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยและปัญหาผิวบนใบหน้าอีกด้วย

5. การพักผ่อน

การพักผ่อนที่เพียงพอด้วยการนอนจะส่งผลให้ร่างกายมีการสร้างโกรทฮอร์โมน โกรทฮอร์โมน ( Growth Hormone: GH ) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “น้ำพุแห่งความหนุ่มสาว” โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนที่หลั่งอออกมาจากต่อมไร้ท่อ ช่วงวัยเด็กฮอร์โมนมีหน้าที่ในการควบคุมเจริญเติบโตของร่างกายให้เหมาะสมกับช่วงวัย ควบคุมความกระดูกให้แข็งแรง ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีการเจริญเติบโต ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน สร้างพัฒนาการของสมอง โกรทฮอร์โมนเป็นโปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ( Amino-acid ) จำนวน 191 ชนิด ฮอร์โมนนี้ร่างกายจะมีการสร้างตลอดชีวิต แต่จะมีปริมาณการสร้างที่ไม่เท่ากันโดยในวัยเด็กหรือในวัยที่กำลังเจริญเติบโตจะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ในปริมาณที่สูงมาก แต่เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่โกรทฮอร์โมนจะเปลี่ยนหน้าที่จากการสร้างความเจริญเติบโตเป็นการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ให้สามารถทำงานได้เหมือนเดิมคล้ายกับการคงความหนุ่มสาวให้คงอยู่ยาวนานขึ้นนั้นเอง ซึ่งร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนในช่วงการนอนหลับลึกตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงประมาณตีหนึ่งครึ่ง ดังนั้นถ้าช่วงเที่ยงคืนถึงตีหนึ่งครึ่งถ้าเรายังไม่เข้าสู่สภาวะการหลับลึกแล้ว ร่างกายก็จะไม่มีการหลั่งของโกรทฮอร์โมนออกมาก ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการซ่อมแซมระบบการทำงานที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความเสื่อมโดยเฉพาะบริเวณ ผิวหน้า ที่จะมีการแสดงปัญหาออกมาอย่างชัดเจน เช่น หน้าหมองคล้ำ ริ้วรอยที่รอบดวงตา ผิวหนังเหี่ยว เป็นต้น

จะพบว่าปัจจัยข้างต้นนี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่เร่งความเสื่อมให้กับการผลิตคอลลาเจนใต้ผิวและฮอร์โมนที่มีผลต่อการเกิดปัญหาผิวพรรณบนใบหน้า ปัจจุบันนี้ได้มีการความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ต้องการช่วยใน การฟื้นฟูผิวหน้า และดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นกับผิวบนใบหน้าที่สามารถช่วยฟื้นฟูแลแก้ปัญหาผิวพรรณบนใบหน้าอย่างได้ผล ทำให้ใบหน้ามีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลดูอ่อนกว่าวัย

การรักษานี้จะทำการออกแบบการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ทั้งการกิน การนอน การออกกำลังเพื่อช่วยในการสร้างสมดุลให้กับร่างกาย ทั้งทางด้านโภชนาการด้วยการให้รับประทานอาหารเสริมและวิตามินที่ร่างกายขาดจนส่งผลให้กระบวนการสร้างคอลลาเจนและโกรทฮอร์โมนมีความผิดปกติ ซึ่งการออกแบบนี้จะเป็นการออกแบบเฉพาะจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่สร้างผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน

