ชนิดของโรคเบาหวานและการป้องกันเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือ โรคภัยไข้เจ็บที่คนสมัยนี้ตรวจพบและเป็นกันมากขึ้น เนื่องจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา จนลืมเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เกิดจากความบกพร่องของคุณภาพและปริมาณของฮอร์โมนอินซูลิน ( ฮอร์โมนอินซูลิน ผลิตขึ้นมาจากเซลล์ในตับอ่อนที่เรียกว่า ( B-Islet cells of Langerhans ) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย เช่น การเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงานและเป็นไกลโคเจนเมื่อมีการออกกำลัง รวมทั้งไขมันส่วนเกินได้ ) จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปให้เป็นพลังงานแบบปกติได้ เป็นผลให้น้ำตาลเข้าไปอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ ( สูงกว่า 130 mg./dl. ) เมื่อถึงเวลาที่ไตต้องกรองความสะอาดของเลือด ไตจะไม่สามารถเก็บน้ำตาลในส่วนที่เกินออกมาได้ น้ำตาลในส่วนนั้นจึงล้นออกไปสู่ปัสสาวะ และทำให้เกิดโรคเบาหวานได้  

โรคเบาหวานระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วโลก  โดยตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 2002  ในเอเชีย มีผู้เป็นโรคเบาหวานแล้วไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน โดย โรคเบาหวาน คือ โรคภัยไข้เจ็บที่คนสมัยนี้ตรวจพบและเป็นกันมากขึ้น เนื่องจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา จนลืมเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่รู้เลยว่า ตัวเองเป็นโรคนี้นอกเสียจากว่าจะไปตรวจสุขภาพแล้วจึงจะพบ แต่กว่าจะพบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงก็ส่งผลมากมายต่อสุขภาพไปแล้ว

รู้จักชนิดของโรคเบาหวาน

เมื่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในอวัยวะต่าง ๆ จนทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ง่าย เช่น โรคไต โรคหัวใจ ตาเป็นต้อกระจก เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแบ่งชนิดของโรคเบาหวานออกได้เป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้

1.โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ประเภทพึ่งอินซูลิน ( Insulin Dependent Diabetes Mellitus, IDDM )

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ มักจะพบในคนอายุน้อย หรือเกิดอาการก่อนอายุ 30 ปีโดยเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ เซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันตัวเองผู้ป่วยมักจะมีอาการ น้ำหนักลดลง หิวน้ำบ่อยๆ ปัสสาวะบ่อยๆ มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากร่ายกายเปลี่ยนจากไขมันและโปรตีนในร่างกายมาใช้เป็นพลังงาน หากไม่รักษาอาจหมดสติได้และเป็นอันตรายถึงชีวิต การรักษาแพทย์จะใช้วิธีการฉีดฮอร์โมนอินซูลินให้กับผู้ป่วย และให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายไปด้วย

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติทางร่างกายที่เกิดจากการที่ตับอ่อนสร้าง ” ฮอร์โมนอินซูลิน ” ได้น้อยหรือไม่สามารถสร้างได้เลย ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนี้ จะคอยทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน

2.โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประเภทไม่พึ่งอินซูลิน ( Non-Insulin Dependent Diabetes Mellitus, NIDDM)   

เบาหวานชนิดนี้ มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 30 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน สามารถพบได้บ่อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุ เกิดจากการที่ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินขึ้นเองได้ แต่อินซูลินไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่เพียงพอในร่างกายหรือเซลล์เอง ที่ไม่ค่อยตอบสนองกับอินซูลิน ทั้งที่ผลิตอินซูลินได้เป็นปกติ โดยผู้ป่วยจะมีระดับอินซูลินปกติหรือสูง สาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้านต่ออินซูลิน การรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยควบคุมอาหาร ให้ออกกำลังกาย จะช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานได้

3.โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ( Gestational Diabetes Mellitus )

เป็นเบาหวานที่จะเกิดขณะตั้งครรภ์เท่านั้น สามารถตรวจพบได้ราวสัปดาห์ที่ 24ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของทารกที่กำลังเจริญเติบโตฮอร์โมนนี้ทำให้ความไวต่ออินซูลินลดลงจึงไปทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคเบาหวานแต่เมื่อคลอดลูกแล้วระดับน้ำตาลจะลดลงเป็นปกติเอง

