การตรวจเลือดหา สัญญาณโรคกระดูก ( Bone Markers )

0
8444
การตรวจเลือดหาสัญญาณโรคกระดูก
โรคกกระดูกเป็นการเกิดความผิดปกติของกระดูกภายในร่างกายซึ่งทำให้มีอาการปวดข้อตามอวัยวะต่างๆ
การตรวจเลือดหาสัญญาณโรคกระดูก (Bone Markers)
โรคกกระดูกเป็นการเกิดความผิดปกติของกระดูกภายในร่างกายซึ่งทำให้มีอาการปวดข้อตามอวัยวะต่างๆ

สัญญาณโรคกระดูก ( Bone Markers ) สำคัญอย่างไร

นอกจากโรคเบาหวาน ภาวะความดันสูงแล้ว อีกหนึ่งอาการเจ็บป่วยที่มักพบได้บ่อยๆ เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น คือ การปวดตามข้อ ปวดกระดูก ตามส่วนต่างๆในร่างกาย  ซึ่ง สัญญาณโรคกระดูก ( Bone Markers ) เหล่านี้มีผลมาจาก กระดูกเริ่มมีความเริ่มเสื่อม หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น และถือว่าจุดตั้งต้นของภาวะ โรค กระดูก ( Bone ) นั่นเอง โรคกระดูกสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนมากจะพบ ได้ในผู้สูงอายุเป็นหลัก

การเสื่อมของกระดูก ( Bone ) ในร่างกายจะช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน ปัจจุบันในทางการแพทย์ มีวิธีการตรวจหา สัญญาณโรคกระดูก ได้แล้ว ซึ่งมีด้วยกันมากมายหลากหลายวิธี เพื่อช่วยให้สามารถวินิจฉัยภาวะของโรคกระดูกที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต และใช้เป็นข้อมูลสำหรับในการรักษาและป้องกันก่อนที่จะเกิดภาวะของโรคกระดูกในอนาคตได้นั่นเอง โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่และประโยชน์ของกระดูกต่อร่างกาย

กระดูก คือ อวัยวะชนิดหนึ่งของมนุษย์ เป็นโครงร่างภายในของร่างกาย มีลักษณะแข็งตายตัว ไม่ยืดหยุ่น

1. เป็นโครงสร้างของร่างกายที่มีความแข็งแรง  คอยช่วยพยุงร่างกายทั้งร่างที่มีแต่ความอ่อนนุ่มให้มีรูปร่างคงที่
2. ช่วยเป็นคาน ( Levers ) เพื่อยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ สำหรับการเคลื่อนไหว เช่น การยกของ หิ้วของ เป็นต้น
3. ช่วยห่อหุ้มปกป้องเส้นใยประสาทที่อาศัยกระดูกเป็นวงจรผ่านร้อยสายคู่ขนานกันไปอย่างปลอดภัย
4. ช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่นกะโหลกศีรษะที่ห่อหุ้มสมอง หรือซี่โครงป้องกันปอดและหัวใจจากการกระทบกระเทือน
5. เป็นแหล่งเก็บสะสมแคลเซียมที่สำคัญของร่างกาย เปรียบเสมือน ” คลังแคลเซียม “
6. เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดที่สำคัญ ของร่างกายจากไขกระดูก

สัญญาณโรคกระดูก บ่งบอกถึงอะไร

โรคที่เกี่ยวกับภาวะกระดูกของในร่างกาย มีการเกิดความผิดปกติขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการปวดหลัง ปวดขา ปวดตามข้อตามอวัยวะต่างๆ โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เราจะมีการสร้างกระดูก ( Bone Formation ) และการเสื่อมสลายของกระดูก (Bone Resorption) ทำงานควบคู่กันไป แต่เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น การเสื่อมสลายของกระดูกก็จะมากขึ้นไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเกี่ยวกับโรคกระดูกได้จึงจำเป็นต้องตรวจหาสัญญาณโรคกระดูกซึ่งสามารถอธิบายภาวะการเสื่อมของกระดูกได้ดังนี้

เงื่อนไข ผลกระทบต่อร่างกาย
Bone Formation >  Bone Resorption กระดูกแข็งแรงไม่มีภาวะโรคกระดูก
Bone Formation =  Bone Resorption สุขภาพกระดูกยังเป็นปกติ
Bone Formation <  Bone Resorption กระดูกเริ่มเสื่อมอาจมีภาวะของโรคกระดูกได้

