ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP )
Gamma GT ( GGTP ) เป็น การตรวจเพื่อเช็คการทำงานของเซลล์ตับว่ามีความปกติดีหรือไม่ โดยตรวจหาจากค่าของเอนไซม์ ที่มีชื่อว่า Gamma GT นั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็จะต้องทราบด้วยว่า เซลล์ของตับได้รับความเสียหายจากอะไร พิษของยาหรือพิษของแอลกอฮอล์ เพื่อประเมินค่าการเกิดพิษว่ามากน้อยเพียงใด และเมื่อทำการตรวจร่วมกับค่า ALP ก็จะช่วยยืนยันการเกิดสภาวะโรคกระดูกได้อย่างแน่นอนมากขึ้นอีกด้วย
ค่า Gamma GT คือ
1. Gamma GT เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งโดยมีต้นกำเนิดมาจากกรดอะมิโน ซึ่งจะหลุดผ่านผนังเซลล์ออกมาภายนอกเซลล์ก็ต่อเมื่อได้รับเหตุกระทบบางอย่างเท่านั้น โดยแหล่งที่ทำหน้าที่ในการผลิต Gamma GT ออกมาอย่างหนาแน่นที่สุด ก็คือตับนั่นเอง
2. สำหรับแหล่งที่ผลิต Gamma GT หนาแน่นรองลงมาจากตับ ได้แก่ สมอง ม้าม หัวใจ ไต ลำไส้เล็กและต่อมลูกหมาก เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ในผู้หญิงมักจะมีค่า Gamma GT ที่ต่ำกว่าผู้ชาย นั่นก็เพราะผู้หญิงไม่มีต่อมลูกหมาก
3. ค่าของ Gamma GT ที่ตรวจพบสามารถบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติของเซลล์ตับได้ เพราะค่าดังกล่าวมีความไวต่อการสะท้อนถึงสภาวะความผิดปกติใดๆ ของตับ และจะมีค่าสูงขึ้นหากมีเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติกับท่อน้ำดีของตับ ดังนี้
- ท่อน้ำดีตีบหรือตัน ทำให้ค่า Gamma GT สูงขึ้น
- ท่อน้ำดีเกิดการอักเสบ แต่ยังไม่ถึงขั้นตีบหรือตัน เป็นผลให้ตับต้องหลั่งเอา Gamma GT ออกมามากกว่าปกติ
- ถุงน้ำดีอักเสบทำให้ตับมีการปล่อย Gamma GT ออกมาสูงกว่าปกติ อย่างไม่สามารถควบคุมได้
4. การกระทบกระเทือนที่เกิดขึ้นต่ออวัยวะต่างๆ ไม่เพียงแต่ทำให้ค่า Gamma GT สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ค่า ALP สูงขึ้นตามไปอีกด้วย เว้นแต่การเกิดโรคที่กระดูก จะพบว่าเฉพาะค่า ALP เท่านั้นที่สูงขึ้น ส่วนค่าของ Gamma GT ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
สรุปดังตารางดังต่อไปนี้
สภาวะผิดปกติ Gamma GT ที่อวัยวะใดๆ ALP จะสูงขึ้น |
สภาวะผิดปกติ Gamma GT จากโรคกระดูก ALP จะสูงขึ้น |
5. สำหรับผู้ที่มีการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นประจำทุกวัน มักจะตรวจพบค่า Gamma GT ที่สูงกว่าระดับปกติมากถึงร้อยละ 75 นั่นก็เพราะเซลล์ตับจะถือว่าแอลกอฮอล์เป็นสารพิษเหมือนกับยานั่นเอง
6. ในผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ก็มักจะตรวจพบค่าของ Gamma GT ที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติเช่นกัน โดยจะสูงขึ้นต่อเนื่องจากเวลาที่เกิดภาวะดังกล่าวไปอีกประมาณ 5-10 วันนั่นเอง นั่นก็เพราะว่าขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน จะเกิดการสะดุดการทำงานลง เป็นผลให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ทำให้ตับปล่อยเอนไซม์ Gamma GT ออกมามากขึ้น และต้องใช้เวลาเป็น 10 วันเลยทีเดียวกว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม
ค่าปกติของ Gamma GT
1.ค่าความปกติของ Gamma GT ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือด ( ถ้ามี )
2.ค่าปกติโดยทั่วไปมักจะอยู่ที่
ชาย อายุ 16 ปีขึ้นไป | Gamma GT : 6 – 38 IU/L |
หญิง อายุ 16-44 ปี | Gamma GT : 4 – 27 IU/L |
หญิง อายุ 45 ปีขึ้นไป | Gamma GT : 6 – 37 IU/L |
เด็ก | Gamma GT : 3 – 30 IU/L |
หมายเหตุ : ผู้สูงอายุ อาจมีค่าเกินเกณฑ์ปกติเล็กน้อย
Gamma GT ( GGTP ) เป็นการตรวจเพื่อเช็คการทำงานของเซลล์ตับว่ามีความปกติดีหรือไม่ โดยตรวจหาจากค่าของเอนไซม์
ค่าผิดปกติของ Gamma GT
1. หากค่าที่มีการตรวจพบไปในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า
- เป็นเหตุที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะโดยปกติแล้วเซลล์ตับจะต้องทำงานทุกวันและต้องการมีกระทบกระทั่งตลอดเวลา ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะตรวจไม่พบค่า Gamma GT ซึ่งส่วนใหญ่ควรจะตรวจพบค่าการตรวจเลือดดังกล่าวนี้อยู่ในระดับหนึ่งเสมอ
- อาจเกิดจากการกินยาบางประเภท ที่ทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานของเซลล์ตับ แต่ส่วนมากจะเกิดน้อยรายและไม่ค่อบพบเห็นมากนัก สำหรับยาที่อาจไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ตับได้ก็มีกลุ่มยาดังนี้ กลุ่มยา Statin และ Clofibrate ที่ใช้สำหรับการลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และกลุ่มยา Contraceptives ที่ใช้สำหรับการคุมกำเนิดนั่นเอง โดยกลุ่มยาเหล่านี้อาจทำให้ค่า Gamma GT ที่ตรวจพบในเลือด มีค่าที่ลดลงเบี่ยงเบาไปจากความเป็นจริง และยังมีผลข้างเคียงอีกหลายประการอีกด้วย
2. หากค่าที่มีการตรวจพบไปในทางมาก อาจแสดงได้ว่า
- กำลังเกิดโรคร้ายแรงบางอย่างขึ้นที่ตับ ทำให้ตับไม่สามารถควบคุมการปล่อย Gamma GT ออกมาได้ ค่าที่ตรวจพบจึงสูงมาก โดยสภาวะร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นที่ตับ ได้แก่ โรคมะเร็งตับ โรคตับแข็ง โรคตับอักเสบ สภาวะเนื้อตายเป็นบางส่วน หรือการที่ตับได้รับพิษจากยาหรือสารพิษบางอย่าง เป็นต้น
- เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( Myocardial Infarction ) เป็นผลให้ไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ
- เกิดพิษจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และดื่มมาเป็นเวลายาวนาน ส่งผลให้ตับถูกกระทบกระเทือนอย่างหนัก
- เป็นโรคที่ตับอ่อน ซึ่งอาจเป็นได้หลายโรค เช่น โรคมะเร็งที่ตับอ่อนและโรคตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.
Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.
https://emedicine.medscape.com/article/128567.