ถาม – ตอบ ปัญหามะเร็ง
ผู้ป่วยและญาติต่างมีคำถามที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพื่อจะได้รู้และปฏิบัติได้ถูกต้อง

ถาม – ตอบ ปัญหาเรื่องมะเร็ง

ถาม : ปัญหามะเร็งเกิดจากอะไร ?

ตอบ : ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดปัญหามะเร็ง แต่จากการศึกษาเชื่อว่า น่าจะมาจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่

1. อายุ พบว่ายิ่งมีอายุมากขึ้น ยิ่งมีโอกาสเกิดปัญหาโรคมะเร็งสูงขึ้น เพราะมีโอกาสเกิดความผิดปกติจากการกลายพันธุ์ของเซลล์สูงขึ้น เนื่องจากการต้องซ่อม/สร้างซ้ำๆ/หลายๆ ครั้งของเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียหาย จากสาเหตุต่างๆ ปัญหาโรคมะเร็งตามอายุขัยของแต่ละคน

2. ปัญหาโรคมะเร็งจากความผิดปกติจากพันธุ์กรรม ซึ่งโรคมะเร็งบางชนิดอาจมีปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้จากครอบครัว บางชนิดมีปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด โดยเกิดความผิดปกติขึ้นเองตามธรรมชาติของคนคนนั้นและมักเป็นพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัว หรือการตายของเซลล์ปกติ

[adinserter name=”มะเร็ง”]

3. เชื้อชาติ พบว่าบางเชื้อชาติมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งบางชนิดสูงกว่าเชื้อชาติอื่นๆ เช่น คนจีนตอนใต้ เป็นโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกมากกว่าคนเชื้อชาติอื่น หรือคนผิวขาวเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิด เมลาโนมาสูงกว่าคนชาติอื่นเป็นต้น

4. ปัญหามะเร็งจากการได้รับสารก่อมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เช่น จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ หรือจากการบริโภคอาหาร/น้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง

5. ปัญหามะเร็งจากอาหาร เพราะพบว่าคนที่บริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารหมักดองหรือบริโภคเนื้อแดงสูง มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งบางชนิดสูงกว่าคนบริโภคอาหารมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ในปริมาณเหมาะสม เช่น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

6. ปัญหามะเร็งจากโรคอ้วน พบว่าคนที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งบางชนิดสูงกว่าคนปกติ เช่นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

7. มีภูมิคุ้มกัน ต้านทานร่างกายบกพร่อง จากปัญหาโรคมะเร็งพบว่าคนที่มีภูมิคุ้มกัน/ต้านบกพร่องมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าคนปกติ เช่น คนที่มีเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV หรือในคนปลูกถ่ายอวัยวะที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทางโรค เช่นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

8. การติดเชื้อบางชนิด ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา เช่น ในโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งตับ และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

9. จากการได้รับสารเคมีบางชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง จากการประกอบอาชีพ เช่น โรคมะเร็งบางชนิดพบบ่อยในช่างไม้ และบางชนิดพบบ่อยในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมหรืออุตสาหกรรมทำสีชนิดต่างๆ เช่นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

10. ปัญหามะเร็งจากการได้รับยาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด หรือยาเคมีบำบัด

11. การได้รับรังสีบางชนิดในปริมาณสูงหรืออย่างต่อเนื่อง เช่น จากรังสียูวีในแสงแดดหรือรังสีจากการตรวจรักษาโรค เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : มะเร็งพบได้บ่อยหรือไม่ ?

ตอบ : ปัญหาโรคมะเร็งบางชนิดพบได้บ่อย โดยมะเร็งชนิดที่พบบ่อย 10 ลำดับแรกในผู้ชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ส่วนมะเร็งชนิดที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย 10 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งที่พบบ่อยในเด็ก 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว เนื้องอก มะเร็งสมอง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ถาม : จากปัญหามะเร็งส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอย่างไร ?