การรับประทานอาหารเสริมและวิตามินที่ร่างกายขาดจะช่วยให้ระบบการทำงานที่ช่วยสร้างโกรทฮอร์โมนมีการทำงานที่ดีขึ้นสามารถสร้างโกรทฮอร์โมนได้มากขึ้น เนื่องจากโกรทฮอร์โมนมีองค์ประกอบจากกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดสมดุลของกรดอะมิโนและวิตามินบางชนิดก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการสร้างโกรทฮอร์โมนลดลง ดังนั้นเมื่อร่างกายมีปริมาณกรดอะมิโนที่ได้จากอาหารเสริมและวิตามิน เช่น แอล-ไลซีน ( L-Lysine ),แอล-กลูตามีน ( L-glutamine ) แอล-ไกลซีน ( L-Glycine ), แอล-เฟนิลอลานีน ( L-Phenylalanine ), แอล-คาร์นิทีน ( L-Carnitine ), แอล-อาร์จินีน ( L-Arginine ) เป็นต้น กรดอะมิโนที่ได้จากอาหารเสริมนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบการผลิตฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อให้มีการสร้างและหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาจากภายในร่างกายให้มากขึ้น โกรทฮอร์โมนจะข้าไปช่วยเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญไขมัน น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกาย จึงช่วยลดการที่ไขมันจะเข้าไปอุดตันเส้นเลือดที่บริเวณใบหน้าอย่างได้ผล ทำให้เลือดสามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ที่บริเวณใบหน้า เซลล์จึงมีจึงมีความแข็งแรงสามารถทนทานต่อการทำลายของแสงแดดและสารอนุมูลอิสระจากภายนอก และยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นกระบวนการสร้างคอลลเจนและอีลาสตินที่อยู่ใต้ผิวหนัง จึงสามารถช่วยป้องกันและลดความเสื่อมของเซลล์บนใบหน้าซึ่งเป็นที่มาของปัญหาผิว เช่น ฝ้า กระ ผิวแห้งกร้าน รอยไหม้ ได้เป็นอย่างดี

นอกจากการสร้างโกรทฮอร์โมนแล้ว การรับประทานอาหารเสริมและวิตามินยังสามารถช่วยกระตุ้นกระบวนการการสร้างคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวได้ด้วยการเสริมอาหารและวิตามิน ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจนใต้ผิว เช่น วิตามินซี ( Vitamin C ), ไลโคปีน ( Lycopene ), ไลซีน ( Lysine ), ทองแดง ( Copper ) เป็นต้น โดยอาการเสริมและวิตามินจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการเปลี่ยนกรดอะมิโนให้กลายเป็นคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิว ดังนั้นถ้าร่างกายเกิดภาวะขาดวิตามินและแร่ธาตุก็จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนกรดอะมิโนให้กลายเป็นคอลลาเจนได้ ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอในการสร้างเอนไซม์แล้ว การสร้างคอลลาเจนก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทำให้คอลลาเจนสามารถเข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่อยู่ใต้ผิว ส่งผลให้ผิวหนังที่อยู่ด้านนอกไม่มีการยุบตัว จึงไม่เกิดรอยเหี่ยวย่น ตีนกา และคอลลาเจนยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับใบหน้าอีกด้วย จึงช่วยทำให้ ผิวหน้า ดูสดใส เต่งตึงเรียบเนียน มีน้ำมีนวลแลดูอ่อนเยาว์ น่ามองไม่ว่าใครพบเห็นก็มีแต่ความประทับใจในผิวพรรณที่ดูดี
การดูแลสุขภาพจากภายในด้วยการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเสริมด้วยอาหารเสริมโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อที่ร่างกายจะได้มีสมดุลทางโภชนาการครบถ้วนส่งผลให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์จากภายในก็จะส่งผลถึงการแสดงออกภายนอก ทั้งด้านจิตใจที่สดใส ใบหน้าที่สดชื่น รวมถึงปัญหาผิวพรรณ ริ้วรอยบนใบหน้าก็จะหมดไปด้วย การฟื้นฟูผิวหน้า และดูแลอย่างตรงจุดทำให้ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย ผิวพรรณดูดี บุคลิกความมั่นใจที่มีก็เต็มร้อย ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Stampfer, M., Hu, F., Manson, J., Rimm, E., Willett, W. (2000) Primary prevention of coronary heart disease in women through diet and lifestyle. The New England Journal of Medicine, 343 (1) , 16-23. Retrieved October 5, 2006, from ProQuest database.