ประเภทของโรค กระดูก ( Bone )

เราสามารถแบ่งประเภทของโรคเกี่ยวกับกระดูกออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
โรคกระดูกทั่วไป ( Osteoporosis )

โรคกระดูกทั่วไป หมายถึง การที่ร่างกายมีภาวะของมวลกระดูกลดลง ( Low Bone Mass ) หรือมีความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง ทำให้เกิดโพรงในกระดูก หรือมีภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้น ซึ่งอาการนี้จะส่งผลทำให้ กระดูกทุกส่วนในร่างกายขาดความแข็งแรง และจะค่อยๆเสื่อมมากขึ้น โรคนี้มักพบได้มากในผู้สูงอายุเป็นหลัก และพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคกระดูกพรุนนี้ มีสิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ การกระทบกระทั่งของร่างกาย การล้ม หรือ การชนกับของแข็ง เนื่องจากภาวะของกระดูกที่พรุนและเป็นโพรงนี้ จะทำให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยกว่าปกติ จึงทำให้กระดูกสามารถแตกและหักได้ง่าย

โรคกระดูกผิดรูป ( Paget’s Disease )

โรคกระดูกผิดรูป หมายถึง ภาวะที่กระดูกภายในร่างกายเรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ หรือมีภาวะที่กระดูกมีรูปร่าง เล็กหรือโค้งแบน ผิดปกติไปจากรูปร่างของกระดูกมาตรฐานปกติ โดยมีสาเหตุอาจเกิดจาก เชื้อไวรัสที่มีผลต่อการสร้าง [adinserter name=”ตรวจเลือดและตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพ “]และเรียงตัวกระดูก หรือ ถูกถ่ายทอดความผิดปกติมาจากพันธุ์กรรม หรือ อาจเกิดจากการเสริมสร้างรักษารูปทรงกระดูกที่ผิดปกติ ซึ่งโรคกระดูกผิดรูปนี้มักจะเกินในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และสามารถพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง

กระดูกของมนุษย์จะมีสุขภาพดีและมีความแข็งแรงได้ จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้
สารของแข็งที่ปราศจากชีวิต ( Non-Living Substance )

มีลักษณะเป็นเกลือคริสตัล เช่น ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซิเจน และไฮโดรเจน รวมกันเป็นสารประกอบทางเคมี ที่มีความแข็งเป็นพิเศษ เรียกว่า ไฮดรอกซีแอปาไทต์ ( Hydroxyapatite ) ปกติแล้ว ในร่างกายของมนุษย์เราจะมีปริมาณของ
– แคลเซียม ( Ca ) อยู่ที่กระดูกและฟันมากถึง 99 % ส่วนที่เหลืออีก 1 % จะอยู่ในองค์ประกอบของเลือด
– ฟอสฟอรัส ( P ) จะพบได้ในกระดูกประมาณ 85 % ส่วนที่เหลืออีก 15 % จะอยู่ในองค์ประกอบของเลือดและเนื้อเยื่อ

โดยจะมีอัตราส่วนของสูตรทางเคมี  คือ Ca/p = 10/6 = 5/3
สรุปคือ แคลเซียม : ฟอสฟอรัส จะเท่ากับ  5 : 3

 

หากบริโภคอาหารที่มีฟอสฟอรัสปริมาณสูงเกินไป จะส่งผลให้ร่างกายจำเป็นจะต้องดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกออกมาช่วยลดฤทธิ์ของฟอสฟอรัสในเลือดลง เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เมื่อมีการนำแคลเซียมออกมาใช้ในปริมาณมาก ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของกระดูก ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าปกตินั่นเอง โดยอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงมาก เช่น เนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เครื่องดื่ม Soft Drink และ น้ำโซดาทุกชนิด จึงควรเลี่ยงหรือทานในปริมาณที่เหมาะสม
เนื้อเยื่อที่มีชีวิต ( Living Tissue ) จะประกอบด้วย หลอดเลือด เส้นประสาท สารโปรตีนยึดโยงเซลล์ ( Collagen ) ทุกๆเซลล์กระดูกให้เกาะเกี่ยวกัน