ตอบ : โรคมะเร็งไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะมีอาการคล้ายคลึงกับการอักเสบทั่วไป แตกต่างกันตรงที่มักเป็นอาการเรื้อรัง ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และอาการต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีธรรมดาทั่วไป อาการจากโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย ได้แก่

  1. มีก้อนเนื้อโตผิดปกติ / โตเร็ว

2. มีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายด้วยการรักษาปกติทั่วไป

3. มีไข้เป็นๆ หายๆ หาสาเหตุไม่ได้ เป็นได้ทั้งไข้สูงและไข้ต่ำๆ

4. ไอเป็นเลือด

5. เสียงแหบโดยหาสาเหตุไม่ได้

6. กลืนติด เจ็บ กลืนลำบาก

7. เสมหะหรือน้ำลายมีเลือดปน  [adinserter name=”มะเร็ง”]

8. เลือดกำเดาไหลบ่อยโดยหาสาเหตุไม่ได้

9. ปัสสาวะเป็นเลือด

10. อุจจาระเป็นมูก และ / หรือเป็นมูกเลือด / เป็นเลือด

11. ท้องผูกสลับกับท้องเสียโดยหาสาเหตุไม่ได้

12. ตกขาว โดยมักมีกลิ่นด้วย

13. ประจำเดือนผิดปกติ ทั้งมีมากและ / หรือมีบ่อย

14. มีเลือดออกผิดปกติ หลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่เคยเป็นมาก่อน

15. มีเลือดออกทางช่องคลอดภายหลังหมดประจำเดือนแล้ว

16. ซีดโดยหาสาเหตุไม่ได้

17. ห้อเลือดง่าย มีจุดแดงจากการมีเลือดออกที่ผิวหนัง คล้ายอาการของไข้เลือดออก เป็นๆ หายๆ

18. มีอาการปอด ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หรือร่วมกับอาการอื่น เช่น แขน / ขาอ่อนแรงและ / หรือมีอาการชา

19. มีอาการชักโดยไม่เคยเป็นมาก่อน

20. ปวดศีรษะรุนแรง ร่วมกับอาเจียนและ / หรือแขน / ขาอ่อนแรง

21. ผอมลง น้ำหนักลด โดยหาเหตุไม่ได้

[adinserter name=”มะเร็ง”]

22. ปัญหามะเร็งจากการมีอาการผิดปกติอื่นๆ โดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นอาการเรื้อรังมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยวิธีรักษาปกติทั่วไป

ถาม : จะรู้ได้ยังไงว่ามีปัญหามะเร็งอยู่ ?

ตอบ : แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งได้จากการสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การเอกซเรย์ การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตามอาการของผู้ป่วยหรือตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่นการส่องกล้อง เมื่อมีอุจจาระเป็นมูกเลือดแต่ที่ได้ผลแน่นอนคือ การเจาะ ดูด และการตัดชิ้นเนื้อ จากก้อนเนื้อ / แผลที่ผิดปกติ ไปตรวจทางเซลล์วิทยาและ / หรือพยาธิวิทยา

ถาม : โรคมะเร็งมีหลายระบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความนิยมของแพทย์ว่าจะเลือกใช้ระบบใด แต่โดยทั่วไปนิยมใช้ระบบที่จัดทำโดยคณะกรรมการโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า จัดระยะโรคมะเร็งในระบบเอเจซีซี AJCC : American Joint Committee on Cancer?