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน

เบาหวานที่มักพบมากในคนเอเชียส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ( Type 2 Diabetes )

1.พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป
เนื่องจาก คนเอเชียได้มีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป โดยไปเน้นอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น แต่กลับออกกำลังกายลดลง จึงทำให้คนเอเชียกลายเป็นโรคอ้วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่จนนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นด้วย

2.พันธุกรรมเฉพาะของชาวเอเชีย
คนเอเชียส่วยใหญ่จะมีพันธุกรรมที่เรียกว่า มียีนประหยัด ( Thrifty Gene ) ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารไว้ในรูปแบบของไขมันที่หน้าท้อง เพื่อใช้ในกรณีที่ร่างกายขาดแคลนอาหาร แต่สำหรับคนที่ไม่มีภาวะขาดอาหาร ไขมันที่สะสมไว้จึงไม่ได้ถูกนำออกมาใช้ จึงทำให้อ้วน  เกิดปัญหาการดื้อต่ออินซูลินตามมา และเป็นโรคเบาหวานในที่สุดเบาหวานแฝง

เบาหวานแฝง  คือ

เบาหวานแฝง หมายถึง สัญญาณเตือนก่อนเป็นโรคเบาหวานเต็มขั้น โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงแต่มีระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง สรุปคือมีอาการเบาหวานซ่อนอยู่ หากไม่ได้รับการรักษาหรือปรับพฤติกรรมการชีชีวิต วันข้างหน้าก็จะกลายเป็นโรคเบาหวานแบบเต็มขั้นนั้นเอง วิธีตรวจเบาหวานแฝงโดยตรวจน้ำตาลหลังจากอดอาหารไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงทำ OGTT ( Oral Glucose Tolerance Test ) ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบเบาหวานเมื่อตรวจเลือดแล้วค่าที่ได้ออกมาก้ำกึ่งกับการไม่เป็นเบาหวาน ซึ่งแพทย์ต้องทำการตรวจซ้ำโดยให้ดื่มกลูโคส 75 กรัม ละลายในน้ำ และหลังจากนั้นอีก 2 ชั่วโมงจึงกลับมาเจาะเลือดตรวจอีกครั้งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานแฝง ที่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจ คือ ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือผู้ ที่มีความเสี่ยงต่อไปนี้  เช่นมีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน มีระดับคอเลสเตอรอลสูง เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ บุตรมีน้ำหนักแรกคลอดเกิน 4 กิโลกรัม

ระดับน้ำตาลในเลือดในการตรวจหาเบาหวาน

หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร  มีค่า ≥126 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน
หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร มีค่า = 100 – 125 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน
หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร มีค่า ≥200 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน
หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร มีค่า = 140 – 199 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่ต้องไปตรวจเบาหวาน

 

โรคเบาหวานไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัว เพียงแค่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง และน้ำตาลในปริมาณที่สูงเป็นส่วนประกอบ

เปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค

สำหรับผู้ที่ไม่อยากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ทั้งการทานอาหาร การออกกำลังกาย จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้วควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการชีชีวิตให้เป็นไปในทางที่ดีอีกด้วย

วิธีป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน

1.อย่าปล่อยตัวให้อ้วน

ร้อยละ 80 ของคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่มักมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานค่อนข้างสูง เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ประสิทธิภาพในการจัดการกับน้ำตาลและไขมันต่ำลง และเป็นผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ในที่ สุด สิ่งที่น่ากลัวคือหากเป็นแล้วไม่ควบคุมโรคก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ ตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา โรคไต และระบบปลายประสาทเสื่อม ซึ่งนำไปสู่การถูกตัดนิ้วเท้าและขาได้