– เซลล์ที่มีชีวิตของกระดูกเฉพาะที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างกระดูก ได้แก่

1) สัญญาณโรคกระดูก ออสเตโอไซต์ ( Osteocyte ) คือ เซลล์กระดูกประจำที่ถาวร ซึ่งยึดเหนี่ยวเกาะกันเองจนสร้างเป็นกระดูกแต่ละชิ้นให้คงรูปอยู่ตามที่ควรจะเป็น
2) สัญญาณโรคกระดูก ออสเตโอแคลสต์ ( Osteoclast ) คือ เซลล์สลายกระดูกที่มีหน้าที่ดึงเอาแคลเซียมและแร่ธาตุออกไปจากกระดูก ในภาวะที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลงไปด้วย เรียกว่า กระทำการเสื่อม สลายกระดูก ( Bone Resorption ) หากเกิดบ่อยๆ จะส่งผลให้เกิดให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้
3) สัญญาณโรคกระดูก ออสเตโอแบลสต์ ( Osteoblast ) คือเซลล์เสริมสร้างกระดูกอีกชนิดหนึ่ง มีหน้าที่รับผิดชอบในการดึงเอาแคลเซียม และสารอาหารจากเลือดมากระทำการช่วยซ่อมแซมเนื้อกระดูกที่เสียหาย ด้วยกระบวนการที่ เรียกว่า การทำการเสริมกระดูก คือ Osteoblast

อาหารที่มีฟอสฟอรัสปริมาณสูงเกินไป ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าปกติ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เครื่องดื่ม Soft Drink และ น้ำโซดาทุกชนิด จึงควรเลี่ยงหรือทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ปัจจัยเสริมต่อการมีสุขภาพกระดูกที่ดี

นอกจาก Osteoblast ที่เป็นเซลล์ในการซ่อมแซมกระดูกที่เสียหายแล้ว กระดูกจะแข็งแรงและสมบรูณ์ได้ด้วยปัจจัยเสริมหลายๆอย่าง ดังต่อไปนี้

  • วิตามินดี ช่วยให้ลำไส้สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร มาให้ร่างกายใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยเร่งให้ เซลล์ Osteoblast นำแคลเซียมไปซ่อมแซมกระดูกที่สึกหลอได้ดีขึ้นอีกด้วย
  • Parathyroid Hormone ( PTH ) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่สั่งให้ไต ดูดแคลเซียมกลับคืนมาให้ร่างกายได้ใช้งาน แทนการขับทิ้งเป็นของเสียออกทางปัสสาวะ
  • Calcitonin เป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมให้ Osteoblast ทำงานได้ดีขึ้น ทำหน้าที่กระตุ้นการสะสมของแคลเซียมที่กระดูก และยังคอบควบคุมให้ระดับของแคลเซียมในกระแสเลือดไม่มากเกินไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ยับยั้งไม่ให้แคลเซียมออกจากกระดูกอีกด้วยในปัจจุบันมีการผลิต Calcitonin ขึ้นมาเป็นยา ก็อาจใช้ทดแทนได้เหมือนกัน แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์
  • Estrogen เป็นฮอร์โมนหลักของเพศหญิง ช่วยให้ไต นำแคลเซียมที่จะถูกขับถ่ายออกเป็นของเสีย กลับคืนสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้งาน แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองภายหลังหมดประจำเดือน ในเพศหญิงแล้ว ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีปริมาณที่ลดลงกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยลงตามไปด้วย เมื่อได้รับแคลเซียมน้อยลงก็จะมีผลทำให้เซลล์ Osteoclast มีประสิทธิภาพในการซ่อมแซมกระดูกที่สึกหรอได้น้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่ายนั่นเอง
  • Testosterone เป็นฮอร์โมนหลักของเพศชาย ที่มีส่วนในการช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้เหมือนกับ ฮอร์โมน Estrogen ของเพศหญิง