ตอบ : โดยทั่วไป โรคมะเร็งมี 4 ระยะ ( แต่บางระยะแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นข้อบ่งชี้ทางการรักษา ซึ่งจะยุ่งยากซับซ้อนสำหรับคนทั่วไป จึงไม่กล่าวถึงในที่นี้ ) ซึ่งทั้ง 4 ระยะจะคล้ายคลึงกันในโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด ได้แก่

ระยะที่ 1 โรค / ก้อนเนื้อ / แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ลุกลามอยู่เฉพาะในเนื้อเยื่อ / อวัยวะต้นกำเนิดของมะเร็ง

ระยะที่ 2 โรค / ก้อนเนื้อ / แผลมะเร็งมีขนาดปานกลาง ลุกลามไม่มากและอาจมีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง (แต่เป็นการลุกลามเพียงเล็กน้อย เช่น ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองเพียง 1-2 ต่อม หรือต่อมน้ำเหลืองยังมีขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร)

ระยะที่ 3 โรค / ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งมีขนาดโตมาก และ / หรือลุกลามลึกเข้าไปยังเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียงมาก และ / หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ อวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง โดยลุกลามอย่างมาก มากกว่า 1-2 ต่อม  [adinserter name=”มะเร็ง”]

ระยะที่ 4  ปัญหาโรคมะเร็งระยะที่ 4 เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูงสุด โดยทั่งไปแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีโรคลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจาย และกลุ่มที่มีการแพร่กระจากของโรคแล้ว โดยโรคระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย เป็นระยะที่โรคมะเร็งไม่มีโอกาสรักษาหายได้เป็นระยะโรคที่รุ่นแรงที่สุด แต่ถ้าเป็นโรคระยะที่ 4 ชนิดลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายจะมีโอกาสรักษาได้หาย ถึงแม้โอกาสรักษาหายจะน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับในโรคมะเร็งระยะอื่นๆ ก็ตาม

โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดที่มีโรคลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายได้แก่ ปัญหาโรคมะเร็งในระยะที่มีการลุกลามโดยตรงอย่างรุนแรง จากก้อน / แผลมะเร็งเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะที่อยู่รอบๆ / ข้างเคียง เช่น ทำให้เกิดการทะลุของเนื้อเยื่อ / อวัยวะนั้นๆ และ / หรือลุกลามรุนแรงเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียงพร้อมๆ กันหลายๆ เนื้อเยื่อ / อวัยวะ และ / หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้อวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง โดยต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตมาก ( เกิน 6 เซนติเมตร ) หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงหลายๆ ต่อม แต่อย่างไรก็ตาม จะยังไม่มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด หรือกระแสน้ำเหลือง

โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย ได้แก่

1.ระยะที่มีการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง ไปยังอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากเนื้อเยื่อ / อวัยวะต้นกำเนิดโรคมะเร็ง เป็นการแพร่กระจายเข้าทางกระแสเลือด มักแพร่กระจายเข้าสู่ปอด ตับ กระดูก ไขกระดูก และสมอง

2.ระยะที่โรคมะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่กระแสน้ำเหลือง ไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปจากเนื้อเยื่อ / อวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง ตัวอย่างเช่น ในโรคมะเร็งปากมดลูก เมื่อมีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ปากมดลูกคือ ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน / ช่องท้องน้อย จัดเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3 แต่เมื่อแพร่กระจายตามกระแสน้ำเหลืองไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลจากปากมดลูกคือต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องและ / หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า จะจัดเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 ชนิดแพร่กระจาย

ถาม : รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่เท่าไหร่ ?

ตอบ : แพทย์โรคมะเร็งจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่เท่าใด ไปตรวจที่สำคัญในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่เท่าไร คือ การสอบถามประวัติอาการต่างๆ การตรวจไตและสมดุลของเกลือแร่

[adinserter name=”มะเร็ง”]

1.เอกซเรย์ปอด ดูการทำงานของปอด / หัวใจ และการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่ปอด

2.ตรวจภาพอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็งด้วยการเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และ / หรือเอ็มอาร์ไอ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพื่อดูการลุกลามของก้อน / แผลมะเร็ง

3.ตรวจอัลตราซาวนด์ Sonogram หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตับตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และ / หรืออาการของผู้ป่วย เพื่อดูการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเข้าสู่ตับ

4.ตรวจกระดูก อาจโดยการสแกนกระดูกทั้งตัว ตามอาการของผู้ป่วยและ / หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพื่อดูการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเข้าสู่กระดูก

5.การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม ตามอาการของผู้ป่วย / หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น การส่องกล้อง การกรวดน้ำไขสันหลัง การตรวจไขกระดูก และการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น การสแกนกระดูกหรือเพ็ตสแกน

ถาม : โรคมะเร็งมีวิธีรักษาอย่างไร ?

