ส่วนประกอบของเครื่องสำอางต่างๆ ที่ควรทราบ
กลิตเตอร์ มีประกายมุกอนุภาคขนาดใหญ่ผสมอยู่ จึงมีความระยิบระยับมากเป็นพิเศษ ช่วยทำให้ตาหรือเล็บดูระยิบระยับแวววาวเหมือนเครื่องประดับโลหะ

เครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ด้วยการ ทา ถู นวด พ่น หรือโรย เพื่อ ทำความสะอาด หรือเสริมแต่งให้เกิดความสวยงาม หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ โดยในสมัยแรกๆ นั้น ใช้เครื่อง สำอางเนื่องจากความจำเป็น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือธรรมชาติ

เอทานอล ( Ethanol )
เอทานอลระเหยเป็นไอได้และช่วยกระชับผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนิยมใช้ในโลชั่นหรือยาสมานผิวแฮร์โทนิคและน้ำหอมซึ่งมีเอทานอลผสมอยู่ในปริมาณมาก นอกจากจะช่วยกระชับผิวแล้ว ยังช่วยฆ่าเชื้อโรคและลดการติดเชื้อได้อีกด้วย

พาราเบน ( Paraben )
เป็นสารที่มีคุณสมบัติที่ช่วยอุดการก่อตัวของเชื้อโรคและเชื้อราได้ดี เป็นส่วนประกอบของสารกันบูดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่นผลิตภัณฑ์อาหารและยา แต่ถือว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวร่วงโรยก่อนวัยอันควร เป็นต้นเหตุของกระและริ้วรอย และมีความเป็นไปได้สูงว่าจะกลายเป็นสารต้องห้ามใน เครื่องสำอาง ในไม่ช้านี้

อัลลันโทอิน ( Allantoin )
อัลลันโทอิน เป็นสารสกัดจากใบและรากของต้นคอมเฟรย์ที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศยุโรปและเอเชีย ช่วยให้ผิวคงสภาพปกติและเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อให้แข็งแรง

ว่านหางจระเข้ ( Aloe )
วุ้นว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยกรดแอมิโน วิตามิน เอนไซม์และแร่ธาตุหลากหลายชนิด น้ำที่สกัดจากว่านหางจระเข้มีมอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังรักษาความสมดุลของค่า pH ของผิวได้อย่างยอดเยี่ยม

คาโมมายล์ ( Camomile )
คาโมมายล์ช่วยคงสภาพผิวให้เป็นปกติได้เป็นอย่างดีและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ในน้ำมันคาโมมายด์นั้นมีบิซาโบลอลและคามาซูลีนเป็นส่วนประกอบหลัก

เชียบัตเตอร์ ( Shea Butter )
เป็นสารสกัดจากต้นคาริเทจากแอฟริกา เป็นน้ำมันที่ผลิตโดยกระบวนการสกัดเย็น (การสกัดโดยไม่ใช้ความร้อน) ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น ซึมซาบสู่ผิวได้ดีและบำรุงผิวได้อย่างยอดเยี่ยม

กลีเซอรีน ( Glycerine )
กลีเซอรีนมีสารบำรุงและสารเพิ่มความชุ่มชื้นที่มีประสิทธิภาพสูง เป็น เครื่องสำอาง ที่สกัดมาจากผักจึงไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และช่วยลดอาการระคายเคืองลงได้

สารสกัด BHA ( Beta Hydroxy Acid )
BHA ที่ใช้ใน เครื่องสำอาง ถือเป็นกรดซาลิไซลิกอย่างหนึ่ง ก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า AHA และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ BHA ซึ่งเป็นสารที่ละลายในไขมัน จะช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วในชั้นหนังกำพร้า แต่ก็ซึมเข้าสู่ผิวชั้นหนังแท้และทำปฏิกิริยากับเซลล์ที่ตายแล้วในร่องรูขุมขน

สารสกัด AHA ( Alpha Hydroxy Acid )
ช่วยขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและทำให้ผิวดูสม่ำเสมอ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัด AHA 10%  ขึ้นไป แต่การใช้มากจนเกินไปอาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้นในแต่ละวันจึงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA เกิน 1 ชนิด และต้องควรให้ความสำคัญกับการเลือกครีมกันแดด

สารอนุพันธ์ของวิตามินเอหรือเรตินอยด์ ( Retinoid )
สารต้านอนุมูลอิสระที่รู้จักกันในชื่อเรตินอยด์นั้น เป็นสารอนุพันธ์ของวิตามินเอที่แข็งแรงที่สุด ช่วยลดริ้วรอยและจุดด่างดำ ช่วยฟื้นฟูผิวที่ถูกทำลาย แต่ก็อาจส่งผลข้างเคียงได้ เช่น ผิวแห้งหรือระคายเคือง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแพนทีนอล ( หรือโปรวิตามินบี 5 ) หรือมีวิตามินอีที่ช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงเหล่านี้รวมอยู่หรือไม่ หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเรตินอยด์จำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดด้วย

เครื่องสำอาง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อทำความสะอาด หรือเสริมแต่งให้เกิดความสวยงาม หรือเพื่อเปลี่ยนรูปลักษณะ