2.กินอาหารป้องกันเบาหวาน

การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันและชะลอภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้  อาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในการวิจัย ได้แก่
เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสีประกอบไปด้วยใยอาหาร วิตามินอี และแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือด นอกจากนี้ใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ในธัญพืชไม่ขัดสีบางชนิดซึ่งมีมากในข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์จะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในเลือด สำหรับคนไทย หากกินข้าวซ้อมมือให้บ่อยขึ้นหรืออย่างน้อยวันละมื้อ ก็จะช่วยป้องกันหรือควบคุมเบาหวานได้ไม่แพ้ข้าวโอ๊ตและบาร์เลย์ผักและผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันเบาหวาน เส้นใยอาหารยังช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดในเลือด ดังนั้นจึงควรกินผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะผักซึ่งเป็นอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อย ให้พลังงานต่ำ ควรกินวันถั่วเปลือกแข็ง ทั้งนี้เพราะถั่วเปลือกแข็งมีไขมันที่ดี ( ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ) มาก ซึ่งช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดวิธีกินถั่วให้ได้ประโยชน์และได้ไขมันไม่มากเกินไปคือ ให้กินถั่วแทนเนื้อสัตว์บ้าง หรือกินถั่ว 1 กำมือ ( ขนาดมือผู้หญิง ) แทนขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น มันฝรั่งทอดอาหารประเภทปลา การกินปลาและการเสริมน้ำมันปลาอาจช่วยลดปัญหาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ผู้ที่กินปลาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้งมีโอกาสเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่แทบไม่กินปลาถึง 64 เปอร์เซ็นต์ และการกินปลาเดือนละ 2 – 3 ครั้งลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ 30 เปอร์เซ็นต์เลือกอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ดัชนีน้ำตาลจะเป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต มีผลต่อระดับน้ำตาลมากน้อยเพียงใดหลังจากที่กินเข้าไป

3.เคลื่อนไหวตัวเองให้มากขึ้น

ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที หรือออกกำลังกายชนิดปานกลาง วันละ 20 – 25 นาทีทุกวัน การลดน้ำหนักลงมา 5 – 7 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดความเสี่ยงการเกิดเบาหวานได้ผลดีกว่าใช้ยานี่เป็นเพียงข้อมูลที่ควรรู้ และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่หลายคน อาจจะมองข้ามไป ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ และอีกอย่างหนึ่งที่ทุกคนควรจำไว้คือ การเป็นโรคเบาหวานอาจจะทำให้ถึงตายได้ หากไม่ควบคุมดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ เพราะอาการของโรคเบาหวานสามารถที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่โรคร้ายอื่นๆได้อย่างมากมาย 

แม้โรคเบาหวานจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าเรารู้จักดูแลตัวเองให้ดี ทำตามคำแนะนำของแพทย์ หมั่นออกกำลังกายและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง และน้ำตาลในปริมาณที่สูงเป็นส่วนประกอบ โรคเบาหวานก็จะไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัวอีกต่อไป  แต่หากใครที่ยังไม่เป็นโรคนี้ก็ควรสำรวจพฤติกรรมการชีวิตของตนเอง และควรปรับในสิ่งที่ไม่ดีอันที่จะก่อให้เกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้

วิธีรักษาโรคเบาหวาน

1. ทางโภชนาบำบัด

วิธีนี้สามารถทำได้ด้วยการจัดอาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อช่วยให้คาร์โบไฮเดรตเมตาบอลิซึมของผู้ป่วยสามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งจะทำให้ระดับไขมันในเลือดกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติด้วย และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ ดังนั้น อาหารที่เหมาะสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงควรมีพลังงานที่พอเหมาะ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีการกระจายสารอาหารจากพลังงานอาหารทั้ง 3 ชนิด โดยเฉพาะในส่วนของเกลือแร่และแร่ธาตุให้เหมาะสมกับร่างกายดังต่อไปนี้

1.1 ปริมาณพลังงานที่ได้รับ

การรับพลังงานของผู้ป่วยในแต่ละวัน มีความสำคัญต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยมาก เพราะการที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงหรือลดลงต่ำ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขึ้นกับปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายได้รับ รวมทั้ง โปรตีน และไขมันด้วย ถ้าหากร่างกายได้รับพลังงานจากสารอาหารสูงกว่าความต้องการในแต่ละวัน ก็มีโอกาสที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น

ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญในการรักษาโรคเบาหวานก็คือ ควบคุมพลังงานในอาหารให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ และยังเป็นการควบคุมน้ำหนักของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมด้วย โดยมีการแบ่งการควบคุมพลังงานตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ดังนี้