ตอบ : วิธีหลักในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน คือ การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด ฮอร์โมน ( ใช้รักษาเฉพาะโรคมะเร็งชนิดที่มีธรรมชาติของบางระยะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่การรักษายังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึง )

ส่วนการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ก็เช่น ยารักษาตรงเป้า ชีวสารรักษา การปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ และการปลูกถ่ายไขกระดูก/สเต็มเซลล์ในโรคมะเร็งชนิดอื่น ( นอกเหนือจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว/โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ) ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และวิธีการเหล่านี้ก็ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึง

รักษาทางอายุกรรมทั่วไป ซึ่งใช้รักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วยทุกคนและในโรคมะเร็งทุกระยะ และใช้ร่วมกับวิธีการต่างๆ ในการรักษาตัวโรคมะเร็ง ( ผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ) ส่วนการรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก มีบางที่แน่ชัดว่าได้ประโยชน์  [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : วิธีการรักษาโรคมะเร็งตามระยะโรคเป็นอย่างไร ?

ตอบ : วิธีการรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรค ในที่นี้จะกล่าวโดยรวม ซึ่งในโรคมะเร็งบางชนิดหรือในผู้ป่วยบางคน อาจได้รับการรักษาแตกต่างออกไป โดยขึ้นกับอายุและสุขภาพของผู้ป่วย และข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ การเลือกใช้วิธีการรักษาตามระยะของโรคมะเร็ง จะได้จากการศึกษาทางการแพทย์ของโรคมะเร็งแต่ละชนิด

การรักษาโรคมะเร็งระยะที่ 1 เป็นการรักษาเพื่อหวังผลหายขาด อาจใช้วิธีการรักษาหลักเพียงวิธีการเดียว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ / หรืออวัยวะที่เป็น เช่น ผ่าตัดเพียงวิธีการเดียวหรือรังสีรักษาเพียงวิธีการเดียว ยกเว้นเมื่อเป็นโรคระยะที่ 1 แต่เป็นชนิดที่มีความรุนแรงโรคสูง ( แพทย์ทราบได้จากลักษณะทางพยาธิวิทยาของโรคมะเร็งชนิดนั้นๆ เช่น มีการลุกลามของเซลล์มะเร็งเข้ากระแสเลือดหรือกระแสน้ำเหลือง ) ก็อาจมีการรักษาร่วมกันหลายวิธีการ เช่น การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาและ / หรือเคมีบำบัด

การรักษาโรคมะเร็งระยะที่ 2 เป็นการรักษาเพื่อหวังผลหายขาด ในโรคมะเร็งบางชนิดที่มีความรุนแรงของโรคต่ำ อาจยังคงใช้วิธีการรักษาเพียงวิธีการเดียว แต่ส่วนใหญ่มักใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาและ/หรือเคมีบำบัด

การรักษาโรคมะเร็งระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ชนิดที่มีการลุกลามรุนแรงแต่ยังไม่แพร่กระจาย ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ถึงแม้โอกาสรักษาหายจะต่ำกว่าในโรคมะเร็งระยะที่ 1 และ 2 แต่แพทย์ก็ยังคงให้การรักษาโดยหวังผลหายขาด และมักใช้การรักษาหลายวิธีการร่วมกัน

แต่ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพไม่ดีและผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งมักทนผลข้างเคียง / แทรกซ้อนจากการรักษาเพื่อการหายขาดไม่ได้ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการบรรเทา / ประทังอาการ และการรักษาเพื่อประคับประคอง / พยุงอาการ / การรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป

โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย ซึ่งเป็นโรคในระยะที่รักษาไม่หาย หากผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แพทย์จะให้การรักษาโดยการบรรเทาประทังอาการ แต่ถ้าผู้ป่วยสุขภาพไม่ดีหรือเป็นผู้ป่วยสูงอายุ แพทย์จะให้การรักษาโดยการประคับประคองพยุงตามอาการ / การรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : ปัญหาโรคมะเร็งมีโอกาสรักษาหายหรือไม่ ?