คำศัพท์บนฉลาก เครื่องสำอาง ที่ต้องรู้

SPF และ PA
ค่า SPF ใน เครื่องสำอาง หมายถึงระยะเวลาที่ช่วยป้องกันรังสี UVB
ค่า SPF 1 หมายถึงช่วยป้องได้ 15 นาที ดังนั้น SPF 35 หมายถึง ช่วยปกป้องผิวได้อย่างต่อเนื่องนาน 35 x 15 = 525 นาที หรือประมาณ 8 ชั่วโมง
PA คือค่าดัชนีการป้องกันผิวจากรังสี UVA ไม่ได้แสดงค่าเป็นตัวเลข แต่แสดงประสิทธิภาพการป้องกันเป็นค่า +

ดีท็อกซ์ ( Detox )
การกำจัดสารพิษที่สะสมในร่างกายมนุษย์ สำหรับในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวนั้น หมายถึง หน้าที่ในการขับสารพิษที่สะสมในผิวหนังอันเนื่องมาจากมลพิษในสิ่งแวดล้อมหรือจากความเครียด

ลิฟติ้ง ( Lifting ) / เฟิร์มมิ่ง ( Firming )
ช่วยกระชับรูขุมขน ช่วยบำรุงและทำให้ชั้นหนังแท้มีความยืดหยุ่น มักพบในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับผู้หญิงวัย 30 ขึ้น ไป

ลองลาสติ้ง ( Long-lasting )
ทำให้ เครื่องสำอาง ติดทนนาน

คอนเซนเตรท ( Concentrate )
สารที่มีความเข้มข้น อุดมไปด้วยสารบำรุงและมักจะมีเนื้อข้น

โอเทอร์มอล ( Eau Thermale )
น้ำแร่จากน้ำพุร้อน ส่วนใหญ่ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งผลิตในเขตยุโรปประเภทที่ใช้น้ำแร่เป็นตัวทำละลาย

พอร์ไทเทนนิ่ง ( Pore Tightening )
ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำความสะอาดและกระชับรูขุมขน 

ลิควิด ( Liquid ) / ฟลูอิด ( Fluid )
เนื้อ เครื่องสำอาง สภาพใกล้เคียงกับของเหลว

มอยส์เจอไรเซอร์ ( Moisturizer )
สารที่ให้ผิวชุ่มชื้น

ออยล์ฟรี ( Oil-free )
ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันผสมอยู่ในปริมาณที่น้อยมากซึ่งจำเป็นสำหรับผิวมันหรือผิวที่มีสิว

วอเตอร์พรู๊ฟ ( Waterproof )
มีคุณสมบัติกันน้ำ เครื่องสำอาง จะไม่เลอะเปรอะเปื้อนเมื่อสัมผัสกับน้ำ

เนื้อครีม เครื่องสำอาง

กลอส ( Gloss )
มีลักษณะเรียบลื่นและใสเหมือนทาแว็กซ์หรือทาเล็บ ตัวอย่างไอเทมประเภทนี้คือ ลิปกลอส

แมตต์ ( Matte )
หมายถึงสภาพเนื้อด้าน ไม่มีประกายหรือความมันวาวเลย เวลาทาลิปสติกเนื้อแมตต์ สีที่ปรากฏบนริมฝีปากจะไม่แตกต่างจากสีของลิปสติกในแท่ง

กลิตเตอร์ ( Glitter )
มีประกายมุกที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ผสมอยู่ จึงมีความระยิบระยับมากเป็นพิเศษ ช่วยทำให้ตาหรือเล็บดูระยิบระยับแวววาวเหมือนเครื่องประดับโลหะ

เชียร์ ( Sheer )
เนื้อ เครื่องสำอาง ชนิดนี้จะให้ความรู้สึกสว่างใสและไร้สี ให้ความแวววาวที่ทำให้ผิวดูเปล่งประกาย

ชิมเมอร์ ( Shimmer )
หมายถึง “ระยิบระยับอย่างละเอียดอ่อน” มีมุกผสมอยู่เล็กน้อย ให้ความระยิบระยับแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับแสงที่ส่องมายังใบหน้า ให้ความรู้สึกผิวมีสุขภาพดี

สปาร์คลิ่ง ( Spakling )
ค่อนข้างเป็นประกายระยิบระยับด้วยความแพรวพราวของประกายมุก ใช้แต่งได้หลายลุคตามขนาดอนุภาคของมุก

รวมคำศัพท์เทคนิคการแต่งหน้า

เฉดดิ้ง ( Shading )
เป็นการใช้เทคนิคของแสงและเงา คือการทำให้พื้นที่รอบนอกของใบหน้ามีสีเข้มกว่าสีผิว 1 โทน ซึ่งจะช่วยให้ใบหน้าดูเล็กลง

กราเดชั่น ( Gradation )
การนำสีต่างกันมาใช้ร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ โดยทำให้มองไม่เห็นรอยต่อที่ชัดเจนระหว่าง 2 สีนั้น

เบลนดิ้ง ( Blending )
การเกลี่ยสีและเนื้อ เครื่องสำอาง ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน สามารถแต่งหน้าให้ดูสวยสง่าและแลดูมีระดับได้มากกว่าการใช้เพียงสีเดียว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลีคยองมิน : เขียน; ชนามาศ เพ็งสมบูรณ์: แปล จาก My sweet makeup recipes อยากสวยต้องกล้าแต่ง : กรุงเทพฯ : Steps อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2558.