  • เพื่อรักษาน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ( Maintain Ideal Weight ) ควรได้รับพลังงาน 25-30 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • เพื่อลดน้ำหนักของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (Reduce Weight) ควรได้รับพลังงาน 15-20 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ( Increase Weight ) ควรได้รับพลังงาน 30-35 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 

1.2 การกระจายพลังงานจากสารอาหารทั้ง 3 ชนิด

ผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกจากจะมีระดับกลูโคสในเลือดสูงแล้ว มักมีปัญหาไขมันในเลือดสูงอีกด้วย ซึ่งสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำการกระจายพลังงานจากสารอาหารทั้ง 3 ชนิด ดังต่อไปนี้ คือ

  • พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน

ให้เน้นรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เป็นน้ำตาลหลายชั้น เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้และอาหารประเภทถั่ว รวมทั้งควรลดปริมาณการใช้น้ำตาลทรายในการปรุงอาหาร ซึ่งภายในวันหนึ่ง ร่างกายของคนเราไม่ควรรับน้ำตาลทุกชนิดเกินวันละ 30-50 กรัม/วัน หรือน้อยกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่บริโภคทั้งหมด วิธีที่ถูกต้องในการบริโภคน้ำตาล คือควรบริโภคน้ำตาลที่ประกอบอยู่ในอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานจากน้ำตาลมากเกินไป และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง มีการระบุว่า เมื่อให้ผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลหลายชั้นเพิ่มขึ้น ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้นด้วย เพราะอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง ช่วยให้มีการกระตุ้นระดับน้ำย่อยในตับ ทำให้อินซูลินจับกับเซลล์ได้ดีขึ้น เป็นผลให้การเผาผลาญกลูโคสเป็นไปด้วยดี

  • พลังงานที่ได้รับจากโปรตีนควรอยู่ที่ร้อยละ 15-20 ของพลังงานที่ควรได้รับทั้งหมดต่อวัน

หรือประมาณ 1.0-1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาหารโปรตีนจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนจากโรคประสาทที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเนื่องจากอาหารโปรตีน มักมีวิตามินบีรวมมากด้วย โปรตีนที่ให้ควรเป็นโปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์

  • พลังงานที่ได้รับจากไขมันควรอยู่ที่ร้อยละ 30 ของพลังงานที่ควรได้รับ

ไขมันที่ได้รับควรเป็นไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว ทั้งชนิด กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (Monounsaturated Fatty Acid) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated Fatty Acid) อย่างละเท่าๆ กัน คือ ร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด

2. รักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาไม่ค่อยนิยมนัก ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้เมื่อต้องการให้ปริมาณของน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วเท่านั้น และต้องขึ้นอยู่กับแพทย์สั่งยาให้ อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงเท่านั้น ส่วนในผู้ที่มีอาการร้ายแรงและในเด็กมักจะใช้ไม่ได้ผล 

ข้อแนะนำการกินอาหารและการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1. กินข้าวและอาหารแป้งชนิดอื่นๆ ตามที่แพทย์กำหนดไว้เท่านั้น

2. กินผักและอาหารที่มีใยอาหารมาก

3. กินผักผลไม้โดยไม่ปอกเปลือก ยกเว้นถ้าจำเป็นต้องปอกจริงๆ

4. ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกมาก เช่น น้ำนมถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่น้ำตาลทุกชนิด รวมถึงอาหารที่มีรสชาติหวานจัด

6. หลีกเลี่ยงไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู มันไก่ และน้ำมันจากพืชบางประเภท เช่น น้ำมันมะพร้าว กะทิ ครีมเทียม น้ำมันปาล์ม

7. เลี่ยงเครื่องในสัตว์ และกินไข่ได้ไม่เกินวันละ 3 ฟอง

8. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอให้เหมาะกับเพศและช่วงวัย

9. กินยาและปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

10. ควบคุมอาหารโดยสม่ำเสมอ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์ม 2557.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้านว 2531.
งานวิจัยเกาหลี [เว็บไซต์]. เข้าถึงจาก www.diabassocthai.org.