วิธีการตรวจโรคของกระดูก

โรคเกี่ยวกับกระดูกที่พบได้มากในปัจจุบัน เช่น โรคกระดูกพรุน หรือ โรคมวลกระดูกน้อย  ซึ่งโรคแต่ละชนิดนั้นก็จะมีสาเหตุของโรคที่แตกต่างกันออกไป เช่น การที่ไตทำงานผิดปกติ การลดลงของระดับฮอร์โมน  หรือ กินยา Steroid รักษาโรคอื่นนานเกินไป เป็นต้น ซึ่งโรคกระดูกที่เกิดขึ้นสามารถใช้วิธีทางการแพทย์ตรวจวินิจฉัยได้ดังนี้
1. การตรวจด้วยวิธีรังสีวิทยา ( X-ray )
2. การตรวจโดยใช้ความหนาแน่นของมวลกระดูก ( Bone Mineral Density, BMD ) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการตรวจหาโรคกระดูกพรุน มีเครื่องมือหลายชนิดที่ถูกสร้างขึ้นมาวัดค่านี้ แต่เพื่อความเป็นมาตรฐาน  องค์การอนามัยโลก ( WHO ) จึงกำหนดให้การวัดด้วยเครื่อง “ Dual Energy X-ray Absorptionmetry ”  ( DXA ) เป็นวิธีมาตรฐานเท่านั้น

3. การตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก ด้วยวิธี QCT ( Quantitative Computed Tomography )
4. การตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยวิธี อัลตร้าซาวด์  ( Ultrasound Absorption )
นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคที่เป็นวิธีใหม่ คือ การตรวจสัญญาณโรคกระดูก จากค่าการหมุนเวียนของสารชีวะเคมีที่บ่งชี้การสร้างเสริมหรือสลายกระดูก ( Bone Turnover Biochemical Markers ) โดยจะมีค่าสำคัญ 3 ชนิดที่นำมาวิเคราะห์ คือ

1. β-CrossLaps เป็นการตรวจหาค่าที่เกี่ยวกับ การสลายของกระดูก หากมีปริมาณที่มากเกินปกติ จะหมายถึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
2. N-MID Osteocalcin เป็นค่าที่แสดงถึงการมีการสร้างของกระดูก หากมีปริมาณที่มากเกินปกติ จะหมายถึงมีสภาวะกระดูกกำลังพอกพูนขึ้น
3. PTH เป็นค่าของฮอร์โมน Parathyroid Hormone มีหน้าที่รักษาระดับแคลเซียมในเลือด และเป็นตัวสั่งให้ไตดูดแคลเซียมกลับสู่ร่างกาย แทนการขับทิ้งเป็นของเสียออกทางปัสสาวะ ซึ่งค่าของ PTH จะสูงหรือต่ำ จึงอาจมีความหมายว่า ณ เวลาขณะนั้นว่า กำลังมีการเสริมสร้าง หรือ กำลังเสื่อมสลายของกระดูกอยู่นั่นเอง
การตรวจด้วยวิธีนี้ จะมีแตกต่างจาการวินิจฉัยวิธีอื่นๆ คือ สามารถทราบผลการตรวจได้ทันทีว่ากระดูกกำลังอยู่ในสภาวะถูกเสริมสร้าง หรือกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมสลายโดยไม่ต้องรอเวลาเหมือนวิธีอื่นๆที่แพทย์อาจจะต้องนำผลตรวจที่ได้ไปวิเคราะห์ก่อน และหากในช่วงนั้นมีการใช้ยารักษาก็จะทราบว่ายารักษาโรคกระดูก ณ เวลานั้นได้ผลหรือไม่ ด้วยเช่นกัน

สัญญาณโรคกระดูกที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แม้ว่าจะดูว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคต่ำ ไม่ได้ร้ายแรงอะไร หลายคนจึงมักมองข้ามโรคนี้ไป แต่ถ้าหากเลือกได้ใครหลายคนก็คงไม่อยากให้โรคนี้เกิดกับตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อร่างกายแล้ว ยังก็ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ทั้งนี้หากเกิดโรคกระดูกเกิดขึ้นแล้ว โดยที่ผู้ป่วยเลือกที่จะไม่รักษาปล่อยทิ้งไว้นานเป็นเรื้อรัง อาการที่เคยเป็นแต่น้อยนิดก็อาจจะรุนแรงเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน การตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกมีด้วยกันหลากหลายวิธี หากตรวจพบและเจออาการของโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ช่วยป้องกันและสามารถรักษาโรคกระดูกต่างๆเหล่านี้ ให้ดีขึ้นได้ไม่ยากเลย ดังนั้นอย่ารีรอเวลา หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูก ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจจะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

https://emedicine.medscape.com/article/128567.