ตอบ : โรคมะเร็งมีโอกาสรักษาหายได้ ( อัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ระยะโรคและชนิดของเซลล์มะเร็งธรรมชาติของโรคมะเร็งแต่ละชนิด อายุและสุขภาพของผู้ป่วยโดยทั่วไป

มะเร็ง ระยะที่ 1 มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 70-90

มะเร็งที่ ระยะ 2 มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 50-80

มะเร็งที่ ระยะ 3 มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 20-50

มะเร็ง 4 หากเป็น ระยะที่ 4 ชนิดลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีโรคแพร่กระจาย มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 5-30 แต่ในกลุ่มที่มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองระยะไกล มักไม่มีโอกาสอยู่รอดที่ 5 ปี ส่วนใหญ่มักอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน – 2 ปี   เพระโรคมะเร็งส่วนใหญ่ภายหลังรับรักษาครบแล้ว ถ้าจะมีการย้อนกลับเป็นซ้ำการลุกลาม หรือการแพร่กระจาย มักเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากครบการรักษา ( ประมาณร้อยละ 80-90 เกิดขึ้นภายใน 2-3 ปีหลังครบการรักษา )

ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยอยู่ได้ครบ 5 ปี โดยไม่มีโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและ / หรือการแพร่กระจาย ทางการแพทย์โรคมะเร็งจะถือว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจาก 5 ปีแล้ว ผู้ป่วยยังมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและ / หรือแพร่กระจายได้ ประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยง

ถาม : โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำหมายความว่าอย่างไร ?

ตอบ : โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ หมายถึง ภายหลังการรักษาครบแล้วแพทย์ตรวจซ้ำไม่พบโรคมะเร็ง แต่เมื่อติดตามโรคระยะหนึ่ง มักนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป กลับตรวจพบว่ามีโรคมะเร็งชนิดเดิมเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อ / อวัยวะเดิม (รอยโรค) และ / หรือในต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อ / อวัยวะเดิม

[adinserter name=”oralimpact”]

ถาม : โรคมะเร็งชนิดที่ 2 หมายความว่าอย่างไร ?

ตอบ : โรคมะเร็งชนิดที่ 2 หมายความว่าเมื่อเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งแล้วยังตรวจพบโรคมะเร็งชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคมะเร็งคนละชนิดกับโรคมะเร็งเดิม และมักเกิดในเนื้อเยื่อ/อวัยวะใหม่ ไม่ใช่เนื้อเยื่อ/อวัยวะเดิม

ถาม : มีวิธีตรวจคัดกรองให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่เริ่มเป็นหรือไม่ ?

ตอบ : มีเพียงปัญหาโรคมะเร็งบางชนิด ( ส่วนน้อย ) เท่านั้น ที่มีวิธีตรวจคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพ ให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่เริ่มเป็น โรคมะเร็งโดยส่วนใหญ่ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ( อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีโรคมะเร็งที่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ )

ถาม : มีวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งหรือไม่ ?

ตอบ : ปัจจุบันมีเพียงปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น ที่มีวิธีการป้องกันการเกิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ที่สำคัญคือ บุหรี่ เหล้า อาหารไม่มีประโยชน์ โรคอ้วน การสำส่อนทางเพศ และสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งแวดล้อม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Body Fatness and Cancer. Viewpoint of the IARC Working Group. NJ Med.2013.